กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--เกรลิ่ง ประเทศไทย
เทคนิคที่นักเดินทางมักจะใช้มีตั้งแต่การยืดเส้นยืดสายเบาๆ
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์
ผลการสำรวจครั้งใหม่ล่าสุดของSkyscannerเว็บไซต์ค้นหาตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และรถเช่าชั้นนำของโลกได้เปิดเผยวิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jetlag)[1]ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาผู้โดยสารเครื่องบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามผู้โดยสารเครื่องบินจำนวน 6,000 คน ซึ่งมีจำนวน 4 ใน 5 ที่เคยเดินทางเที่ยวบินระยะไกลในช่วงปีที่ผ่านมา และโดยเฉลี่ยแล้วพวกเขาใช้เวลา 2.3 วันในการฟื้นจากอาการเจ็ตแล็ก
ผลสำรวจยังพบว่าเทคนิคการป้องกันอาการเจ็ตแล็กที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด คือ การรับประทานอาหารสดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในมื้อเบาๆ โดยมีผู้ถูกสำรวจร้อยละ 66 ได้ทดลองใช้วิธีนี้และมันก็ได้ผลจริงๆตามมาติดๆ ด้วยร้อยละ 65 ของผู้ถูกสำรวจที่อาศัยการยืดเส้นยืดสายและออกกำลังกายเบาๆระหว่างที่อยู่บนเครื่องบินอีกร้อยละ 58 จะตั้งเวลานาฬิกาให้ตรงกับเวลาของจุดหมายที่พวกเขาจะไป ร้อยละ 51 บอกว่าพวกเขาทำตัวให้ตื่นตลอดเวลาที่อยู่บนเครื่องบิน และอีกร้อยละ 45 จะออกกำลังกายและสูดอากาศบริสุทธิ์ก่อนที่จะขึ้นเครื่อง
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือร้อยละ 20 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาได้ทดลองรับประทานยาไวอะกร้า (Viagra) เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากเจ็ตแล็กทั้งนี้เนื่องจากมีรายงานหลายชิ้นระบุว่าการรับประทานยาไวอะกร้าสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็ตแล็กได้[2] มีร้อยละ 32 รับประทานยานอนหลับ อีกร้อยละ 31.7 ใช้สมุนไพรในการรักษา ขณะที่อีกร้อยละ 27 รับประทานยาป้องกันเจ็ตแล็ก และอีกร้อยละ 22 รับประทานเมลาโทนิน (Melatonin)
นอกจากนี้ผู้ถูกสำรวจยังได้จัดอันดับวิธีป้องกันเจ็ตแล็กที่ได้ผลที่สุดถึงแม้ว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่จัดให้การออกกำลังกายเบาๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้ลองทำวิธีนี้แล้วพบว่าได้ผลในการบรรเทาอาการต่างๆ จากการเดินทางระยะไกล
ผลการสำรวจยังได้เปิดเผยข้อมูลที่ชวนฉงนของการดื่มแอลกอฮอล์ที่ความสูง 30,000 ฟุต ซึ่งปรากฏว่าผู้โดยสารกว่าร้อยละ 33 ระบุว่าพวกเขาดื่มแอลกอฮอล์เพื่อที่จะช่วยแก้อาการเจ็ตแล็ก แต่มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น (ร้อยละ 13%) ที่บอกว่าวิธีนี้ได้ผล อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 41ของผู้ถูกสำรวจบอกว่าพวกเขาหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน โดยมีเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 19) ยอมรับว่าพวกเขาสามารถจัดการกับอาการเจ็ตแล็กได้
โทนี่ เกราร์แดง (Tony Gherardin) ที่ปรึกษาทางการแพทย์แห่งชาติ ประจำ Travel Doctor ? TMC (www.traveldoctor.com.au) ได้แนะนำเทคนิคในการรับมืออาการเจ็ตแล็คที่อยู่หมัดว่า?ในทางทฤษฎีแล้ว การที่จะป้องกันอาการเจ็ตแล็ค เราควรจะเริ่มต้นปฏิบัติตัวให้เหมือนกับที่เราจะปฏิบัติเมื่ออยู่ที่จุดหมายปลายทางก่อนที่จะออกเดินทางจากบ้าน นั่นคือ รับประทานอาหารและนอนหลับหรือพักผ่อนในเวลาเดียวกันกับที่เราจะทำเมื่อถึงที่หมายปลายทางแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่กล่าวมานั้นเราทำไม่ได้ที่บ้าน หรือแม้แต่ตอนบินอยู่ก็ตาม?
?วิธีรับมือที่จะได้ผลดีอย่างสมเหตุสมผลก็คือรับประทานอาหารแต่น้อยและอย่าให้ขาดน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและแอลกอฮอล์? โทนี่กล่าวเพิ่มเติม
โทนี่ยังแนะนำอีกว่า การรับประทานยานอนหลับหรือเมลาโทนินในระดับที่ปลอดภัยทันทีที่ถึงจุดหมายปลายทางจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับเข้ากับโซนเวลาได้ดี
นางสาวภพปภา อารีรัตน์ ผู้จัดการพัฒนาตลาดประเทศไทยของ Skyscanner กล่าวว่า ?เทศกาลวันหยุดสิ้นปีก็ใกล้เข้ามาแล้ว หลายคนอาจจะกำลังเตรียมตัวเดินทางไกล ซึ่งผลสำรวจของเราก็ได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากต่างก็มีหลากหลายวิธีที่จะเอาชนะอาการเจ็ตแล็ค แต่ก็ใช่ว่ามันจะใช้ได้ผลกับทุกคน?
ลำดับ วิธีใดบ้างที่คุณใช้ในการป้องกันเจ็ตแล็ก ได้ทดลองวิธีการดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าจะช่วยรักษาอาการเจ็ตแล็คได้ผล
ตามความนิยม
1 รับประทานอาหารมื้อเบาๆ 66% 42.7%
2 ยืดเส้นยืดสาย / การออกกำลังกายเบาๆ บนเที่ยวบิน 65% 38%
3 ตั้งนาฬิกาไปที่โซนเวลาใหม่ 58% 32%
4 ทำตัวให้ตื่นตลอดการเดินทาง 51% 21.61%
5 ออกกำลังกาย / สูดอากาศบริสุทธิ์ก่อนขึ้นเครื่อง 45% 26%
6 หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 41% 19%
7 ดื่มแอลกอฮอล์ 40% 15%
8 รับประทานยานอนหลับ 32% 12%
9 ใช้สมุนไพรรักษา 31% 11%
10 รับประทานยาป้องกันเจ็ตแล็ก 27% 8%
11 รับประทานเมลาโทนิน 21% 5%
12 รับประทานไวอะกร้า 20% 5%
[1]อาการจากการเดินทางข้ามโซนเวลา และร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
[2]http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/6676585.stm