กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--Vivaldi PR
มหกรรมแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ครั้งที่ 27 เริ่มการชิงชัยศึกสายน้ำแห่งเอเชียวันแรกด้วยสภาพอากาศสดใสและคลื่นลมเป็นใจ พาเรือผู้เข้าแข่งขันทุกประเภทพุ่งทะยานและประลองทักษะกันอย่างสนุกสนาน โดยแฟนเรือใบไทยได้เฮเมื่อ อิทธินัย ยิ่งศิริ กัปตันเรือไพน์ แปซิฟิค ตัวเก็งรุ่นพรีเมียร์ของไทย แซงคู่แข่งจนคว้าตำแหน่งผู้นำได้ในวันแรก ในขณะ แฟรงค์ พอง จากเรือเจลิค ผู้ชนะในรุ่น ไออาร์ซี ซีโร่ จากปีที่แล้ว รั้งอันดับสามของตาราง ส่วนเรือตัวเก็งรุ่นอื่นๆ ทั้ง ฟ็อกซี่ เลดี้ จากสิงคโปร์ (รุ่นไออาร์ซี 1) , อิจิบันจากออสเตรเลีย (รุ่นไออาร์ซี 3), คาราสุจากญี่ปุ่น (รุ่นไออาร์ซี 2) และ วูดู (รุ่นไฟร์ฟลาย 850 สปอร์ต) ต่างวาดลวดลายบนผืนน้ำ จนติดท็อปทรีของแต่ละรุ่นได้ตามความคาดหมาย
อิทธินัย ยิ่งศิริ กัปตันเรือไพน์ แปซิฟิค ผู้นำรุ่นพรีเมียร์ในวันแรก กล่าวว่า ?การแข่งขันวันแรกของคิงส์คัพรีกัตต้าปีนี้ สภาพอากาศดีมาก ลมแรงราว 10-12 นอต ซึ่งถือว่ากำลังดีสำหรับการแล่นเรือพรีเมียร์ ในการแข่งขัน เรือของเราเข้าเส้นชัยเป็นอันดับสอง แต่เมื่อคิดแต้มต่อแล้วทำให้เราครองอันดับหนึ่งของตาราง ส่วนอันดับสองและสามของวันนี้ต่างก็เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว โดยเฉพาะเรือสิลันดรา วี จากโมนาโก เป็นเรือที่คาดว่าจะได้เปรียบมากเมื่อแล่นทางไกลในการแข่งขันวันต่อไป แต่เราต้องปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์ในวันนั้นให้ดีที่สุด?
ผลการแข่งขันภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 27 วันที่ 1 (2 ธันวาคม 2556)
รุ่นไออาร์ซี 0
1. เรือวันเซล เรซซิ่ง กัปตันเรือ เรย์ โรเบิร์ต ประเทศออสเตรเลีย
2. เรือออย กัปตันเรือ อะเฮิน ไบเล่ส์ วิลเมอร์ ประเทศออสเตรเลีย
3. เรือเจลิค กัปตันเรือ แฟรงค์ พอง ประเทศฮ่องกง
รุ่นไออาร์ซี 1
1. เรือฟ็อกซี่ เลดี้ 6 กัปตันเรือ บิล เบลมเนอร์ ประเทศสิงคโปร์
2. เรือซิกแนล 8 กัปตันเรือ แพทริค เพนเนอร์ และ เจมี่ แมควิลเลียม ประเทศฮ่องกง
3. เรือวินด์ไซเกอร์ กัปตันเรือ ซาลาฟ ซิงค์ ประเทศสิงคโปร์
รุ่นไออาร์ซี 2
1. เรือคาราสุ กัปตันเรือ ยาสุโอะ นานาโมริ ประเทศญี่ปุ่น
2. เรือโน แอพพลอส กัปตันเรือ เดนิส ซารานา ประเทศรัสเซีย
3. เรือฟูหยิน กัปตันเรือ ปีเตอร์ โซเร็นเซน ประเทศออสเตรเลีย
รุ่นไออาร์ซี 3
1.เรือเรด ไคท์ 2 กัปตันเรือ แอนโทนี่ รูท ประเทศฮ่องกง
2.เรืออิจิบัน กัปตันเรือ แมทท์ อัลเลน ประเทศออสเตรเลีย
3.เรือมาดาม บัตเตอร์ฟลาย (ทีมกะตะ ร็อค) กัปตันเรือ ปีเตอร์ ไดเออร์ ประเทศไทย
รุ่นพรีเมียร์
1.เรือไพน์ แปซิฟิค กัปตันเรือ อิทธินัย ยิ่งศิริ ประเทศไทย
2.เรือสิลันดรา วี กัปตันเรือ เกียน ลูก้า เบรคจิโอติ ประเทศ โมนาโก
3.เรือโอเวอร์ ไดร์ฟ กัปตันเรือ โอเชี่ยน อะกัสซี่ ประเทศออสเตรเลีย
รุ่นสปอร์ตโบ๊ต
1. เรืออิปไป กัปตันเรือ มากิโกะ มัทซูชิ จากญี่ปุ่น
2. เรือซากุระ กัปตันเรือ โตชิโอะ ฟุรุตะ จากญี่ปุ่น
3. เรือทีม ทอร์นาโด กัปตันเรือ ลินคอล์น เรดดิ้ง จากประเทศไทย
รุ่นโมเดิร์นคลาสสิค
1. เรือเรมิตัน กัปตันเรือ จิม อิลลิส ประเทศไทย
2. เรือฟาร์โก เอกซเพรส กัปตันเรือ ปีเตอร์ วา จากประเทศนิวซีแลนด์
3. เรือไตหุ ชานชุย มารินา - บิ๊กเอ กัปตัน ฮอรสท์ เลทคิส/มร.เวน แพน -บิ๊กเอ จากประเทศไทย
รุ่นแบร์โบ๊ตชาร์เตอร์
1. เรือซิตา กัปตันเรือ นิโคเลย์ ชูคุริน จากรัสเซีย
2. เรือเวนเจอร์ กัปตันเรือ เดวิด โบกแมน จากออสเตรเลีย
3. เรืออูฮูรู กัปตัน ออเดรย์ ดูวานอฟ ประเทศรัสเซีย
รุ่นโอเพ่น ชาร์เตอร์
1. เรือสาระวดี กัปตันเรือ นิกิฟอร์รอฟ ประเทศรัสเซีย
2. เรือลิตเติ้ล อีว่า กัปตันเรือ แม็กซิม ทารานอฟประเทศรัสเซีย
3. เรือเฟย เจียน กัปตันเรือ วิคเตอร์ ซาคารอฟ ประเทศรัสเซีย
รุ่นมัลติฮัลล์ เรซซิ่ง
1. เรือเอเชีย คาตามารันส์ เฮอริเคน กัปตันเรือ อลัน คาร์วาดีน ประเทศไทย
2. เรือดาวินชี่ กัปตันเรือ มาร์ค เปอสก็อตส์ ประเทศไทยเรือ
3. เรือโมโจ กัปตัน ปีเตอร์ วิลค็อกซ์ ประเทศไทย
รุ่นมัลติฮัลล์ครูซิ่ง
1. เรือมินนี กัปตันเรือ โนริคาสึ อาราอิ ประเทศญี่ปุ่น
2. เรือเอเรียนา กัปตันเรือ นิกกิคอฟ ประเทศรัสเซีย
3. เรือสตาร์ฟรุ้ต กัปตันเรือ โรมัน ชิโรคอฟ ประเทศรัสเซีย
รุ่นไฟร์ฟลาย 850 สปอร์ต
1. เรือทวินชาร์ก กัปตันจอห์น นิวแฮม ประเทศอังกฤษ
2. เรือโมโต อินซิ กัปตันโรเจอร์ คิงดอน ประเทศไทย
3. เรือวูดู กัปตันฮานส์ ราห์มานน์ ประเทศไทย
รุ่นครูซิ่ง
1. เรือเลดี้บับเบิล กัปตันเรือ คริส มิตเชลล์ ประเทศออสเตรเลีย
2. เรือเรนโบว์ดรีม กัปตันเรือ ไซมอน พิฟฟ์ ประเทศสิงคโปร์
3. เรือรัมรันเนอร์ 11 กัปตันเรือ คริส ฮิลเลอร์ ประเทศไทย
รุ่นคลาสสิค
1. เรือซันไชน์ ชูนเนอร์ โดย กัปตันเรือ ปีเตอร์ วู้ด จาก ประเทศไทย
2. เรือเอส/ไวน์ อาร์โก้ โดยกัปตันเรือ แซม บัทเลอร์-ฮอกก์ จากประเทศไทย
3. เรือแอทแลนตา โดยกัปตันเรือ ลอรี่ ไปเปอร์ จากประเทศไทย
ส่วนการแข่งขันเรือใบเล็ก ?อินเตอร์เนชั่นแนลดิงกี้คลาส? ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดียวกัน ระหว่างวันที่ 2-5 ธันวาคม 2556 ประเดิมวันแรก เยาวชนไทยทำผลงานได้อย่างน่าพอใจ โดยรุ่นออพติมิสต์ อันดับหนึ่งรวม ได้แก่ นพพร บุญเชิด ในขณะที่ ศุภลักษณ์ ณ เอี่ยมรักษา ตัวเก็งของรายการ พลาดในช่วงการออกตัวในการแข่งรอบที่สอง จึงพลาดสามอันดับแรกไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนรุ่นเลเซอร์ ณัฐพล ศรีหิรัญ ขึ้นนำอันดับหนึ่งของวันแบบขาดลอย โดย นาวาโทพรพรหม สกุลเก็ม ผู้จัดการแข่งขันและผู้ฝึกสอนรายการอินเตอร์เนชันแนลดิงกี้คลาส กล่าวว่า โดยรวมแล้วถือว่าเยาวชนไทยมีการพัฒนาฝีมือที่ดีมาก และมีแนวโน้มที่สดใสในการพัฒนาฝีมือเพื่อก้าวสู่การแข่งขันเรือใบรุ่นใหญ่ในอนาคต
ผลการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลดิงกี้คลาสวันที่ 1 (2 ธันวาคม 2556)
รุ่นออพติมิสต์
1. นพพร บุญเชิด
2. แพรวา เก่งกล้า
3. ทัชชา ไชยเสน
รุ่นเลเซอร์
1. ณัฐพล ศรีหิรัญ
2. ประกาศิต หงษ์ประดับ
3. ชัยรัตน์ แดงดีมาก
ผู้สนับสนุนการแข่งขันประจำปี 2556 ประกอบด้วย กะตะกรุ๊ป รีสอร์ท ประเทศไทย, พีทีที โกลบอล เคมิคอล, แลนด์โรเวอร์, จากัวร์, มองต์แคลร์, สิงห์ คอร์เปอเรชั่น, แสนสิริ จำกัด (มหาชน), บริษัท หาดทิพย์ จำกัด, และ ซันเซล ส่วนพันธมิตรสื่อมวลชนของงาน ได้แก่ Phuket Gazette, Phuket Magazine, Sail-World.com, SEA Yachting และ YachtStyle Asia