กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--สสส.
(เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556) แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ โครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย(iBikeiWalk) จัดพิธีประกาศผล และมอบรางวัลการประกวดภาพถ่ายและคลิปวีดีโอ ภายใต้หัวข้อ ?ทุกก้าวที่เดิน ทุกระยะทางที่ปั่น มีเรื่องราวแบ่งปัน? ขึ้นภายในงานตลาดกล้องใช้แล้ว ณ ลานกิจกรรมชั้น 3 ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์
โดยนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า การสร้างวิถีชีวิตด้วยการเดินและการปั่นจักรยานเป็นสิ่งที่พูดถึงเรื่องของการลดการใช้พลังงาน ทั้งนี้วิถีชีวิตทั้งด้านการเดินและการปั่นจักรยานหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของกาย แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของมิติสุขภาพทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา ดังนั้นการส่งประกวดภาพเล่าเรื่องทุกก้าวที่เดิน ทุกระยะทางที่ปั่น มีเรื่องราวแบ่งปัน? iBikeiWalk ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่พึ่งพาเทคโนโลยีและรักความสะดวกสบายให้หันย้อนกลับมาใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เช่น การเดินในระยะทางสั้นๆ เพื่อไปซื้อขนม ซื้อกับข้าว และองค์กรที่มีตึกหรือออฟฟิศในชั้นที่ใกล้ๆ ก็ส่งเสริมให้เดินขึ้นบันไดเป็นการทดแทนการใช้ลิฟต์ ?ยิ่งใกล้ยิ่งต้องเดิน? หรือถ้าไกลหน่อยอาจจะปั่นจักรยาน ทั้งนี้ยังส่งเสริมชุมชนที่มีโรงเรียนอยู่ใกล้บ้านให้เดินไปโรงเรียน หวังจะให้ช่วยกันรณรงค์ทั้งองค์กร ชุมชน และพื้นที่ ผลสุดท้ายจะเป็นนโยบายที่สำคัญเพื่อพัฒนาทางเท้าที่น่าเดิน เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ให้อยู่อย่างมีความสุขในมิติต่างๆ จากการเปิดรับภาพที่ประทับใจและคลิปสั้นๆ บอกเล่าเรื่องราวและแชร์ประสบการณ์ทุกก้าวที่เดิน ทุกระยะทางที่ปั่น มีเรื่องราวแบ่งปัน ไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีภาพส่งเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งทุกภาพและทุกคลิปนั้นมีความน่าสนใจมากแต่มีเพียง 100 ภาพเท่านั้นที่คณะกรรมการได้คัดเลือกมาเพื่อจัดแสดงในงานนี้
?และจากการคัดเลือกและตัดสินจากคณะกรรมการอันเป็นที่สุด โดยภาพที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้เมื่อมองในเชิงประเด็นแล้ว สามารถตอบโจทย์จากสิ่งที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงได้จากการปั่นจักรยานหรือทางเท้าน่าเดิน-น่าขับขี่ และสร้างเป็นวิถีชีวิตหรือแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้มากที่สุด และในขณะเดียวกันด้านองค์ประกอบของภาพ องค์ประกอบของเรื่อง คุณภาพของภาพ และความคิดสร้างสรรค์ คณะกรรมการจึงตัดสินให้ภาพ?ปั่นไปหาสุข สุขที่ได้ปั่น? ของนายรัตนชัย รักษาชัฏ คว้ารางวัลชนะเลิศ ไปครอง ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1เป็นภาพ ?เพื่อนร่วมทาง? ของนายชัยพล จันทร์เจริญ ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เป็นภาพ ?ปั่นไปยอดเขาผาซ่อนแก้วเพื่อเก็บภาพพระธาตุผาซ่อนแก้ว? ของนายปัญญา เทียนนาวา ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 3,000 บาท ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล โดย ภาพ ?เสน่ห์แห่งริมคลองภาษีเจริญ? ของนายอิทธิพล บารมีเกรียงไกร และ ภาพ ?มนต์เสน่ห์แห่งลายทาง? ของนายวินนิวัตร ไตรตรงสัตย์ ทั้ง 2 ภาพจะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 1,000 บาท นอกจากนี้ทางโครงการยังจัดให้มีรางวัล Popular Vote ซึ่งเป็นการเปิดให้โหวตออนไลน์ ผ่าน www.facebook.com/iBikeiWalkSharing และได้ปิดโหวตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ผลปรากฏว่าภาพ ?เดินขึ้นบันไดในวัดพลอยแหวน? ของนายกิตติ บวรโชติวุฒิ คว้ารางวัลนี้ไป ซึ่ง Popular Vote นี้จะได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล 2,000 บาท นอกจากนี้ผลงานทั้ง 6 ชิ้นที่ได้รับรางวัลจะมีการนำไปใช้รณรงค์และเผยแพร่สู่สังคม และจะทำออกมาเป็นโปสการ์ดปีใหม่ ไดอารี่ และใช้ประโยชน์เพื่อการรณรงค์และขยายผลในด้านต่อไป? นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว
ด้านนายอนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง เลขาธิการมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับหัวข้อการจัดงานประกวดครั้งนี้มองว่า บางครั้งการเคลื่อนที่อะไรเร็วเกินไปอาจจะเห็นภาพไม่ชัดเจน แต่ถ้าเคลื่อนที่อย่างช้าๆ จะสามารถรับรู้สิ่งรอบข้างได้ชัดเจนขึ้น บางครั้งการยึดติดกับเรื่องบางเรื่อง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป จะทำให้เราไม่เห็นเรื่องที่อยู่ระหว่างทาง เพราะฉะนั้นการกลับมาสู่การปั่นจักรยานและการเดินจะสามารถเก็บรายละเอียดข้างทางได้ชัดเจนขึ้น โดยจากการประกวดมีผู้ส่งภาพในมุมมองที่ซ้ำๆ กันเยอะ ทั้งนี้ภาพที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้นอกจากจะเป็นภาพที่น่าสนใจ มีความงามทางด้านทัศนศิลป์ตรงตามหัวข้อ (Concept) ที่วางเอาไว้ มีความแปลกใหม่ มุมมองที่นำเสนอก็สามารถตอบโจทย์ได้สมบูรณ์ บางรูปนั้นมีการนำเสนอแบบให้คนดูภาพรู้สึกสะเทือนอารมณ์ร่วมได้จึงคว้ารางวัลแต่ละรางวัลไป
นายกวิน ชุติมา ที่ปรึกษาฝ่าย(กิจกรรม) โครงการผลักดันการเดินและการใช้ตักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย กล่าวว่า การเดินหรือการปั่นทำให้สามารถมองเห็นเรื่องราวรอบตัวได้มากขึ้น ขณะเดียวกันทำให้มีสุขภาพดีทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา การเดินหรือการปั่นจักรยานนั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ไม่มากนักซึ่งทำให้มองดูสิ่งที่อยู่รอบข้างได้มาก ได้เห็นความเป็นไปและเข้าใจผู้คนมากขึ้น ฉะนั้นอยากจะสนับสนุนให้ลองเดินหรือปั่นจักรยานดูรับลองว่าได้อะไรอีกเยอะ ทว่าทางเท้าในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ถูกทอดทิ้งอย่างมากสังเกตได้จากหลายแห่งเคยมีทางเท้าอยู่และทางเท้าได้หายไป เพราะเอาใจคนขับรถยนต์มากกว่ายังมีพ่อค้า แม่ค้าขายของบนฟุตบาทด้วย อีกทั้งหน่วยงานของรัฐที่วางตู้โทรศัพท์ ตู้ไปรษณีย์ ระบบไฟฟ้า ที่สำคัญที่สุดคือตู้ตำรวจจราจรที่กินเนื้อที่บนทางเท้ามากที่สุด เพราะฉะนั้นทางเท้าในเมืองไทยส่วนมากมันไม่น่าเดิน คนอยากจะเดินแต่ทางเท้าอันตราย ไม่ร่มรื่น มีอุปสรรคกีดขวางบนทางเท้า โดยเฉพาะป้ายโฆษณาที่ติดตามทางเดินต่างๆ
?การใช้อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนในปัจจุบันหลายคนบอกว่าทำให้มองหน้ากันน้อยลง แต่ในทางกลับกันถ้านำมาใช้แบ่งปันเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตจะเป็นอีกหนึ่งมิติทำให้สังคมใกล้กันมากขึ้น เนื่องจากหลายๆ เรื่องที่รับรู้ก็เกิดจากการแบ่งปันกันทางโซเชียลมีเดีย การมีสื่อช่วยในด้านการแบ่งปันและเป็นการสร้างแรงผลักดันทางสังคมที่หน่วยงานต่างๆ ต้องเปิดห้องรับเรื่องราวร้องเรียน ทำให้ประชาชนร้องเรียนได้สะดวกขึ้น มองว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ดีหากใช้ให้ถูกวิธี เพราะฉะนั้นเรื่องของการร้องเรียนสามารถช่วยเป็นหูเป็นตาได้อีกแรง? นายกวิน ชุติมา กล่าว
โดยนายรัตนชัย รักษาชัฏ เจ้าของภาพ ?ปั่นไปหาสุข สุขที่ได้ปั่น? คว้ารางวัลชนะเลิศ ในหัวข้อการประกวด?เพราะซอยนี้น่าเดิน ถนนเส้นนี้น่าปั่น เราจึงมาแบ่งปัน? ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท กล่าวว่า โดยส่วนตัวเป็นคนชอบปั่นจักรยานและถ่ายรูปอยู่แล้ว จึงมีความสุขในการปั่นจักรยานและมีความสุขที่ได้ถ่ายรูป ภาพนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงความสุขที่ได้ปั่นจักรยาน ในภาพจะเห็นว่าการปั่นจักรยานนั้นไม่ต้องมีอุปกรณ์อะไรมากมาย และต้องการเสนอมุมมองที่แปลก คือ อุโมงค์ต้นไม้ ซึ่งเป็นมุมที่ไม่ได้เห็นบ่อยๆ ได้ถ่ายภาพมาหลายมุมแล้วจึงนำมาเลือกดู ซึ่งรูปที่ถ่ายนี้ใช้ขาตั้งกล้องเข้ามาช่วย ส่วนแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพนี้ คือ ได้เห็นวิวนี้ทำให้รู้สึกแปลกตา มีความรู้สึกว่าการที่จะปั่นจักรยานนั้นไม่จำเป็นต้องไปอยู่บนถนนอย่างเดียว และเส้นทางที่ถ่ายทอดออกมานี้เป็นเส้นทางที่มีไว้สำหรับเดินแต่อนุญาตให้ปั่นจักรยานได้
นายชยพล จันทร์เจริญ เจ้าของภาพ ?เพื่อนร่วมทาง? ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในหัวข้อการประกวด ?เพราะซอยนี้น่าเดิน ถนนเส้นนี้น่าปั่น เราจึงมาแบ่งปัน? ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท กล่าวว่า หัวข้อมาภาพเกี่ยวกับการปั่นจักรยานที่อยากถ่ายทอด คือ ถนนที่น่าปั่น ซึ่งเป็นถนนในชนบทจึงนำเสนอภาพเด็กๆ ที่มีความสุขเมื่อได้ปั่นจักรยานร่วมกับเพื่อนๆ ในต่างจังหวัดที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมือนได้เห็นตนเองตอนเด็กๆ ที่ได้ปั่นจักรยานเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ ต่อให้ถนนไม่ดีก็ตาม แต่เมื่อได้ปั่นกับเพื่อนๆ ก็มีความสุขจึงได้ตั้งชื่อภาพว่า ?เพื่อนร่วมทาง? ส่วนเทคนิคการถ่ายภาพนี้ คือ ถ่ายในบรรยากาศตอนเย็น และได้มีการปรับสีและแสงเพิ่มเติมทำให้ได้บรรยากาศที่ดูอบอุ่นมากยิ่งขึ้น
นายอิทธิพล บารมีเกรียงไกร เจ้าของผลงานคลิปวีดีโอ ?เสน่ห์แห่งริมคลองภาษีเจริญ? ได้รับรางวัลชมเชย ในหัวข้อการประกวด ?เพราะซอยนี้น่าเดิน ถนนเส้นนี้น่าปั่น เราจึงมาแบ่งปัน? ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 1,000 บาท กล่าวว่า ในแต่ละวันจะเดินทางด้วยจักรยานและพยายามบันทึกภาพ เก็บภาพเรื่องราวต่างๆ ไว้ เมื่อมีเวลาว่างก็จะตัดต่อเป็นคลิปเป็นเรื่องราว หลายๆ เรื่องที่บันทึกนั้นเป็นความประทับใจส่วนตัวอยู่แล้ว คลิปวีดีโอ ?เสน่ห์แห่งริมคลองภาษีเจริญ? เป็นเส้นทางที่ใช้ปั่นกลับบ้านเป็นประจำทุกวัน โดยปกติจะไม่ใช้รถยนต์ส่วนตัวอยู่แล้ว และการปั่นจักรยานบนถนนใหญ่ค่อนข้างที่จะมีมลพิษอยู่เยอะจึงหันมาใช้เส้นทางริมคลองภาษีเจริญ ทำให้ได้เห็นความเอื้ออาทรของชาวบ้านจึงบันทึกเป็นวีดีโอเก็บเรื่องราวมาเรื่อยๆ ทุกวัน ส่วนการถ่ายภาพพร้อมกับการปั่นจักรยานนั้นจะค่อนข้างยากจึงต้องใช้อุปกรณ์ที่แข็งแรงกันกระแทกได้ และจะเลือกบันทึกเส้นทางที่ผ่านไม่ซ้ำกันทำให้ไม่น่าเบื่อจนเกิดไป บางครั้งเสน่ห์ของการเดินทางเป็นเรื่องที่ทุกคนจดจำอยู่แล้วแต่จะมีสักกี่คนที่เลือกจะแบ่งปันมาให้ผู้คนได้รับรู้อย่างมีความสุข อยากเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกท่านที่ใช้จักรยานหรือว่าเดินก็ตาม หากพบเรื่องราวนอกจากจะจดจำกับตนเองแล้ว ควรจะนำภาพนั้นมาแบ่งปันเพื่อเปิดมุมมองใหม่ให้กับผู้คนได้
ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัลด้วยด้วย สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับรางวัลจากการประกวดในครั้งนี้ก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะเร็วๆ นี้จะมีโจทย์ในประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจออกมาให้ร่วมประลองฝีมือกันอีก สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่www.artculture4health.com และที่ /www.facebook.com/art.culture4h?