กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--Vivaldi PR
มหกรรมแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทานภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ครั้งที่ 27 ทวีความสนุกสนานยิ่งกว่าในวันที่สอง โดยเป็นการแข่งขันในเส้นทางอันดามันเรซซึ่งเป็นเส้นทางแข่งขันยาวกว่าวันแรก เพื่อวัดทักษะการแล่นเรือทางไกลของทีมผู้เข้าแข่งขัน ท่ามกลางทิวทัศน์อันงดงามของทะเลอันดามัน โดยในวันนี้ทีมเรือไทยทำผลงานเยี่ยมในหลายรุ่น
การแข่งขันวันที่ 2 สนับสนุนโดย จากัวร์ แลนด์โรเวอร์ เส้นทางแข่งขันในวันนี้ถือเป็นโอกาสของหลายทีมในการทำคะแนนตีตื้นคู่แข่งแก้ตัวจากเมื่อวาน โดยทีมเรือราชนาวี 1 นำโดยเรือโท พลเทพ สุขอุดม สามารถคว้าชัยในรุ่นไออาร์ซี 3 ของวันนี้ ส่วนอิทธินัย ยิ่งศิริ แห่งเรือไพน์ แปซิฟิค ยังคงทำผลงานเยี่ยม รั้งตำแหน่งผู้นำในรุ่นพรีเมียร์ได้เป็นวันที่สอง ขณะที่เรือแสนสิริ โดยปฏิญญากร บุราณรมย์ ทำคะแนนได้ดีขึ้นกว่าวันแรก แล่นเข้าที่สองในรุ่นโมเดิร์นคลาสสิค
ปฏิญญากร บุราณรมย์ นักกีฬาเรือใบหนุ่มเลือดใหม่ของไทย กัปตันเรือแสนสิริซึ่งลงแข่งในรุ่นโมเดิร์นคลาสสิค เผยว่า ?ผมรู้สึกภูมิใจมากที่ได้ร่วมลงแข่งภูเก็ตคิงส์คัพ เพราะเป็นถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่นักแล่นใบต่างชาติต่างหมายปอง สำหรับปีนี้ เนื่องจากทีมของเราใช้เรือที่ยังไม่คุ้นมือ จึงต้องอาศัยเวลาทำความคุ้นเคยกับเรือบ้างในการแข่งขันวันแรก แต่วันนี้รู้สึกพอใจกับผลงานมาก โดยในระหว่างการแข่งขันทีมเราทำความเร็วได้ดีมาตลอด แต่ในช่วงท้ายเรือของคู่แข่งเก็บลมได้ดีกว่าจึงแซงเข้าเส้นชัยก่อนทีมของเรา ซึ่งในวันต่อๆ ไปเราจะปรับกลยุทธ์การเล่นให้รับสถานการณ์เฉพาะหน้าให้ดีขึ้น มั่นใจว่าเราจะสามารถคว้าชัยชนะในรุ่นนี้ได้อย่างแน่นอน?
การแข่งขันในรุ่นไออาร์ซี ซีโร่ เรือวันเซล เรซซิ่ง ของเรย์ โรเบิร์ต จากออสเตรเลีย ยังคงคว้าชัยอันดับหนึ่งติดต่อกันเป็นวันที่สองแบบขาดลอย ส่วนในรุ่นไออาร์ซี 2 เรือฟูหยิน ของ ปีเตอร์ โซเร็นเซน ไล่บี้กับเรือคาราสุ ของ ยาสุโอะ นานาโมริ แบบไม่ยอมกันจนคว้าอันดับหนึ่งร่วมในวันนี้ ส่วนในรุ่นอื่นๆ เริ่มมีการเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำของตารางบ้างแต่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งคาดว่ารูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไปในวันพรุ่งนี้ จะยิ่งทำให้การแข่งขันยิ่งทวีความท้าทายสำหรับบรรดาทีมเรือใบมากขึ้น
ผลการแข่งขันภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้าครั้งที่ 27 วันที่ 2 (3 ธันวาคม 2556)
ไออาร์ซี 0
1.เรือวันเซล เรซซิ่ง กัปตันเรือ เรย์ โรเบิร์ต ประเทศออสเตรเลีย
2.เรือไฮไฟ กัปตันเรือ นีล ไพรด์ ประเทศฮ่องกง
3.เรือออย กัปตันเรือ อะเฮิน ไบเล่ส์ วิลเมอร์ ประเทศออสเตรเลีย
ไออาร์ซี 1
1. เรือฟ็อกซี่ เลดี้ 6 กัปตันเรือ บิล เบลมเนอร์ ประเทศสิงคโปร์
2.เรือวินด์ไซเกอร์ กัปตันเรือ ซาลาฟ ซิงค์ ประเทศสิงคโปร์
3. เรือซิกแนล 8 กัปตันเรือ แพทริค เพนเดอร์ / เจมี่ แมควิลเลียม ประเทศฮ่องกง
ไออาร์ซี 2
1. (ร่วม).เรือฟูหยิน กัปตันเรือ ปีเตอร์ โซเร็นเซน ประเทศออสเตรเลีย
และ เรือคาราสุ กัปตันเรือ ยาสุโอะ นานาโมริ ประเทศญี่ปุ่น
3.เรือเซลเพลน กัปตันเรือ คิริล ซัคคาลเซฟ ประเทศรัสเซีย
ไออาร์ซี 3
1.เรือราชนาวีไทย 1 กัปตันเรือ เรือโท พรเทพ สุขอุดม ประเทศไทย
2.เรือเรด ไคท์ 2 กัปตันแอนโทนี่ รูท ประเทศฮ่องกง
3.เรืออิจิบัน กัปตันเรือ แมทท์ อัลเลน ประเทศออสเตรเลีย
รุ่นพรีเมียร์
1.เรือไพน์ แปซิฟิค กัปตันเรือ อิทธินัย ยิ่งศิริ ประเทศไทย
2.เรือแพชโม กัปตันเรือ คริสโตฟ กันสวินดท์ ประเทศไทย
3.เรือเอ็มพีริคัล กัปตันเรือ โรเบิร์ต แนช/ยอตช์ เอ็มพีริคัล ประเทศไทย
รุ่นสปอร์ตโบ๊ต
1.เรือแพลเนต บลู กัปตันเรือ คาสุมิ อาซาอิ ประเทศญี่ปุ่น
2. เรือทอร์นาโด กัปตันเรือ ลินคอล์น เรดดิ้ง จากประเทศไทย
3.เรืออิปไป กัปตันเรือ มากิโกะ มัทซูชิ ประเทศญี่ปุ่น
รุ่นโมเดิร์นคลาสสิค
1. เรือเรมิตัน กัปตันเรือ จิม อิลลิส ประเทศไทย
2. เรือแสนสิริ (วินด์สตาร์) กัปตันเรือ กิ่ง-ปฏิญญากร บุราณรมย์ ประเทศไทย
3. เรือฟาร์โก เอกซเพรส กัปตันเรือ ปีเตอร์ วา ประเทศนิวซีแลนด์
รุ่นแบร์โบ๊ตชาร์เตอร์
1.เรือแรมบูแทน กัปตันเรือ ปีเตอร์ คอชเนฟ ประเทศรัสเซีย
2.เรือเวนเจอร์ กัปตันเรือ เดวิด โบกแมน ประเทศออสเตรเลีย
3.เรืออเล็กซา กัปตันเรือ เอฟเจนี นิวก็อดนิคอฟ ประเทศรัสเซีย
รุ่นโอเพ่น ชาร์เตอร์
1. เรือลิตเติ้ล อีว่า กัปตันเรือ แม็กซิม ทารานอฟ ประเทศรัสเซีย
2. เรือสาระวดี กัปตันเรือ นิกิฟอร์รอฟ ประเทศรัสเซีย
3. เรือโกโควา เซลลิ่ง เอกาตา กัปตันเรือวลาดีเมียร์ โอเลย์นิคอฟ ประเทศรัสเซีย
รุ่นมัลติฮัลล์ เรซซิ่ง
1.เรือเอเชีย คาตามารันส์ เฮอริเคน กัปตันเรือ อลัน คาร์วาดีน ประเทศไทย
2.เรือโมโจ กัปตันเรือ ปีเตอร์ วิลค็อกซ์ ประเทศไทย
3.เรือ มัลติฮัลล์ โซลูชั่นส์ กัปตันเรือ สก็อตส์ ดันแคนสัน ประเทศไทย
รุ่นมัลติฮัลล์ครูซิ่ง
1. เรือเอเรียนา กัปตันนิกกิคอฟ ประเทศรัสเซีย
2. เรือสตาร์ฟรุ้ต กัปตันโรมัน ชิโรคอฟ ประเทศรัสเซีย
3. เรือมินนี กัปตันโนริคาสึ อาราอิ ประเทศญี่ปุ่น
รุ่นไฟร์ฟลาย 850 สปอร์ต
1. เรือทวินชาร์ก กัปตันจอห์น นิวแฮม ประเทศอังกฤษ
2. เรือวูดู กัปตันฮานส์ ราห์มานน์ ประเทศไทย
3. เรือโมโต อินซิ กัปตันโรเจอร์ คิงดอน ประเทศไทย
รุ่นครูซิ่ง
1. เรือรัมรันเนอร์ 11 กัปตันคริส ฮิลเลอร์ ประเทศไทย
2. เรือเลดี้บับเบิล กัปตันคริส มิตเชลล์ ประเทศออสเตรเลีย
3. เรือเรนโบว์ดรีม กัปตันไซมอน พิฟฟ์ ประเทศสิงคโปร์
รุ่นคลาสสิค
1.เรือ ซันไชน์ ชูนเนอร์ โดย กัปตันเรือ ปีเตอร์ วู้ด จาก ประเทศไทย
2.เรือ เอส/ไวน์ อาร์โก้ โดยกัปตันเรือ แซม บัทเลอร์-ฮอกก์ จากประเทศไทย
ส่วนผลการแข่งขันเรือใบเล็ก ?อินเตอร์เนชั่นแนลดิงกี้คลาส? วันที่สอง ในรุ่นเลเซอร์ กลุ่มผู้นำยังคงเกาะสามอันดับแรกของตารางกันอย่างเหนียวแน่น โดยมีการสลับเพียงอันดับ 1 และ 2 โดยประกาศิต หงษ์ประดับ ขึ้นชิงตำแหน่งผู้นำได้ในวันนี้ ส่วนในรุ่นเยาวชนออพติมิสต์ อันดับหนึ่งทั้งประเภทชายและหญิงยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง นาวาโท พีระ สกุลเต็ม หนึ่งในผู้จัดการแข่งขันและผู้ฝึกสอนรายการอินเตอร์เนชันแนลดิงกี้คลาส ให้ความเห็นว่า ?สภาพอากาศในวันนี้ถือว่าเหมาะมากสำหรับเรือใบเล็ก โดยความเร็วลมเฉลี่ยราว 12-14 นอต แม้มีบางช่วงที่ลมกรรโชกถึง 18 นอต แต่เยาวชนของเราสามารถประคองเรือได้ดีจึงไม่เกิดปัญหาอะไร ทำให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนสามารถแล่นได้ครบทุกคอร์ส และด้วยความเร็วลมที่แรงกว่าเมื่อวาน ทำให้ในรุ่นเลเซอร์ ประกาศิต ซึ่งมีอายุน้อยกว่าและกำลังดีกว่า จึงคว้าอันดับหนึ่งได้ เพราะการแข่งขันเรือใบเลเซอร์เป็นรายการแบบไม่จำกัดอายุ ทำให้ผู้แข่งขันแต่ละคนจะมีความได้เปรียบในสภาพอากาศที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านกำลังหรือทักษะมากกว่ากัน?
ผลการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลดิงกี้คลาสวันที่ 2 (3 ธันวาคม 2556)
รุ่นออพติมิสต์
เยาวชนชาย: นพพร บุญเชิด
เยาวชนหญิง: แพรวา เก่งกล้า
รุ่นเลเซอร์
1. ประกาศิต หงษ์ประดับ
2. ณัฐพล ศรีหิรัญ
3. ชัยรัตน์ แดงดีมาก
ผู้สนับสนุนการแข่งขันประจำปี 2556 ประกอบด้วย กะตะกรุ๊ป รีสอร์ท ประเทศไทย, พีทีที โกลบอล เคมิคอล, แลนด์โรเวอร์, จากัวร์, มองต์แคลร์, สิงห์ คอร์เปอเรชั่น, แสนสิริ จำกัด (มหาชน), บริษัท หาดทิพย์ จำกัด, และ ซันเซล ส่วนพันธมิตรสื่อมวลชนของงาน ได้แก่ Phuket Gazette, Phuket Magazine, Sail-World.com, SEA Yachting และ YachtStyle Asia