กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--โบรเคด
ปี 2013 ที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันออกแบบและสร้างอวัยวะเทียมโดยใช้พรินต์เตอร์ 3 มิติ, ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮิกกส์ ผู้ค้นพบอนุภาคฮิกส์โบซอนที่สถาบัน CERN ได้รับรางวัลโนเบล 2013 สาขาฟิสิกส์, และไมโครซอฟท์เปิดเผยยอดขายของ Xbox One ทะลุ 1 ล้านชิ้นในวันแรก
เหตุการณ์สำคัญนี้เองแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันเราพึ่งพาเทคโนโลยีในทุกๆแง่มุมของการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือแม้แต่ด้านบันเทิง และเน็ตเวิร์กไอทีซึ่งเป็นพาหนะรับส่งข้อมูล เป็นเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อทุกคนในโลกใบนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งในปี 2014 นี้ ลิลลี่ ฟู หัวหน้างาน บริษัทโบรเคด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้คาดการณ์ว่าจะมีกระแสเทคโนโลยีสำคัญๆ ดังนี้
1. NFV และ Software-Defined ทุกรูปแบบจะมีอิทธิพลมาก
เมื่อพิจารณาตลาดทั่วโลกโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น คาดว่าเทคโนโลยี Network Functions Virtualization (NFV) และ Software-defined ทั้งรูปแบบเน็ตเวิร์ก เวอร์ช่วลไลเซชั่น ดาต้าเซ็นเตอร์ สตอเรจ และโครงสร้างพื้นฐาน จะมีวิวัฒนาการมาจากการค้นคว้าวิจัย และองค์กรธุรกิจกลุ่มเซอร์วิสโพรไวเดอร์จะเริ่มเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการผลิตมากขึ้น ในฐานะนักอุตสาหกรรม เราเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งความคล่องตัวที่มากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีโซลูชั่นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์กที่มีความยืดหยุ่นและผู้ดูแลสามารถตั้งค่าโปรแกรมได้เองมากขึ้น อย่างโซลูชั่น OpenStack และ OpenDaylight Project รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จะเสริมประโยชน์แก่องค์กร ขณะเดียวกัน เราก็คาดหวังว่า NFV จะสร้างคุณสมบัติเด่นและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แก่เซอร์วิสโพรไวเดอร์ด้วยการดึงเซอร์วิสต่างๆ สู่คลาวด์ ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความคล่องตัว แม้ว่าการนำ SDN มาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบันจะยังดูเร็วเกินไป แต่เหตุผลหลักในการเลือกและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์ก คือต้องมั่นใจว่าโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะสามารถรองรับ SDN ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ได้ สถาปัตยกรรมแบบเปิดจะเป็นปัจจัยหลักในการวางกลยุทธ์เพื่ออนาคต
2. จัดแต่งสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ให้เข้าที่เข้าทาง
ด้วยเทคโนโลยีที่มีจำนวนมาก ทำให้องค์กรต้องคิดทบทวนว่าควรออกแบบเน็ตเวิร์กอย่างไร รวมถึงการทำงานและการนำมาใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ ปัจจุบัน เน็ตเวิร์กมีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นต่างๆ และเราเชื่อว่า แฟบริก (Fabrics) จะมีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ก การใช้งานรีซอร์สและสมรรถนะของระบบ ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ล้นทะลักทำให้เน็ตเวิร์ก three-tier แบบดั้งเดิมถึงจุดสิ้นสุด บริษัทการ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2014 นี้ จะมีเน็ตเวิร์กทราฟฟิกระหว่างเซิร์ฟเวอร์กว่า 80% เราคาดหวังจะเห็นบรรดาเอ็นเทอร์ไพรซ์ทำการปรับเปลี่ยนเน็ตเวิร์กอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เอ็นเทอร์ไพรซ์จะได้รับประโยชน์และผลกำไรจากเน็ตเวิร์กที่ยืดหยุ่นมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งาน สำหรับอีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งถือกำเนิดมากว่า 40 ปี แต่จะยังคงพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
3. ความสำคัญของคลาวด์
จากข้อมูลของบริษัทการ์ทเนอร์ การผลักดันเทคโนโลยีคลาวด์ส่วนบุคคลจะทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมหน้าเซอร์วิสต่างๆ และลดการใช้งานดีไวซ์ จากผลการศึกษาของสถาบัน 451 รีเซิร์ส คาดการณ์ว่าในปี 2016 ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งทั่วโลกจะโตถึง 36% (CAGR) และจะมีมูลค่าตลาดถึง 19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารในแผนกไอทีตระหนักรู้ถึงรูปแบบธุรกิจใหม่ ลักษณะการใช้งาน ความต้องการของลูกค้า ประเด็นความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวจากการใช้งานคลาวด์ และคลาวด์จะเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรทั้งในแง่การเติบโตและนวัตกรรม ในปี 2014 เราคาดหวังจะเห็นคลาวด์พัฒนาเป็นปัจจัยหลักของการดำเนินธุรกิจ
4. การปฏิวัติอินเทอร์เน็ตที่ไม่หยุดนิ่ง
โรเบิร์ต เมตคาล์ฟ ผู้คิดค้นอีเธอร์เน็ต ระบุว่า ประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์กจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของโหนดที่เชื่อมต่อกัน จากข้อมูลของบริษัทไอดีซี คาดว่าภายในปี 2020 ตลาด “Internet of Things” จะประกอบด้วยเซอร์วิสและเทคโนโลยีบนดีไวซ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำนวนกว่า 212 พันล้านชิ้น และจะมีมูลค่าสูงถึง 8.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าเน็ตเวิร์กกิ้งครั้งใหญ่ และแม้ว่าจะมีการพูดถึงประเด็นด้านความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันระหว่างดีไวซ์ แต่ “Internet of Things” ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูปธุรกิจต่างๆ เช่น สาธารณสุข ค้าปลีก และคมนาคม ทำให้เอ็นเทอร์ไพรซ์จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลว่า “Internet of Things” ส่งผลต่อธุรกิจของตนอย่างไรบ้าง
5. บิ๊กดาต้าใหญ่เกินดูแล
กระแส BYOD และข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาล โดยเฉพาะคลิปวิดีโอ เป็นปัญหาที่ท้าทายของเน็ตเวิร์กในแง่มูลค่าของข้อมูลและการกำหนดกลยุทธ์การบริหาร ในปี 2014 เอ็นเทอร์ไพรซ์ต่างๆ จะย้อนถอยหลังสู่วิธีการดั้งเดิม รวมถึงการพิจารณาข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในดาต้าเซ็นเตอร์ ว่าจุดประสงค์ในการจัดเก็บคืออะไร ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร ถ้าการบริหารข้อมูลในองค์กรธุรกิจไม่ตอบโจทย์และสอดคล้องกับคำถามเหล่านี้ ก็คาดว่าจะประสบปัญหาเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ นอกจากนี้ เราคาดหวังว่าปี 2014 จะมีเหตุการณ์เน็ตเวิร์กปิดตัวลงเพราะข้อมูลที่มากเกินไป