กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--superior A.R.T.
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าด้วยไลฟสไตล์การใช้ชีวิตในยุคการแข่งขันสูงและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเป็นผลให้หนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเริ่มมีการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรช้าขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวะการมีบุตรยาก ภาวะแท้งซ้ำซาก หรือแม้แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรม โดยปัญหาส่วนใหญ่เหล่านี้มักจะเกิดมาจากความผิดปกติของโครโมโซมเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือในบางรายอาจจะเกิดมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งทุกปัญหาล้วนแล้วแต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของลูกน้อยที่จะกำเนิดมารวมถึงคุณพ่อคุณแม่ทั้งสิ้น
นายแพทย์สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์การมีบุตรยาก ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีผลสำเร็จด้านอัตราการตั้งครรภ์ในระดับสากลและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย กล่าวว่า เนื่องด้วยการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อสร้างฐานะและความมั่นคงก่อนที่จะแต่งงานและมีบุตรของหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ทำให้ส่วนใหญ่ตัดสินใจแต่งงานและมีบุตรช้าขึ้น เมื่อมีบุตรในช่วงอายุที่มากเกินไปส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อลูกน้อยที่จะเกิดมา ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านภาวะการมีบุตรยาก การแท้งซ้ำซาก และภาวะความผิดปกติของโครโมโซมอย่างโรคดาวน์ซินโดรม โดยพื้นฐานจำนวนโครโมโซมของมนุษย์มีอยู่ทั้งหมด 23 คู่ ถ้ามากหรือน้อยกว่านี้อาจก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ในปัจจุบันพบว่าความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม ตามธรรมชาติมากถึง 40-80% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้เป็นเจ้าของไข่เป็นหลัก ถ้าอายุมากขึ้นความผิดปกติก็จะมากขึ้นตามไปด้วย เพราะตัวอ่อนที่ผิดปกตินั้นส่วนใหญ่จะไม่ฝังตัวหรือถ้าฝังตัวจะก่อให้เกิดการแท้งในช่วง 3 เดือน ซึ่งหากรอดมาได้ ทารกก็จะมีความผิดปกติ ตัวอย่างโรคที่รู้จักกันดีคือ ภาวะดาวน์ซินโดรม โดยเฉพาะฝ่ายหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปจะพบ ว่ามีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมประมาณ 0.5% และจะมีความเสี่ยงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติแท้งซ้ำซาก หรือมีประวัติทารกพิการมาก่อนอาจพบมากขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากตัวอ่อนที่ผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนเลือกมาฝังตัวจะมีประโยชน์กับหญิงสาวทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างมาก
ทางด้านนายอธิคม และคุณนฤภร จากครอบครัวฉันทวานิช หนึ่งในครอบครัวตัวอย่างที่ตัดสินใจใช้เทคนิค CGH แทนวิธีการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติว่า กล่าวว่า ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาในการพักผ่อนมากนัก ต้องเดินทางตลอดเวลาประกอบการวางแผนที่จะมีบุตรคนที่ 2 ในช่วงอายุที่มีความเสี่ยง ทำให้ต้องการความมั่นใจและให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูก อยากให้ลูกเกิดมาสมบูรณ์ทำให้ตัดสินใจศึกษาข้อมูลและใช้เทคนิค CGH ช่วยลดภาวะความเสี่ยงดังกล่าวหลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ
“สิ่งที่เราห่วงที่สุดเมื่อเรามีลูกตอนอายุเยอะคือความปลอดภัยของลูก มีความกังวลว่าลูกจะมีปัญหาไหม เพราะจากการที่เราเห็นเด็กหลายคนมีปัญหาด้านโรคทางพันธุกรรมในปัจจุบัน เราจึงตัดสินใจใช้เทคนิค CGH เข้ามาช่วยตอบโจทย์ของเราได้ดีที่สุด”
ครอบครัวฉันทวานิช ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ทำให้ผู้หญิงแต่งงานช้าขึ้น ส่งผลให้มีบุตรช้าด้วยเช่นกัน เกินช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์ทำให้มีจุดที่มีความกังวล ถ้าเรามีลูกตอนอายุเยอะก็จะเกี่ยวพันธ์กับความปลอดภัยของลูกว่าลูกเกิดมาแล้วจะมีปัญหาหรือไม่ ในปัจจุบันเราก็เห็นเด็กหลายคนที่เกิดมามีปัญหาทางพันธุกรรม เพราะฉะนั้นการเลือกเทคโนโลยีอย่าง CGH เป็นสิ่งที่ทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้บุตรจะออกมาสมบูรณ์
คงต้องยอมรับว่าคู่สมรสทั้งหลายต่างใฝ่ฝัน ที่จะมีลูกน้อยไว้เป็นตัวแทนของความรักระหว่างพ่อ-แม่ เพื่อเติมเต็มคำว่า “ครอบครัว” ให้สมบูรณ์ หากแต่เพียงแค่การมีบุตรอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอ การมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ปลอดโรคต่างๆ รวมถึงโรคทางพันธุกรรม จึงน่าจะเป็นการตอบโจทย์ปัญหาใหญ่ของ คู่สามีภรรยาในยุคปัจจุบันได้ดีที่สุด เพราะโครโมโซมแม้จะเป็นจุดกำเนิดของชีวิตที่กำหนดไม่ได้ แต่เราเลือกได้…