กรุงเทพฯ--10 ม.ค.--คอร์แอนด์พีค
แนวโน้มดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาระบบสื่อสารผ่านมือถือไปจนถึงการขยายตัวของการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และโมเดลผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปรับใช้และการใช้งานไอทีขององค์กรในปีหน้า
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (เอชดีเอส) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) เปิดเผยแนวโน้มด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2557 ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS 2014 Asia Pacific) โดยเอเดรียน เดอ ลูกา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก ซึ่งได้ระบุ 5 แนวโน้มด้านไอทีที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้ในปี 2557 และจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานเทคโนโลยีในองค์กรต่างๆ
เดอ ลูกา คาดการณ์ไว้ว่า:
1. การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะก้าวไปไกลกว่าการพิสูจน์แนวคิดและเข้าสู่ใช้งานจริงในตลาด
2. เมื่อโมเดลของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud-Broker Model)เริ่มได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์กรจะปฏิรูปฝ่ายไอทีของตนจากผู้ใช้เทคโนโลยีให้กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ
3. ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด ไม่เพียงแต่ข้อมูลในมือถือที่ถูกส่งไปมาระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จัดเก็บด้วย
4. จะพบว่า มีการขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจากการสื่อสารผ่านระบบไร้สายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
5. การแข่งขันระหว่างประเทศและภูมิภาคต่างๆ เพื่อต้องการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งเอเชียจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในปี 2557
"ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), ระบบคลาวด์ และการเข้ารหัสลับข้อมูลถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มด้านไอทีที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงทั่วโลก โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีลักษณะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เราเชื่อว่าแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นเหล่านี้จะเปลี่ยนมุมมองและบทบาทด้านไอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลของภูมิภาคนี้ในปี 2557" เดอ ลูกา กล่าว
1. การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ก้าวไปไกลกว่าขั้นการพิสูจน์แนวคิด:
องค์กรจะต้องหาวิธีที่จะช่วยเผยให้เห็นมูลค่าของข้อมูลที่ตนมีอยู่ ตลอดจนปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานในลักษณะปรับขยายได้เพื่อแยกผลลัพธ์ที่มีความสำคัญออกจากข้อมูลขนาดใหญ่
จากการสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Economist Intelligence Unit (EIU) ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พบว่าองค์กรมากกว่า 70% ในภูมิภาคนี้เชื่อว่าการนำข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผลักดันให้เกิดความสามารถในการทำกำไร และช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนมากพบว่าระบบข้อมูลที่ตนมีอยู่เป็นอุปสรรคในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เนื่องจากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและถูกจัดการแยกส่วนกัน อีกทั้งยังมีไซโลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีรูปแบบและสื่อข้อมูลที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้น ปัญหาด้านข้อมูล ขนาดใหญ่จึงแบ่งออกได้ 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านเทคโนโลยี และปัญหาด้านองค์กร โดยในปี 2557 บริษัทต่างๆ จะต้องเดินหน้าจัดการกับปัญหาทั้งสองอย่างนี้ให้ได้
2. โมเดลผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud-Broker Model) เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น:
องค์กรต่างๆ จะปฏิรูปฝ่ายไอทีของตนจากผู้ใช้เทคโนโลยีให้กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ โดยองค์กรที่มีความต้องการด้านบริการแอพพลิเคชั่นและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างมาก จะเริ่มพิจารณาโมเดลผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud-Broker Model) และต้องการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่เป็นบุคคลภายนอกและสามารถรองรับเทคโนโลยีของผู้ผลิตในตลาดได้
เมื่อถึงเวลาฟื้นฟูเทคโนโลยี พวกเขาจะให้ความสำคัญกับแอพพลิเคชั่นและผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน โดยองค์กรจะเริ่มหันไปหาผู้ผสานรวมระบบ ฝ่ายไอทีภายในองค์กร หรือผู้ให้บริการภายนอกที่มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์
3. ความกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด:
ประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเดินหน้าออกกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว โดยองค์กรต่างๆ จะต้องตรวจสอบนโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลของตนใหม่ รวมทั้งจะต้องพิจารณาโซลูชั่น ได้แก่ การซิงค์และแชร์ไฟล์ การเข้ารหัสลับข้อมูล และความสามารถในการตรวจสอบเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วย
องค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของระบบมือถือและระบบปลายทางมากขึ้น และจะปฏิรูปแนวทางการจัดการข้อมูลและรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น โดยพวกเขาจะต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อจัดการและปรับขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นระบบอัตโนมัติ มิฉะนั้นค่าใช้จ่ายของการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีอยู่ก็อาจเพิ่มขึ้นอย่างมากได้
4. ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจากการสื่อสารผ่านระบบไร้สายขยายตัวอย่างมหาศาล:
ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะต้องปรับใช้โซลูชั่นการจัดการข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งการนำเสนอเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผู้ที่ดำเนินการดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันในระยะยาว
การเปิดตัวเทคโนโลยีมือถือ 4G และราคาสมาร์ทโฟนที่สามารถซื้อมาใช้งานได้ไม่ยากนัก มีผลอย่างมากต่อการขยายตัวของข้อมูลไร้สายในภูมิภาคแห่งนี้ และเพื่อจัดการกับเนื้อหาดิจิทัลจำนวนมากของผู้ใช้ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงต้องพัฒนาโครงสร้างด้านไอทีให้น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพสูง และสามารถปรับขยายได้ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลช โดยผสานรวมเข้ากับเครือข่ายขนาดใหญ่อันชาญฉลาด เพื่อสนองความต้องการใช้แบนด์วิธในระดับสูง
5. การแข่งขันเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์รวมดิจิทัลแห่งเอเชียจะเริ่มชัดเจนมากขึ้น:
ธุรกิจที่ให้บริการศูนย์ข้อมูลจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ จะแข่งกันเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งเอเชีย โดยบรรดาผู้ให้บริการจะเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงและทันสมัยเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับบริการของตน
องค์กรต่างๆ จะปรับใช้ระบบคลาวด์เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบไอทีดั้งเดิมของตนให้กลายเป็นโมเดลไอทีรูปแบบใหม่ที่ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก องค์กรหลายแห่งจะเริ่มปรับใช้ระบบคลาวด์แบบส่วนตัวภายในองค์กร ขณะที่องค์กรที่มีความก้าวหน้าในระบบคลาวด์มากกว่าก็จะเริ่มย้ายแอพพลิเคชั่นองค์กรของตนไปยังผู้ให้บริการระบบคลาวด์ พร้อมๆ กับการใช้แพลตฟอร์มแบบผสานรวมภายในองค์กร
นอกจากการคาดการณ์ของเดอ ลูกา สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้ว ฮิว โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ยังได้เปิดเผยการคาดการณ์ของเขาเกี่ยวกับ 10 แนวโน้มไอทีทั่วโลกสำหรับปี 2557 โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีเผยแพร่อยู่ในบล็อกของฮิวแล้ว
แหล่งข้อมูลบนเว็บ
- อ่านบล็อกของเอเดรียน เดอ ลูกา ใน HDS Community
- ติดตามเราทาง Twitter
- ติดต่อเราทาง LinkedIn
- เป็นเพื่อนกับเราทาง Facebook