ปตท.เผยขั้นตอนการมีส่วนร่วมโครงการท่อก๊าซฯไทย-มาเลเซีย

ข่าวทั่วไป Friday June 19, 1998 10:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--19 มิ.ย.--ปตท.
ขณะนี้โครงการฯ กำลังอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ ทั้งด้านเทคนิค และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวท่อก๊าซฯ ที่ศึกษาไว้เบื้องต้นเป็นตุ๊กตาสำหรับการศึกษารายละเอียด ทั้งนี้ในระหว่างการศึกษารายละเอียดด้านสิ่งแวดล้อม ปตท.มีแผนให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะการประชุมสาธารณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ส่วนการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อซื้อก๊าซฯ ที่ผ่านมา ไม่ต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการซื้อขายสินค้า
นายปิติ ยิ้มประเสริฐ ผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจก๊ธรรมชาติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เปิดเผยถึงรายละเอียด โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ จ.สงขลา ว่า โครงการนี้เป็นการร่วมทุนระหว่างปตท. ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยกับเปโตรนาส บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย ในอัตราส่วน 50:50 เพื่อให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติ และแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักที่ได้ คือ ก๊าซหุงต้ม โดยก๊าซฯที่จะใช้บริการนี้ คือก๊าซฯจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thai Joint Development Area หรือ JDA)
สำหรับสถานะปัจจุบันของโครงการฯ นั้น ในทางปฏิบัติถือว่า เพิ่งจะเริ่ม คือ รัฐบาลเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการร่วมทุนระหว่าง 2 ประเทศ (โดย ปตท.และเปโตรนาส) แต่ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญาผูกพันใด ๆ ซึ่งขณะนี้ ปตท.ได้ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไปก่อนในฐานะที่โครงการ ทั้งด้านการลงทุน ด้านเทคนิค รวมถึงการศึกษา และจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
นายปิติ ชี้แจงถึง นโยบายของ ปตท.เกี่ยวกับการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามแนวนโยบายรัฐธรรมนูญว่า ปตท.มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่จะให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ ตามที่ระไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตร 56 แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายลูก ที่วางระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนไว้ ปตท.จึบวางรูปแบบเพื่อนำมาใช้กับโครงการฯ โดยบางส่วนอาศัยระเบียบสำนักนายกฯที่มีอยู่เดิม และวิธีการที่ต่างประเทศใช้ปฏิบัติ คือ ในช่วงทำขอบเขตรายงานผลกระทบฯเบื้องต้น ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว
สำหรับในช่วงการจัดทำรายงานผลกระทบ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ประมาณเดือนหน้า (หากการศึกษาขอบเขต ของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ซึ่งส่งไปให้สำนักนโยบายและแผน กระทรวงวิทย์ฯพิจารณาไม่มีการแก้ไข) จะมีการเข้าพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน เพื่อจัดประชุมย่อยรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลทำรายงานฯ และจะมีการจัดประชุมสาธารณะระดับจังหวัด ประมาณ 3-4 ครั้ง เพื่อนำรายงานฯ ที่จัดทำแล้วเสร็จในประเด็นสำคัญ ๆ แต่ละเรื่องมาชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นเป็นช่ว ๆ เป็นการร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมพิจารณาตัดสินใจต่อไป
อนึ่ง ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซียนี้ ประเทศไทยและมาเลเซีย มีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนของ ทั้ง 2 ประเทศ และได้ตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ขึ้นมาดูแลผลประโยชน์ โดยมอบสัมปทานให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ทำการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งจากากรสำรวจพบว่าเป็นแหล่งที่มีก๊าซธรรมชาต ในปริมาณผลิตเชิงพาณิชย์ ปตท.และเปโตรนาส ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติของสองประเทศ จึงได้ร่วมกันเจรจาซื้อก๊าซฯ จากแหล่งดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในประเทศของตน และได้มีการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นที่จะซื้อ ก๊าซฯ ณ ราคาปากหลุม เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีของสองประเทศเป็นประธาน โดยไม่มีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการซื้อขายสิ้นค้า
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ จึงได้มอบหมายให้ ปตท.และเปโตรนาส ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ ร่วมกันศึกษาโครงการร่วมทุนเพื่อพัฒนาการใช้ก๊าซฯ แหล่งดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ภาคเหนือของมาเลเซีย และโรงแยกก๊าซฯ จ.สงขลา แต่หากผลการศึกษาผลกระทบฯ พบว่าไม่มีความเหมาะสมที่จะนำก๊าซฯ มาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาภาคใต้ตอนล่างของไทย ปตท.ก็สามารถวางท่อก๊าซฯจากปากหลุมในทะเล ไปเชื่อมกับแท่นผลิตแหล่งเอราวัณในอ่าวไทย เพื่อนำมาเข้าระบบท่อก๊าซฯสายประธาน และขึ้นบกที่ จ.ระยอง ได้เลย ส่วนเปโตรนาส จะวางท่อไปเชื่อมกับแท่นผลิตของเปโตรนาสในทะเลเช่นกัน--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ