ผลการศึกษาไอดีซีชี้ จะเกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรไอที 2 ล้านตำแหน่งทั่วโลกใน 10 ปีข้างหน้า

ข่าวเทคโนโลยี Thursday January 30, 2014 08:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง ซิสโก้เผย มุ่งแก้ปัญหา “ช่องว่างทักษะด้านไอที” ในประเทศไทย และเอเชีย-แปซิฟิก เตรียมลงทุนสร้างบุคลากรไอทีด้านเครือข่าย 400,000 คนในอีก 5 ปีนับจากนี้ ซิสโก้มีแผนลงทุนพัฒนาบุคลากรไอทีด้านเครือข่าย 400,000 คนในอีก 5 ปีเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนทักษะด้านไอทีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยซิสโก้กล่าวยืนยันถึงแผนการดังกล่าวในงานเปิดตัว การสัมมนาผ่านเว็บในหัวข้อ “Internet of Everything” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่บุคลากรด้านไอทียุคใหม่ที่ต้องการประกอบวิชาชีพในสาขานี้ ประเด็นสำคัญ: ปัญหาช่องว่างทักษะด้านทางไอทีถูกระบุไว้ในรายงานของไอดีซีที่มีชื่อว่า วิวัฒนาการของปัญหาช่องว่างทักษะทางไอทีด้านเครือข่ายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (The Evolution of the Networking Skills Gap in Asia/Pacific) รายงานดังกล่าวจัดทำขึ้นภายใต้การมอบหมายของซิสโก้ โดยไอดีซีได้ทำการสัมภาษณ์จำนวน 504 ครั้งใน 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี ไอดีซีได้วิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานสำหรับบุคลากรไอทีด้านเครือข่ายในเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แต่ละอุตสาหกรรมตามประเภทและขนาดของอุตสาหกรรม เช่น ภาครัฐ การศึกษา การแพทย์ โทรคมนาคม บริการด้านการเงิน การผลิต ค้าปลีก/ค้าส่ง สื่อ/วิทยุ-โทรทัศน์/สิ่งพิมพ์, ท่องเที่ยว/คมนาคม/การกระจายสินค้า ทรัพยากรธรรมชาติ และบริการอื่นๆ โดยบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 75 คน ผลการศึกษานี้ครอบคลุมเฉพาะบริษัทที่มีพนักงานฝ่ายไอทีภายในองค์กรเท่านั้น ผลการศึกษาชี้ว่าภายในปี 2559 จะมีปัญหาช่องว่างทางด้านทักษะของบุคลากรไอทีด้านเครือข่ายกว่า 400,000 คนทั่วภูมิภาคนี้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับไอซีทีราว 2 ล้านตำแหน่งทั่วโลกใน 10 ปีข้างหน้า [1] ด้วยเหตุนี้ หากไม่มีการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะด้านไอทีแล้ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกก็จะไม่สามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกได้ ในอีก 10 เดือนข้างหน้านับจากนี้ โครงการสัมมนาผ่านเว็บในหัวข้อ “Internet of Everything” นี้จะเปิดให้บริการสำหรับนักเรียน Networking Academy โดยจะครอบคลุมหลากหลายแง่มุมของ Internet of Everything รวมถึงโอกาสในการประกอบอาชีพ การสัมมนาดังกล่าวจะประกอบด้วยการฝึกอบรมในชั้นเรียนและฝึกอบรมแบบเสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยีการทำงานร่วมกันของซิสโก้ เช่น Cisco TelePresence, Cisco WebEx และ Cisco TV ซิสโก้คาดการณ์ว่า “การเชื่อมต่อ” ที่มีอยู่ราว 10,000 ล้านการเชื่อมต่อในปัจจุบัน จะเพิ่มเป็น 50,000 ล้านการเชื่อมต่อในปี 2563 ทำให้อาชีพหรืองานที่ต้องอาศัยทักษะและความรู้ด้านไอทีจะขยายตัวและแพร่หลายมากขึ้นในโลกที่ขับเคลื่อนด้วย “Internet of Everything” และเกิดการปฏิรูป ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอที (Tech-savvy workers) และการสร้างงาน จากผลการศึกษาล่าสุดของธนาคารโลก พบว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าตลาดทั่วโลกอยู่ที่ 800,000 ล้านดอลลาร์ (24 ล้านล้านบาท) จากข้อมูลของไอดีซี ซิสโก้จึงมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการในการสร้างบุคลากรด้านไอทีที่มีคุณภาพ ด้วยโครงการเชิงกลยุทธ์และการทำงานร่วมกันของคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นอนาคต เพื่อสนับสนุนบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ และลดปัญหาช่องว่างทางด้านทักษะที่เพิ่มมากขึ้นนี้ Learning@Cisco พร้อมด้วยพันธมิตร จะนำเสนอเนื้อหาความรู้ใหม่ๆ รวมถึงหลักสูตร Internet of Things (IoT), การประเมินผล และใบรับรอง Cisco Specialist Certification เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรม โครงการฝึกอบรมนี้ได้มีการเปิดตัวที่งาน Internet of Things World Forum เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (IP) โดยมุ่งเน้นระบบงานอัตโนมัติ การผลิต และพลังงาน และในอนาคตก็มีแผนที่จะขยายให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่นำไปสู่การปฏิรูปเช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาไอดีซี พบว่าในปัจจุบันความต้องการ (demand) แรงงานไอทีด้านเครือข่ายแซงหน้าระดับอุปทาน (supply) ไปแล้ว และแนวโน้มนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในอนาคต ที่จริงแล้วการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถของตลาดในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกระตุ้นความต้องการเทคโนโลยีด้านเครือข่าย เนื่องจากบริษัทต่างๆ กำลังขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ล้าสมัย การขยายตัวของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น โมบิลิตี้ ระบบสื่อสารแบบครบวงจร (Unified Communication) และการบริการด้านคลาวด์ ยังช่วยผลักดันความสำคัญของเทคโนโลยีเครือข่ายสำหรับบริษัทต่างๆ เพราะถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของโครงสร้างธุรกิจ โดย 99% ของผู้ตอบแบบสอบถามไอดีซีรายงานว่ “เครือข่าย” จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นสำหรับองค์กรของตนในอนาคตปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ขณะที่ซิสโก้มุ่งมั่นเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายบุคลากรเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านสังคม ซึ่งจะช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และโอกาสของผู้คนทั่วภูมิภาคนี้ ซิสโก้ใช้แนวทางการสร้างสรรค์ ‘คุณประโยชน์ร่วมกัน' เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านสังคม และมุ่งเน้นการใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นของซิสโก้เพื่อสร้างโครงการเชิงกลยุทธ์และความร่วมมือที่ยั่งยืน คำกล่าวสนับสนุน: คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีนของซิสโก้ “ตอนนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ทั้งผู้คน ข้อมูล กระบวนการทำงาน และสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจและองค์กร ทั้งนี้ ระบบเครือข่ายจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากใน Internet of Everything โดยจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ชาญฉลาด ปลอดภัย และบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับขนาดเพื่อรองรับผู้ใช้หลายพันล้านคน รวมไปถึงอุปกรณ์อัจฉริยะและ 'สิ่งต่างๆ' (เช่น เซ็นเซอร์) ด้วยความเชี่ยวชาญที่เหนือชั้นในการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย ซิสโก้จึงมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง ภายใต้ Cisco Networking Academy ซิสโก้จะช่วยจัดการฝึกอบรมบุคลากรและแก้ไขปัญหาช่องว่างทักษะด้านไอทีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตสำหรับการก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่ซึ่งสิ่งต่างๆในโลกเกือบทั้งหมดถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ทักษะคือคุณสมบัติสำคัญในศตวรรษที่ 21 หากไม่มีการลงทุนที่เพียงพอในด้านทักษะ ก็จะไม่สามารถเปลี่ยนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และประเทศต่างๆ จะไม่สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจระดับโลก การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญในอุตสาหกรรมไอที ทุกวันนี้ตลาดเครือข่ายกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน วิดีโอ ดาต้าเซ็นเตอร์และเวอร์ช่วลไลเซชั่น คลาวด์และโมบิลิตี้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด” ในประเทศไทย ซิสโก้ได้จัดตั้งโครงการ ‘Cisco Networking Academy’ นำเสนอการเรียนการสอนในห้องเรียน, ทางออนไลน์ และเครื่องมือแบบอินเทอร์แอคทีฟให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้และทักษะจำเป็นเพื่อความสำเร็จในตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นับตั้งแต่ที่เปิดโครงการ มีผู้เรียนหลักสูตรนี้แล้ว 33,712 คน โดย 35% ของผู้เรียนเป็นสตรี ปัจจุบันมีสถาบัน Cisco Networking Academy มีทั้งหมด 51 แห่งในเมืองไทย โดยปัจจบันมีผู้เรียนกว่า 6,000 คน ในระยะแรกของยุค Internet of Everything “เครือข่าย” เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานรุ่นอนาคต และองค์กรต่างๆ จะต้องรับมือกับความท้าทายในการเพิ่มความชาญฉลาดให้กับเครือข่าย เพื่อให้สามารถจัดการแทรฟฟิกโฟลว์ แอพพลิเคชั่นที่ซับซ้อน และข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการสอดรับกับความต้องการทางธุรกิจ ซิสโก้เป็นผู้นำในการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายแห่งศตวรรษที่ 21 เราพบว่าผู้เรียนในโครงการของเรามีความสนใจมากขึ้นที่จะปรับใช้ความรู้และทักษะเพื่อประโยชน์ของสังคม เราเล็งเห็นโอกาสในการขยายความร่วมมือของเรากับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: วรุตม์ ศิระวงศ์ประเสริฐ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด อีเมล์: wsirawon@cisco.com โทร: 0 2263 7000 วราวอง จงรักษ์ บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด อีเมล์: warawong@pc-a.co.th โทร: 0 2971 3711

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ