กรุงเทพฯ--6 ก.พ.--เกรลิ่ง ไทยแลนด์
การปฏิวัติการค้าเอเชียเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
โดย เดวิด แอล คันนิ่งแฮม จูเนียร์
การค้าในเอเชียแปซิฟิกได้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆ มาแล้วในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทว่าที่จริงแล้ว การปฏิวัติการค้าในเอเชียนั้นเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
ยี่สิบปีที่ผ่านมา เมื่อผมย้ายมาประจำที่ทวีปเอเชีย เฟดเอ็กซ์ถูกขับเคลื่อนโดยอิเล็กทรอนิกส์ การค้า ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
การเปลี่ยนแปลงข้อแรกคือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากและแพร่กระจายราวกับไฟป่า ด้าน "เครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคล" ซึ่งถูกขนานนามว่า "ก้อนอิฐ" เนื่องจากขนาดและน้ำหนักของมัน ก็เริ่มได้รับความนิยม และห่วงโซ่อุปทานที่มีความซับซ้อนก็เข้ามามีบทบาทสำคัญ
นอกจากนี้ยังมีบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ บรรษัทข้ามชาติผู้ซึ่งขับเคลื่อนการเติบโตของการส่งออกและการค้านอกทวีปเอเชียที่ได้เข้ามามีบทบาท สำหรับเฟดเอ็กซ์ ด้วยการที่เราให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทเหล่านี้ในการนำส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ล้ำหน้าไปยังตลาดต่างๆ จึงน่าจะเรียกได้ว่าเราเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่ม "หัวขบวน" อย่างแท้จริง
แม้เวลาจะเดินทางมาถึงปี 2013 อย่างรวดเร็ว แต่อีกหลายสิ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
หากกล่าวโดยกว้างๆ วิธีการขนส่งที่เราใช้ในปัจจุบันนี้ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มด้านเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการเติบโตของเรา
เรายังคงวิ่งนำอยู่แถวหน้าของกระแสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติวงการดิจิตัล โลกาภิวัฒน์ด้านการค้า การพัฒนาของอินเตอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ เรายังคงจัดส่งสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจำนวนมหาศาล มีการประมาณการว่า 18-25% ของธุรกิจขนส่งทางอากาศโดยทั่วไปยังเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แม้ตอนนี้จะเน้นไปที่การเปิดตัวสินค้าและอุปกรณ์ใหม่ๆ
กระนั้น หากมองให้ลึกขึ้น จะเห็นได้ว่ามันมีอะไรมากกว่านั้น สินค้าที่เครื่องบินของเรานำส่งมีความหลากหลายเท่าๆ กันกับจำนวนประเทศต่างๆ ที่เราให้บริการ ซึ่งขณะนี้มีสินค้าจำนวนมหาศาลไม่ว่าจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย อีคอมเมิร์ซ หรือยานอวกาศ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าด้านสาธารณสุขและยาเพิ่มมากกว่าที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งตัวอย่างทางคลินิก ชีวเทคโนโลยี และอุปกรณ์ทางการแพทย์
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกอย่างหนึ่ง คือ การปรากฏขึ้นของกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ธุรกิจขนาดเล็กได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นทั่วโลก และพลังของลูกค้าระดับปัจเจกบุคคลก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งแม้แต่วงการอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงก็ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และไม่ใช่เพียงแต่บริษัทใหญ่ๆ ขณะนี้บริษัทขนาดเล็กมากมายต่างตบเท้าเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
หากลองมองให้ลึกลงไปอีก ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ด้วยความที่เฟดเอ็กซ์ใช้ช่องทางคมนาคมทั้งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ เราได้พิสูจน์ให้เห็นถึงกระแสต่างๆ ของโลกที่มีผลต่อธุรกิจของเรา และเรายังมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในช่องทางการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการปฏิวัติในอุตสาหกรรมของเราที่มีผู้ให้บริการขนส่งด่วนและขนส่งคาร์โกทางอากาศเป็นช่องทางหลักเพียงทางเดียว
การขนส่งผ่านมหาสมุทรเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กับผู้ส่งสินค้าในทุกๆ แง่ ด้วยปริมาณสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมากที่มักใช้บริการขนส่งทางทะเล และเครือข่ายขนส่งด่วนที่จัดมาเพื่อสินค้าน้ำหนักเบาและรีบเร่ง
ด้านภูมิศาสตร์ก็มีความเปลี่ยนแปลงเช่นกัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ต่างร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้ ตัวอย่างเช่น ในปี 2013 ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย เผยว่า การส่งออกระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาพุ่งสูงขึ้นถึง 29.10% คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 11.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และคิดเป็น 9.92% ของยอดการส่งออกของประเทศไทย ขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา คิดเป็นมูลค่าทั้งสิน 7.9 พันล้านดอลล่าร์ หรือ 6.1% ของยอดการส่งออกของไทย
แม้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในหลายด้านที่เกิดขึ้นกับการค้าในภูมิภาคเอเชียได้ดำเนินมาเป็นเวลาห้าปีแล้ว ตัวอย่างเช่น การปฏิวัติของจีนในการกลายมาเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่่สุดในโลก การเป็น "ผู้ค้ายักษ์ใหญ่" ในระดับโลก และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการค้าโลก
แต่กระนั้น สิ่งที่มักถูกมองข้ามในการปรับตัวของการค้าโลกกลับเป็นผลกระทบและความเชื่อมโยงสัมพันธ์ที่ทุกประเทศต่างมีต่อกันและกัน ไม่เพียงแต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ๆ เท่านั้น ปัจจุบันนี้ การผลิตจำต้องอาศัยห่วงโซ่อุปสงค์ที่มีความสลับซับซ้อนอย่างสูง ซึ่งส่วนที่สำคัญๆ หลายร้อยส่วนของห่วงโซ่นี้ต่างกระจายตัวอยู่ในผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งมักจะไม่ใช่ในหลายประเทศ หากแต่อยู่ในหลายทวีป[1]
ลองดูตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก อย่างโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เห็นได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง สมาร์ทโฟนอาจถูกออกแบบในแคลิฟอร์เนีย ทำจากอะไหล่จากไต้หวัน ประกอบในจีน และสินค้าถูกส่งผ่านสิงคโปร์ ซึ่งมาพร้อมแอพพลิเคชั่นจากเกาหลี และส่งไปขายยังอินโดนีเซีย[2]
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือคำถามที่ว่าเราจะยืนอยู่ตรงไหนในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้าจากวันนี้ ในหลายๆ แง่ ทวีปเอเชียเพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติการค้าโลก แล้วใครกันที่จะผงาดขึ้นเป็น "เสือแห่งวันพรุ่งนี้" ของการค้าในทวีปเอเชีย
นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ กำลังก่อให้เกิดโลกแห่งการค้าที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นโลกที่ผู้ชนะจะต้องเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีได้อย่างดีที่สุดและเร็วที่สุด เป็นโลกที่ประสิทธิภาพและนวัตกรรมเข้ามาผสานกันในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกที่มีความสลับซับซ้อนอย่างมากอย่างเหมาะสมลงตัวที่สุด[3]
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเงินของผมจึงลงไปอยู่ที่ "เสือทั้งหลาย" ไม่ว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจหรือธุรกิจต่างๆ ที่มีความปราดเปรียวว่องไวในการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกือบทั้งหมดการเปลี่ยนแปลงที่ว่ากำลังจะมาถึงในอนาคต
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
เกรลิ่ง ไทยแลนด์
เบญจรัตน์ ลิมปสุรัติ
โทร: (02) 635-7151-2 แฟกซ์: (02) 635-7155
อีเมล์: benjarat@grayling.com
[1] IATA publication Air Cargo Focus interview with M Ducker, Spring 2013
[2] US Secretary of State John Kerry referenced this same example as part of his keynote speech at the APEC CEO Summit, Oct 2013.
[3] M Ducker, Air Cargo World, May 2013