กรุงเทพ--2 ก.ค.--กระทรวงพาณิชย์
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แถลงผลการดำเนิน งานในรอบ 6 เดือน ว่ามีความคืบหน้าตามนโยบายหลัก 4 ประการ ซึ่งส่งผลให้อัตราเงิน เฟ้อลดลง การส่งออกเพิ่มขึ้น แก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ และจัดระบบการพาณิชย์ให้มี ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นไปตามนโย บายหลักที่นายณรงค์ชัย ได้แถลงไว้ 4 ประการ คือ การรักษาระดับราคาสินค้าอุปโภคบริ โภคให้มีเสถียรภาพ การรักษาระดับราคาสินค้าเกษตรให้เป็นธรรม การฟื้นฟูการส่งออก และปกป้องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ และการปรับปรุงระบบการพาณิชย์เพื่อ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน
ในด้านการรักษาระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้มีเสถียรภาพนั้นกระทรวงพา ณิชย์เน้นการส่งเสริมการแข่งขัน และเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่เห็นได้ชัด คือ การยก เลิกมาตรการดูแลต้นทุนและราคาสินค้ารถยนต์ เป็นผลให้ราคารถยนต์ในตลาดลดลง การปรับมาตรการกำกับดูแลน้ำดื่มมีผลให้มีการผลิตน้ำดื่มออกจำหน่ายมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำ ดื่มชนิดขวดขาวขุ่น การจัดทำโครงการธงฟ้าราคาประหยัด จำหน่ายอาหารสำเร็จรูป และ สินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ รวมทั้งโครงการคาราวานสินค้าราคาประหยัด การจัดตั้ง ร้านค้าชุมชนในชนบท ซึ่งดำเนินการไปแล้ว จำนวน 422 ร้าน ใน 63 จังหวัด และที่สำ คัญคือ การยกร่างปรับปรุงกฏหมาย พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด เพื่อ ผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรมในการบริโภคสินค้าด้วย ผลจากการดำเนินมาตรการดัง กล่าวเป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อในรอบ 6 เดือนนี้ ลดลงคือมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.4 เมื่อ เทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2539 ที่มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 5.5
ด้านนโยบายการรักษาสินค้าเกษตรให้เป็นธรรม กระทรวงพาณิชย์ยึดถือนโย บายการค้าเสรีเพื่อให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าโดยรัฐแทรกแซงหลาย ๆ แนว ทาง เฉพาะในกรณีที่จำเป็นในอันที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถจำหน่าย ผลผลิตได้ใน ราคาที่สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต เช่น การเข้าไปแทรกแซงสินค้าเกษตรหลายชนิดที่มีรา คาตกต่ำมาก ผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทำให้ราคาพืชผลเกษตรเกือบทุกราย การมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งสินค้าที่ราคาขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก และราคาสินค้าที่ราคาขึ้นอยู่กับ ฤดูกาล เช่น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ตันละ 6,800-7,800 บาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับทางปีที่แล้ว ซึ่งมีตันละ 4,800-5,800 บาท เมล็ดกาแฟ ก่อนแทรกแซงราคา ก.ก.ละ 24.50 บาท เมื่อเข้าแทรกแซงราคา ราคา ก.ก.ละ 30 บาท และต่อมาขึ้นเป็น 34 บาท หอมหัวใหญ่ ก่อนแทรกแซงราคา ก.ก. ละ 3 เมื่อเข้า แทรกแซงราคา ก.ก. ละ 4.60 ลิ้นจี่ก่อนแทรกแซงปี 2539 ชนิดเกรดเอ ก.ก. ละ 15 บาท เมื่อเข้าแทรกแซงปี 2540 ก.ก. ละ 17-20 บาท นอกจากนี้ยังจัดตั้งตลาดกลาง สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 9 แห่ง รวมเป็น 74 แห่ง การจัดระบบการค้าพืชผลให้เป็นธรรม โดยจัดหาเครื่องชั่งขนาดใหญ่และเครื่องวัดเปอร์เซ็นแป้ง รวม 2,300 เครื่อง ให้ตำบล ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
สำหรับการฟื้นฟู เพิ่มพูนการส่งออกและปกป้องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่าง ประเทศ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวของการส่งออกได้ปรับตัวอยู่ในสภาวะ ที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าสินค้าออกระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2540 เพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 3.5 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2539 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ดำ เนินการเร่งรัดการส่งออก ทั้งรักษาตลาดเก่าและแสวงหาตลาดใหม่ ทั้งในรูปของการร่วม งานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนการค้าไปยังตลาดสำคัญ การนำคณะผู้แทนการค้าจากทั่ว โลก ชมงานแสดงสินค้าในประเทศ การส่งเสริมให้มีการใช้ชื่อการค้าของสินค้าไทยใน ตลาดโลก การจัดประชุมผู้ส่งออกและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ส่งออก สามารถลดต้นทุนการส่งออกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ส่วน การเจรจาการค้ากับต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่สินค้าไทยได้สำเร็จ ได้แก่ ไก่ดิบ กับแคนาดา สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ออสเตรเลีย กระจกกับฟิลิปปินส์ รองเท้ากับสหภาพยุ โรป ผลไม้แห้งกับสหภาพยุโรป กุ้งแช่แข็งกับสหรัฐฯ การนำเข้าสินค้าควบคุมให้นำเข้าได้ ภายใต้เงื่อนไขเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นำเข้า 200,000 ตัน นมผงจัดสรรโควต้านำเข้าเกินกว่าข้อผูกพันกับ WTO กากถั่วเหลือง ลดภาษีนำเข้าเหลือ ร้อยละ 5 การปกป้องสินค้านำเข้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดคือเหล็กการบริหารการส่ง ออกสิ่งทอให้สะดวกรวดเร็ว ทำให้การส่งออกสิ่งทอตามโควต้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16 เป็นต้น
นายณรงค์ชัย กล่าวว่าสำหรับนโยบายปรับปรุงระบบการพาณิชย์ เพื่อพัฒนาการ แข่งขันและเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจไทย ได้ดำเนินการพัฒนางาน IT โดยใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อบริการนักธุรกิจ และประชาชนที่มาติดต่อให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว การรับจดทะเบียนนิติบุคคลโดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้ บริการจดทะเบียนธุรกิจเอกชน จากเดิมใช้เวลา 3 วัน เหลือเพียง 2 ชั่วโมง การเชื่อม โยงข้อมูลอิเลคทรอนิกส์สิ่งทอกับภาคเอกชน ทำให้การออกหนังสือรับรองการส่งออกสิ่งทอ เร็วขึ้นจากเดิม 3 วัน เหลือเพียง 1 วัน การเพิ่มการแข่งขันในธุรกิจประกันภัย โดยเปิด เสรีธุรกิจประกันภัยโดยอนุญาตให้เปิดบริษัทประกันชีวิตเพิ่ม 12 ราย และบริษัทประกัน วินาศภัยเพิ่มอีก 16 ราย การปรับปรุงพิกันอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยใหม่ให้เหมาะสมโดยทั้ง ระบบลดลงประมาณ ร้อยละ 9.3 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป คือ บ้านที่อยู่ อาศัย ปรับลดอัตราลงร้อยละ 20 การประกันอัคคีภัยทรัพย์สินอื่น ๆ ในภูมิภาค ปรับลดลง ร้อยละ 30 ห้างสรรพสินค้าปรับอัตราเพิ่มร้อยละ 20 การกำหนดกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับ ผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารเกิน 12 คน การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้อง เรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามกฎหมาย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 วันทำการ การจัดตั้งอู่กลาง ประกันภัยส่วนกลาง การดำเนินการป้องกัน และปราบปรามละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อ ลดการกีดกันทางการค้า มีการดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิด โดยเข้มงวดคือ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จำนวน 72,320 ชิ้น เพิ่มจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อย ละ 9.6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จำนวน 81,231 คดี เพิ่มจาก ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 175.7--จบ--