กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--Ericsson
- สังคมของเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัวเรากำลังเชื่อมต่อสื่อสารกัน หรือที่เรียกอีกอย่างว่าสังคมเครือข่าย (Networked Society) ซึ่งทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของเราในทุกวันนี้เริ่มปรับเปลี่ยน พร้อมกับก่อให้เกิดความต้องการและความคาดหวังใหมๆกับบริการต่างๆในอนาคตอีกด้วย
- อีริคสันคอนซูเมอร์แล็บสะท้อนปัจจัยสำคัญๆในการพัฒนาบริการต่างๆในอนาคตที่จะรองรับกับความต้องการต่างๆของผู้บริโภคในการใช้ชีวิตแบบคอนเน็กเต็ดไลฟ์สไตล์ (Connected Lifestyles)
- รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความต้องการใหม่ๆและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆอีกด้วย
ตลาดการบริการด้านดิจิตอลได้มีการพัฒนาคิดค้น แอพพลิเคชั่นและโซลูชั่นในรูปแบบใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะติดต่อสื่อสาร พบปะผู้คน ค้นหาข้อมูลรวมทั้งการซื้อสินค้าออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทางอีริคสันคอนซูเมอร์แล็บได้ทำการสำรวจความต้องการในรูปแบบใหม่ๆของผู้บริโภค รวมถึงแนวคิดและปัจจัยในการพัฒนาบริการที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค
โดยทั้งนี้ได้มีการสัมภาษณ์ไปยังผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนใน 3 ประเทศด้วยกันคือ บราซิล อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยทางคอนซูเมอร์แล็บได้สรุป 7 กลุ่มความต้องการของผู้บริโภคต่างๆใน แอพพลิเคชั่นและบริการใหม่ๆ ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตแบบคอนเน็กเต็ดไลฟ์สไตล์ (Connected Lifestyles)ดังต่อไปนี้
1. เข้าถึงได้ในทุกที่และทุกเวลา เพื่อรองรับกับรูปแบบการดำเนินชีวิตในแบบอิสระเสรีแบบ On-The-Go โดยผู้บริโภคจะมีความคาดหวังว่าพวกเขาสามารถจะเข้าถึง บริการและข้อมูลต่างๆจากแหล่งเดียวได้ในทุกๆที่และทุกๆเวลาและในแบบเรียลไทม์อีกด้วย
2. ปรับเปลี่ยนตามสไตล์ส่วนตัว รูปแบบการบริการต่างๆ จะต้องสามารถดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์หรือฟังค์ชั่นต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้นั้นๆได้มากยิ่งขึ้น
3. ช่วยการใช้ชีวิตแบบออฟไลน์ ผู้บริโภคต้องการที่จะเห็นเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปรับสมดุลหรือบาลานซ์ระหว่างสภาวะ Always-On กับ การ ออฟไลน์ ใน แอพพลิเคชั่นและบริการต่างๆของพวกเขาอย่างเป็นระบบและเหมาะสมเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาสำหรับการหยุดพัก พักผ่อน หรือ จัดเวลาส่วนตัว ในการใช้ชีวิตส่วนตัวหรือทำกิจกรรมต่างๆได้
4. ช่วยการใช้เวลาในแต่ละวัน ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น เป็นรูปแบบการบริการที่สามารถบริหารจัดการและประสานงานกับตารางเวลาการทำงานและกิจกรรมส่วนตัวในแต่ละวันต่างๆ
5. เสริมสร้างความใกล้ชิดกับเพื่อนและคนในครอบครัว ในชีวิตที่มีความยุ่งยาก ผู้บริโภคต่างต้องการให้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงและใกล้ชิดกับเพื่อนๆและคนในครอบครัวของพวกเขาได้มากยิ่งขึ้นและตลอดเวลาในทุกๆสถานที่อีกด้วย
6. อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ ผู้บริโภคต้องการที่จะสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ การใช้ปริมาณดาต้า และข้อมูลอัพเดท ในแบบเรียลไทม์อีกด้วย
7. สอดคล้องกับโลเคชั่นในขณะนั้น ผู้บริโภคต้องการที่เห็นการใช้ประโยชน์จากตำแหน่งโลเคชั่นหรือสถานที่ๆพวกเขาอยู่ในขณะนั้นเพีอเพิ่มประสิทธิภาพของบริการการหรือข้อมูลต่างๆนั้น
นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า อีริคสันได้สำรวจแนวคิดของการบริการรูปแบบใหม่นี้ด้วยการทำโฟกัสกรุ๊ป (focus group study) โดยเราได้เห็นลักษณะร่วมของบริการรูปแบบใหม่ๆที่ผู้บริโภคต่างคาดหวังคือ
- รูปแบบการบริการต้องเรียบง่ายสะดวกต่อการใช้งาน และสามารถหลอมรวมและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างแนบเนียน
- การบริการต้องมีการออกแบบการใช้งานได้แบบเรียลไทม์ ตามเวลาและสถานที่ของผู้บริโภค
- ผู้บริโภคต่างต้องการที่จะเห็นการพัฒนาบริการในรูปแบบใหม่ๆที่สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาอย่างต่อเนื้อง
และที่น่าสนใจก็คือ ผู้ใช้งานในโฟกัสกรุ๊ปนั้นมีการใช้งานอินเทอร์เนตมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน แต่ความประสงค์ในการจ่ายค่าบริการต่างๆ(willingness to pay) นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ
นาย บัญญัติ เกิดนิยม กล่าวเสริมอีกว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงให้เห็นถึงความสนใจในเรื่องของการแชร์การใช้ดาต้าระหว่างเลขหมาย เพื่อน หรือครอบครัว นอกจากนี้ 59 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องการระบ smart subscription ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถที่จะตรวจสอบสถานะและการใช้งานการใช้จ่ายของพวกเขาได้แบบเรียลไทม์ (real time) และ 54 เปอร์เซ็นต์ ก็สนใจในบริการที่ช่วยการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล (personal financial service)
ท้ายนี้ รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการเชื่อมต่อหรือเข้าถึงเครือข่ายต่างๆได้ในทุกๆสถานที่นั้นได้กลายเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคยอมรับและใช้บริการในรูปแบบใหม่ๆในอนาคต และปัจจัยต่อมานั่นจะเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการช้อปปิ้ง โดยรวมถึงการชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ และการบริหารจัดการด้านการเงินส่วนบุคคล (personal financial management)