‘ไฟเซอร์’ เผยเคล็ดลับกระชับสัมพันธ์รักอย่างมั่นใจ รับเทศกาลวันแห่งความรัก เตือนใช้ยาปลอม/ยาไม่รู้แหล่งผลิต อาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ

ข่าวทั่วไป Wednesday February 12, 2014 17:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ก.พ.--บางกอก พับบลิค รีเลชั่นส์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ “อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ” สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งสุขภาพจิต สุขภาพกาย และความสัมพันธ์กับคู่ครอง/คนรัก - ผลสำรวจในปี 2553 พบ 4 ใน 5 ของชายและหญิงในเอเชีย ให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ” ของสัมผัสแห่งรัก มากกว่า “ปริมาณ”* - ผู้ชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพฯ ควรตระหนัก และรีบไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอาจเป็นอาการแสดงของ 5 โรคร้ายแรง - เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ และโรคซึมเศร้า** - แพทย์เตือนใช้ ‘ยาปลอม’ ทำให้รักษาอาการไม่ได้ผล เสียเงิน เสียเวลา และอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิต เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมยาคุณภาพของไทยและของโลก โดย นพ. จิตรการ มิติสุบิน ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ ศ.นพ. สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมเผยเคล็ดลับจุดประกายไฟรักให้ชีวิตคู่ กระชับสัมพันธ์รักอย่างมั่นใจ ต้อนรับเทศกาลวันแห่งความรัก เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ พร้อมแนะแนวทางการพัฒนาระดับ การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย รวมถึงเคล็ดลับสานสัมพันธ์รักอย่างสุขสมในเทศกาลแห่งความรัก ผู้เชี่ยวชาญแนะ ผู้ชายสามารถประเมินระดับการแข็งตัวของอวัยวะเพศตนเองได้ง่ายๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 เกรด ซึ่งเป้าหมายที่ผู้ชายควรมีคือเกรด 4 นับเป็นเกรดที่บ่งบอกสุขภาพทางเพศที่ดีที่สุด ศ.นพ. สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวว่า “ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ถือเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการแสดงความรักและความโรแมนติกต่อคู่รัก ผู้ชายที่มีอาการอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวและ/หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างสุขสม ควรทราบว่าตนเองกำลังมี ‘อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ’ (Erectile Dysfunction หรือ อีดี) อาการอีดีเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายสูงอายุและวัยหนุ่ม รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเรื้อรัง เทศกาลวันแห่งความรัก อาจเพิ่มความเครียดแทนที่จะเป็นความสุขสำหรับชายที่มีอาการอีดี การร่วมรักเป็นเสมือนการทดสอบความแข็งแกร่งของความเป็นชาย เมื่อการแข็งตัวของตนไม่ดีพอ ก็อาจทำให้เสียความมั่นใจ เครียดสะสม เพราะรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว กลัวหรือถึงขั้นหมดอารมณ์ความรู้สึกที่อยากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก ทำให้คู่ครองหรือคนรักรู้สึกไม่ได้รับความรัก ความสนใจ ห่างเหิน และถูกทอดทิ้งได้ ซึ่งบ่อยครั้งทำให้ชีวิตคู่มีปัญหาหรือบานปลายถึงขั้นเลิกราก็มี จึงควรสังเกตตนเอง ยอมรับความจริง และรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา ซึ่งได้ผลดีกว่าทิ้งอาการไว้เนิ่นนาน” ศ.นพ. สมบุญ กล่าวว่า “อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอาการที่ไม่ควรละเลย เพราะอาการอีดี ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็น 5 โรคร้ายแรง อาทิ หลอดเลือดหัวใจ ไขมัน เส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคซึมเศร้า ดังนั้นเมื่อพบว่าตนเองหรือคนรักมีอาการอีดี จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง” ศ.นพ. สมบุญ อธิบายว่า “ระดับการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย (Erection Hardness Score / EHS) แบ่งออกเป็น 4 เกรด คือ เกรด 1 (อีดีระดับรุนแรง) ตื่นตัวแต่ไม่แข็งตัว เกรด 2 (อีดีระดับกลาง) แข็งตัวบ้าง แต่ไม่พอที่จะสอดใส่ได้ เกรด 3 (อีดีระดับต้น) แข็งตัวไม่เต็มที่ แต่สอดใส่ได้ เกรด 4 (ปลอดจากอีดี) แข็งตัวเต็มที่ เมื่อร่วมรักจะทำให้ทั้งตนเองและคนรักสุขสมถึงฝั่งฝันได้ ซึ่งคือเป้าหมายของการรักษาอาการอีดี” ทั้งนี้ อาการอีดีส่วนใหญ่มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่เส้นเลือดส่วนที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศชาย (ซึ่งมีขนาดเล็กมากเพียง 1 ใน 10 ของหลอดเลือดหัวใจ) เกิดการตีบตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงและขยายตัวได้ ส่งผลให้องคชาตไม่สามารถแข็งตัวได้เต็มที่ การรักษาเบื้องต้นจึงควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่รับประทานอาหารมันจัด หวานจัด หรือเค็มจัด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักปล่อยวาง ไม่เครียด โดยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นพ. จิตรการ กล่าวว่า “จากการสำรวจ* พบว่า 4 ใน 5 ของชายและหญิงในภูมิภาคเอเชีย (จำนวน 3,282 คน ใน 10 ประเทศ อายุระหว่าง 31-74 ปี) ให้ความสำคัญกับ ‘คุณภาพ’ มากกว่า ‘ปริมาณ’ หากเป็น เรื่องการร่วมรักอย่างสุขสมแบบในอุดมคติ ทั้งนี้ กลุ่มสำรวจกล่าวว่าระดับการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย คือ ตัวแปรสำคัญของคุณภาพของการมีเพศสัมพันธ์ โดยชายที่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศเต็มที่ (เกรด 4) จะมี ความภาคภูมิใจในตนเองสูงกว่า และเจ็บป่วยเรื้อรังน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีอวัยวะเพศที่แข็งตัวไม่เต็มที่ (ผู้ที่มีอาการอีดี หรือการแข็งตัวระดับเกรด 1-3) ในเอเชีย อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังไม่ได้รับการตระหนักเท่าที่ควร ประกอบกับวัฒนธรรมเอเชียที่มองว่าเรื่องปัญหาทางเพศเป็นเรื่องน่าอาย ส่งผลให้ผู้ชายเอเชียเก็บงำปัญหาอีดีไว้คนเดียว และหาทางแก้ด้วยตนเองด้วยวิธีผิดๆ เช่น การหาข้อมูลหรือสั่งซื้อยาทางอินเตอร์เน็ตมารับประทานเอง โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ จึงเสี่ยงที่จะได้รับ ‘ยาปลอม’ ซึ่งนอกจากจะรักษาไม่ได้ผล ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต ที่มา: *The Ideal Sex in Asia Survey 2010 **Ian Eardley. Pathophysiology of erectile dysfunction. British Journal of Diabetes & Vascular Disease 2002 2: 272. http://dvd.sagepub.com/content/2/4/272
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ