โซเอทิส เปิดตัววัคซีนชนิดใหม่สำหรับสุกรสู้โรคพีอาร์อาร์เอส ในประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Wednesday February 19, 2014 12:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--สปาร์ค โซเอทิส อิงค์ บริษัทผู้นำด้านเวชภัณฑ์สัตว์ในประเทศไทย เปิดตัววัคซีนชนิดใหม่ที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศไทย โดยวัคซีนดังกล่าวเป็นนวัตกรรมระดับสูงที่สามารถช่วยลดต้นทุนในการรักษาโรคพีอาร์อาร์เอส (porcine reproductive and respiratory syndrome respiratory disease (PRRS)) โรคระบาดที่เกี่ยวกับการเจริญพันธ์และระบบหายใจของสุกร น.สพ. อาคม ชีวะเกรียงไกร กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทโซเอทิส อิงค์ กล่าวว่า “โรคพีอาร์อาร์เอส เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในสุกรในประเทศไทย นวัตตกรรมใหม่นี้จะช่วยสุกรที่กำลังเจริญพันธุ์สร้างน้ำหนัก นอกจากนี้ โซเอทิส ยังได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเพื่อช่วยให้มีการจัดการกลุ่มสุกรที่ดีขึ้น” จากข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ (FAO) อุตสาหรรมการผลิตสุกรในประเทศจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย มีความผิดปกติทางด้านสายพันธุ์โรคพีอาร์อาร์เอสชนิดรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ความสูญเสียทางธุรกิจอย่างเห็นได้ชัดในเกษตรกรผู้ผลิตสุกร ประกอบด้วยอัตราโดยรวมของการเสียชีวิตของสุกรโดยรวมประมาณ 20% จากการเกิดใหม่ของสายพันธุ์ชนิดรุนแรงนี้ สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหนาแน่นของสุกรมากที่สุดในโลก โรคดังกล่าวยังคงสร้างความกังวลทางเศรษฐกิจสังคมที่เพิ่มสูงขึ้น “สุขภาพของสัตว์ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับนวัตกรรมใหม่ที่ค้นพบในวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีนสำหรับกลุ่มปศุสัตว์ ซึ่งเราได้แบ่งปันเทคโนโลยีและความรู้ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับตลาดภายในประเทศรวมไปถึงภาคการส่งออกด้วยเช่นกัน” น.สพ. อาคม กล่าวเสริม ปัจจุบัน โซเอทิส ดำเนินธุรกิจในกว่า 13 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเกษตรกรชาวไทยและมีประสบการณ์มากมายในด้านวัคซีนสำหรับปศุสัตว์ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียของ โซเอทิส โดยโซเอทิสได้ดำเนินธุรกิจ ค้นคว้าและวิจัย และการตรวจวินิจฉัยภายในประเทศ รวมทั้งได้ตั้งสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ