กรุงเทพ--29 พ.ค.--สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
สวรส.ห่างเกษตรกรรับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสะสมในร่างกาย พบอ.บ้างโฮ่ง จ.ลำพูน เพียง 6 เดือนมีผู้ได้รับพิษถึง 876 ราย ชี้เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สสจ.ลำพูนรุกวิจัยแก้ปัญหา
นายคำรณ ณ ลำพูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในฐานะ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ว่า จากการรายงานผลการวิจัยการแก้ป้ญหาการใช้สารเคมีในการเกษตร อ.บ้างโฮ่ง จ.ลำพูน ระยะที่ 1 สำนักงานสาธารณสุข จ.ลำพูน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวรส. พบว่า สถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่รพ.บ้างโอ่ง จ.ลำพูน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2538 มีผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีสูงถึง 876 ราย โดยผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศรีษะ 158 ราย อาเจียน 174 ราย แพ้ 234 ราย ผิวหนังอักเสพ 266 ราย บวม 9 ราย และฆ่าตัวตาย 35 ราย ซึ่งถือว่าเป็นอัตรายป่วยที่สูงมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่ปลูกหอมแดง ทั้งนี้จากการศึกษาอ.บ้านโฮ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่สำคัญของจังหวัดลำพูน มีผลผลิตที่สำคัญ คือ หอมแดง กล่ำปลี สามารถส่งขายได้ตลอทั้งปี จึงทำให้มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับสูง
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรได้รับสารพิษนั้น จากการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจำนวน 400 ราย พบว่าในกลุ่มผู้พ่นสารเคมีมักมีความเชื่อในการใช้สารเคมีไปในทางที่ผิด คือ มักใช้สารเคมีบ่อยครั้งเพื่อป้องกันการดื้อยา ถึง 51% การผสมสารเคมี หลายชนิดเพราะเชื่อว่าทำให้ได้ผลดี 46% นอกจากนี้จากการสอบถามเกี่ยวกับปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีพบว่า ไม่มีการศึกษาหาความรู้เรื่องสารเคมีเลยและนาน ๆ ครั้ง 34% และ 44% ตามลำดับ การสวมถุงมือขณะปลูกหอมแดงพบว่า ไม่สวมเลยและสวมอย่างอื่นเช่น ถุงมือผ้า 20% และ 33%
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติตนของเกษตรกร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเป็นสาเหตุของการแพ้พิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เกิดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ ทำให้สูญเสียเงินเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล สูญเสียเวลาเนื่องจากการเจ็บป่วยจึงทำให้ขาดหรือหยุดงานหรือมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง เป็นผลเสียต่อครอบครัว ดังนี้นจึงควรให้การศึกษาอย่างถูกต้องต่อกลุ่มเกษตรกร โดยเน้นวิธีการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรรู้จักคิด วิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดการแพ้พิษจากสารเคมี และพร้อมที่จะดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเกษตรกรเอง
อนึ่งการดำเนินงานวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขจ.ลำพูนดังกล่าว เป็นงานวิจัยระดับพื้นที่ ซึ่งถือเป็นภารกิจกับความสนใจในการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยใช้บุคลากรและทรัพยากร ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อไป นายคำรณกล่าว--จบ--