กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ปี 2กนอ. ชู 91 โรงงาน พื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ รับธงธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ประจำ556ตามโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยกระดับการบริหารจัดการโรงงานตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
กนอ. เข้มการประเมินธงขาวดาวเขียว ตามมาตรฐานการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ชูผู้ประกอบการกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 91 โรงงานรับมอบธงขาวดาวเขียว กระตุ้นให้ผู้ประกอบการยึดแนวทาง “ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ นั้น ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550-2556 เป็นการส่งเสริมให้ภาคประชาชนในพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยมี คณะกรรมการตรวจเยี่ยมฯ ที่มาจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ กนอ. หน่วยงานราชการ ส่วนท้องถิ่น และชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม เข้าตรวจและประเมินโรงงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 ครั้ง/ปี ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมิน 12 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการน้ำ กากของเสีย อากาศ การตรวจสอบการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) การตรวจสอบการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) การตรวจสอบการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Compound: VOCs) สภาพความปลอดภัยในพื้นที่การทำงาน การจัดการอุบัติเหตุ/อุบัติภัยและข้อร้องเรียน การจัดพื้นที่สีเขียว การสนับสนุนส่งเสริมและมีส่วนร่วมกับภาคสังคม การจราจรขนส่ง และความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โดยในปี 2556 มีโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ผ่านเกณฑ์ได้รับรางวัลธงขาวดาวเขียว จำนวน 91 ราย ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำนวน 41 ราย นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก จำนวน 25 ราย นิคมอุตสาหกรรมผาแดง จำนวน 4 ราย นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จำนวน 8 ราย นิคมอุตสาหกรรม อาร์ ไอ แอล จำนวน 6 ราย และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จำนวน 7 ราย และนอกจากนี้ กนอ. ได้มอบรางวัลธงธรรมาภิบาลยอดเยี่ยม (ธงขาวดาวทอง) ให้แก่ โรงงานที่ผ่านเกณฑ์ต่อเนื่องกัน 7 ปี (ระหว่างปี 2550-2556) จำนวน 17 โรงงาน และโรงงานที่ผ่านเกณฑ์ต่อเนื่องกัน 6 ปี (ระหว่างปี 2551-2556) จำนวน 8 โรงงาน เพิ่มเติมด้วย
โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม นับเป็นเครื่องมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการฯ จากภาคส่วนต่าง ๆ กำหนด โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการบริหารจัดการโรงงานให้มีการเปิดเผยข้อมูล โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สังคม และชุมชน ต่อการประกอบกิจการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีความอย่างยั่งยืน “ดร.วีรพงศ์ กล่าว”