กรุงเทพฯ--5 มี.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2557 มีจำนวน 5,466,046.61 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.75 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,838,401.41 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,090,350.99 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 536,459.52 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 834.69 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 16,270.83 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 11,331.06 ล้านบาท และ 5,383.15 ล้านบาท ตามลำดับ และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลง 443.38 ล้านบาท หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2557
1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,331.06 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,050.20 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 394.22 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 655.98 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกัน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 280.86 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
- การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 20,146.50 ล้านบาท
- การลดลงของตั๋วเงินคลังสุทธิ 20,000 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ 1,000 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเงินกู้ DPL 370 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 876.37 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้า (สายสีน้ำเงิน จำนวน 737.10 ล้านบาท และสายสีเขียว จำนวน 139.27 ล้านบาท)
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 392.99 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 51.49 ล้านบาท และเพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง 341.50 ล้านบาท
- การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 2,505 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 10,000 ล้านบาท เนื่องจากการออกพันธบัตรเพื่อไปคืนเงินทดรองจ่ายที่ยืมจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3)
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,521.98 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,615.31 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปหนี้เงินบาทลดลงสุทธิ 93.33 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 1,069.17 ล้านบาท เนื่องจาก
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 2,300 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,230.83 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 340 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,570.83 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 3,999.68 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นที่สำคัญเกิดจากการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นที่สำคัญของหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) เกิดจากการกู้เงินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดซื้อเครื่องบิน Boeing 777 จำนวน 108.21 ล้านยูโร หรือคิดเป็น 4,845.06 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 1,207.68 ล้านบาท เนื่องจาก
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 125 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ 720 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 362.68 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 651.46 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,014.14 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 75.88 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 2.27 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 78.15 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน367.50 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,466,046.61 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 375,714.85 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.87 และหนี้ในประเทศ 5,090,331.76 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.13 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 5,366,068.89 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.17 และหนี้ระยะสั้น 99,977.72 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.83 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512,5522