TCELS โต้โผจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระดับนานาชาติ บ่มเพาะบุคลากรด้านชีววิทยาศาสตร์นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ออกสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวทั่วไป Friday March 7, 2014 09:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 มี.ค.--TCELS TCELS โต้โผจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระดับนานาชาติ บ่มเพาะบุคลากรด้านชีววิทยาศาสตร์นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ออกสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักสากล เปิดตัวปลายปี ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS ในฐานะ ประธานร่วมเอเปคฝ่ายรัฐบาลจากประเทศไทย พร้อมด้วย ดร.สุมล ปวิตรานนท์ ผู้จัดการโครงการพิเศษจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด TCELS เข้าร่วมประชุม APEC Life Sciences Innovation Forum Planning Group (LSIP PG) Meeting ที่นครหนิงโป ประเทศจีน โดยการประชุมครั้งนี้ Dr.Ryan C. MacFarlane , Principal APEC Coordinator ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น LSIF Planning Group Chair ด้วย ทั้งนี้ในที่ประชุม มีการรายงานผลสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวมของ LSIF เมื่อปีที่ผ่านมา รวมทั้งทบทวนและรับรองปฏิทินประจำปีของการประชุม APEC และ LSIF การรายงานผลการดำเนินงานของ LSIF Research & Development Steering Committee (RDSC) และ LSIF Regulatory Harmonization Steering Committee (RHSC) รวมทั้งสรุปรายละเอียดโครงการใหม่หลายโครงการที่ได้นำเสนอเพื่อให้ที่ประชุม Planning Group รับรอง นอกจากนี้ยังมีการทบทวนการจัดลำดับความสำคัญด้าน Health Services และ Health Innovation สำหรับปี 2014 เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเสนอต่อที่ประชุม Committee of Trade and Investment (CTI) ต่อไป โดยในครั้งนี้ TCELS ได้หารือร่วมกับ Korean Health Industry Development Institute (KHIDI) ของประเทศเกาหลี เสนอต่อที่ประชุม LSIF PG ในการร่วมกันจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม APEC-AUTM Bio Medical Technology Commercialization Training Center โดยเป็นความคิดริเริ่มความร่วมมือแบบ PPP –Public-Private-Partnership ระหว่างไทย เกาหลี และ AUTM (Association of University Technology Managers) ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้รับการรับรองจากที่ประชุม LSIF PG แล้ว และจะนำเสนอต่อ AUTM เพื่อจัดทำรายละเอียดต่อไป ผอ.TCELS กล่าว ดร.นเรศ กล่าวว่า สำหรับศูนย์ฝึกอบรมฯ เป็นเสมือนศูนย์บ่มเพาะบุคลากรที่จะมาบริหารจัดการให้นวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ออกสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักสากล โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายระหว่างประเทศรวมถึงเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่าศูนย์ดังกล่าวจะสามารถเปิดตัวอย่างเป็นทางการราวเดือนพฤศจิกายนที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี และจัดให้มีการฝึกอบรมในคราวเดียวกัน โดยผู้เข้าร่วมจะมาจากเขตเศรษฐกิจเอเปคซึ่งเป็นระดับผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำไปถ่ายทอดให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Train-The trainer โดยได้รับการสนับสนุนหลักสูตรจาก AUTM ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านการฝึกอบรมในระดับโลก ผอ.TCELS กล่าวด้วยว่า สำหรับการประชุม APEC LSIF นั้น TCELS ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 เพื่อผลักดันให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมที่สำคัญของทุกภาคส่วน ให้เกิดเป็นเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำไปสู่การการพัฒนานวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ เกิดการลงทุน เพื่อสู่ความเป็นอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ที่เต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจด้านนี้ ธุรกิจที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับมนุษยชาติ และในฐานะที่ประธานร่วมเอเปคฝ่ายรัฐบาลจากประเทศไทย มองว่าเป็นโอกาสอันดีที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มที่มีอิทธิพลในการกำหนดบทบาทของAPEC LSIF ต่อไปข้างหน้า เพื่อรักษาอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลกและสร้างแนวร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของไทยต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ