กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--มายด์ พีอาร์
เอ็นฟอร์ซ ก้าวสู่ปีที่ 9 ประกาศสร้างภาพลักษณ์ใหม่ เตรียมพร้อมรับการเติบโตของธุรกิจ และเออีซีในปี 2558 ภายใต้ชื่อ “เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว” ด้วยโลโก้สีเขียว และแท็กไลน์ใหม่ ตอกย้ำความน่าเชื่อถือและความไว้วางของลูกค้า พาร์ทเนอร์ และคู่ค้า พร้อมมุ่งการพัฒนาบุคคลากรในองค์กรและการให้บริการเทียบชั้นมาตรฐานโลก ตั้งเป้ายอดขายปี 2557 โต 20 เปอร์เซ็นต์
นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจรในประเทศไทย เปิดเผยว่า “เนื่องในโอกาสที่เอ็นฟอร์ซฯ ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 9 ในปี 2557 บริษัทฯ สร้างภาพลักษณ์องค์กรใหม่ รองรับการขยายธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึง ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัท และโลโก้ รวมถึงแท็กไลน์ใหม่ ภายใต้ชื่อ “บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด” เพื่อง่ายต่อการจดจำ ด้วยโลโก้สีเขียวดูสดใส แสดงถึงความเป็นมิตร เนื่องจากเราจะมีการเปิดตลาดรับเออีซีในส่วนของแท็กไลน์ “Trusted and Reliable” เป็นการตอกย้ำความน่าเชื่อถือและความไว้ของลูกค้า พาร์ทเนอร์ และคู่ค้า ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรในองค์กรและการให้บริการเทียบชั้นมาตรฐานโลก นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแผนขยายตัวไปทางภูมิภาคต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดสาขาแรกที่จังหวัดขอนแก่นภายในปีนี้”
สำหรับในปี 2557 บริษัทฯ เน้นกลยุทธ์การทำตลาดกับพาร์ทเนอร์ในรูปแบบแนวดิ่ง (Vertical) อย่างต่อเนื่อง เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าธนาคาร เซอร์วิส โพรวายเดอร์ และสถาบันการศึกษา ซึ่งการขายผลิตภัณฑ์ไอที ซีเคียวริตี้ต้องใช้ความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก โดยเอ็นฟอร์ซฯ ได้เข้าไปสนับสนุนการทำงาน สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กับพาร์ทเนอร์ ด้วยการคัดสรรผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจและตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างลงตัว นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะและประสิทธิภาพของพาร์ทเนอร์ให้สามารถตอบสนองหรือช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนจัดกิจกรรมทางการตลาดและส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งเป้ายอดขายปี 2557 ด้วยอัตราการเติบโตไว้ที่ 20 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาวิศวกรระบบของพาร์ทเนอร์ให้ได้การรับรองใบประกาศนียบัตรทางด้าน Next-Gen Firewall จากการทดสอบในการเข้าถึงระบบ (Penetration Test) ประมาณ 20 คน รองรับการเติบโตของไอที ซีเคียวริตี้ในปีนี้ เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ด้าน Next-Gen Firewall เป็นอุปกรณ์ที่ยังใหม่สำหรับตลาดเมืองไทย และกำลังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้บริษัทฯ เตรียมเปิดบริการให้เช่าใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับบริษัทต่างๆ ทีไม่ต้องการลงทุนซื้ออุปกรณ์ไอทีเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายงบลงทุน (Capital Expenditure: CAPEX) ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (Operating Expenditure: OPEX) เช่น ถ้าต้องการทำห้องเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนหลายล้านบาท เมื่อเทียบกับการใช้บริการของผู้ให้บริการ Data center ในราคาค่าเช่าต่อเดือนในระดับหมื่นบาท ทำให้ประหยัดเงินได้เป็นจำนวนมาก
ส่วนในปี 2556 ที่ผ่านมานั้น ธุรกิจของเอ็นฟอร์ซฯ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีผลกระทบทางการเมืองและภาครัฐมีการชลอการลงทุน แต่ยังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าภาคเอกชนให้เข้าไปดูแลและรับผิดชอบโครงการใหญ่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ มียอดขาย 15 เปอร์เซ็นต์ จากส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจ ไอที ซีเคียวริตี้
นอกจากนี้นายนักรบ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวโน้มเทคโนโลยีไอที ซีเคียวริตี้ที่มาแรงในปี 2557 ที่น่าจับ ตามองนั้น คือ
Cloud Security and Personal Cloud Security จากแนวโน้มการใช้งานคลาวด์มีมากขึ้น บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์พยากรณ์ว่า การใช้งานของแต่ะละบุคคลจะมีอัตราสูงขึ้น มีทั้งคลาวด์ส่วนบุคคล(Personal Cloud) ชนิดบริการจากภายนอก เช่น Dropbox, Box, iCloud, Google Drive, SkyDrive ฯลฯ และชนิดที่ใช้อุปกรณ์ (Appliances) ของตนเอง ซึ่งบางคนจะหาซื้อเครื่อง Personal Cloud เพื่อใช้เองได้ มีหลากหลายยี่ห้อ เช่น My Book Live ของ Western Digital, Seagate Central, Lenovo และEMC ฯลฯ ดังนั้นการเพิ่มความมั่นใจต่อผู้ใช้งาน ในการรักษาความปลอดภัยทั้งคลาวด์สาธารณะ และคลาวด์ส่วนบุคคลจึงสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับ Personal Cloud คือ สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ได้ทุกเครื่อง โดยไม่ยึดติดกับตัวอุปกรณ์เดิมอีกต่อไป เพิ่มความล่องตัวต่อการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา เชื่อมต่อการเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ด้วยบริการ Personal Cloud นอกจากนี้ ข้อมูลที่เก็บอยู่กับคลาวด์ส่วนบุคคลยังแชร์ร่วมกับผู้อื่นได้ หลังจากได้รับอนุมัติจากเจ้าของแล้ว เพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกันเป็นอย่างมาก
Application Security จากกระแสที่พนักงานในหลายองค์กรต่างพกอุปกรณ์ส่วนตัวต่างๆ มาที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแล็บท็อป ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีการใช้งาน Application บน Apps store จำนวนมาก จึงจำเป็นที่ต้องมีการเพิ่มความปลอดภัยบนแอพพลิเคชั่นเหล่านี้
Advanced Malware Protection มัลแวร์ได้กลายเป็นการโจมตีที่ลุกลามอย่างรวดเร็วและการบุกรุกที่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าจะลดลง เครือข่าย เดสก์ท็อป แล็ปท็อป สภาพแวดล้อมเสมือน และอุปกรณ์พกพาล้วนเป็นเป้าหมายของการโจมตี ถึงแม้ว่าจะติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ล่าสุดพร้อมการปรับปรุงล่าสุดแล้ว แต่ก็ยังเกิดการติดเชื้ออยู่ ความท้าทายก็คือ การป้องกันมัลแวร์ได้กลายเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เนื่องจากการระบาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจึงต้องสามารถลดผลกระทบของการโจมตีและป้องกันการโจมตีในอนาคตได้ การป้องกันมัลแวร์ขั้นสูงจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยต้องเป็นระบบอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ที่สามารถควบคุมการระบาดและชิงโจมตีก่อนได้
PCI DSS Compliances PCI DSS นั้น ย่อมาจาก “Payment Card Industry Data Security Standard” ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ที่มีการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต สามารถป้องกันการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการควบคุมข้อมูล และช่องโหว่ต่างๆ ของระบบ และยังถูกนำไปใช้กับทุกๆ องค์กร ที่เก็บรักษา ประมวลผล หรือรับส่งข้อมูลของผู้ถือบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นบัตรของค่ายใดก็ตาม