ตลาดหลักทรัพย์แถลงผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนปี 2541

ข่าวทั่วไป Thursday July 30, 1998 15:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--30 ก.ค.--กลต.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แถลงถึงภาระการซื้อขายหลักทรัพย์และ
ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) ปี 2541 สรุปได้ดังนี้
ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
1998 1997
JAN JAN-JUN
Corporate Securities
Total Turnovr- Volume (Mil.Shares) 21,870.38 13,995.61
- Value (Mil.Baht) 361,985.08 479,636.14
Daity Average
Turnover Value (Mil.Baht) 2,991.61 3,963.94
Newly Listed companies 1 3
Delisted Companies 4 2
Number of Listed Companies 428 455
Total Capitalization
-Par Value (Mil.Baht) 638,044.28 618,920.59
-Market Value (Mil.Baht) 924,222.95 1,614,919.75
Market Statistics
SET Index 267.33 527.28
SET 50 Index 17.84 38.20
Market Divided Yield (%) 2.50 4.75
Market P/E Ratio 10.72 8.57
Capital Mobilized by
Listed Companies (Mil.Baht) 24,965.72 15,925.27
ผลการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ได้ตระหนักและเข้าใจถึงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่
องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจหลักทรัพย์เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ในปี 2541 จึง
ได้มีการกำหนดแผนงานของตลาดหลักทรัพย์เป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มแผนงานเพื่อ
ตอบรับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic-Crisis Responding Plan)
โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องใน
ธุรกิจหลักทรัพย์ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นมาตรการด้าน
การรักษาและขยายรายได้การลดต้นทุน และการปรับระบบงานให้เหมาะสม และ
กลุ่มแผนงานเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง (On-going Developrnent Plan) โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบและการปฏิบัติงานของตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทยและการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม ซึ่งในระยะ 6 เดือนที่
ผ่านมาสรุปผลการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ตามแผนงานดังกล่าวมีรายละเอียด
ดังนี้
1. แผนงานเพื่อตอบรับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ (Economic-Crisis Reponding Plan)
- การสร้างอุปสงค์ที่เพียงพอต่อการลงทุน (Sufficient Volume)
โดยการเพิ่มปริมาณและยกระดับคุณภาพสินค้าของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขยายผล
ประโยชน์และเพิ่มความสะดวกในการลงทุนให้กับนักลงทุน
1. ศึกษาและเสนอแนะในหลักการ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ
ก.ล.ต. ให้มีการจัดตั้งตลาดซื้อขายสำหรับหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดกลางและขนาด
เล็ก (Small and Medium-Sized Enterprises (SME)) โดยให้มีเกณฑ์การ
รับหลักทรัพย์ที่ผ่อนคลายกว่าเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อ
ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถระดมทุนได้โดยตรงจากประชาชน
และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนในสินค้าที่หลากหลายและแตก
ต่างจากสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มปริมาณธุรกิจให้กับบริษัท
สมาชิกด้วย
2. อนุญาตให้มีการซื้อเพื่อสั่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน
(Stabilization) โดยกำหนดให้สมาชิกรายหนึ่งที่เป็นแกนนำหรือตัวแทนของผู้จัด
จำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) สามารถขออนุญาตซื้อหลักทรัพย์นั้นในตลาด
หลักทรัพย์ในจำนวนที่ได้จัดสรรเกินไว้เมื่อตอนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยมีจุด
ประสงค์ในการนำหุ้นจำนวนที่ซื้อนั้นไปส่งคืนแก่เจ้าของหลักทรัพย์ที่ให้บริษัทหลักทรัพย์
นั้นยืมไปส่งมอบหุ้นเพื่อการจัดสรรเกิน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศคณะ
กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เรื่องการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัด
จำหน่าย และเรื่องการให้สิทธิผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหุ้นภายหลังการจัดจำหน่าย
หุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน เพื่อเป็นการส่งเสริมการจำหน่ายหลักทรัพย์ในตลาด
แรก
3. ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Good
Corporate Governance) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีกระบวนการบริหารงาน
อย่างมืออาชีพ เป็นสากลและมีกระบวนการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจน
ระบบการรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการ
ดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลโดยได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ
ที่ดี โดยกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องจัดให้มี Audit Committee ภายในวันที่
31 ธันวาคม 2542 นอกจากนี้ บริษัทที่ยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 19
มกราคม 2541 เป็นต้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit
Committee) เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการของบริษัทด้วย
อนึ่งจนถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีบริษัทจดทะเบียนที่แต่งตั้งคณะ
กรรมการตรวจสอบแล้วจำนวน 31 บริษัท
การเพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุน (Cost Efficiency) เพื่อเป็นการ
ลดต้นทุนและการแบ่งปันต้นทุนดำเนินการให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง (Related
Mareket Participants)
1. เสนอแนวทางและวิธีการในการใช้ระบบบัญชีต้นทุนกิจกรรม เพื่อให้
บริษัทหลักทรัพย์ทราบต้นทุนที่แท้จริงในการประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลัก
ทรัพย์และสามารถกำหนดอัตราค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุนได้อย่างเหมาะสม
2. ให้บริการระบบซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลแก่ศูนย์ซื้อ
ขายหลักทรัพย์กรุงเทพ (BSDC) ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (BDC) และสมาชิก
ของศูนย์ซื้อขายฯ ทั้งสองแห่ง
3. ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ในการสำรวจ
ความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทสมาชิกและบริษัทจดทะเบียนในการรอง
รับปี ค.ศ. 2000 และจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เรื่องปัญหา Y2K และแนวทาง
ดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ บริษัทสมาชิก Sub-Broker บริษัทจัดการลงทุน
และบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งติดตามความคืบหน้าและให้คำแนะนำในการดำเนินการ
แก้ไขปัญหา Y2K ของบริษัทต่างๆ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ