กรุงเทพ--10 ก.ย.--ทางด่วนกรุงเทพ
บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL ผู้บริหารโครงการ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนบี เผยถึงเส้นทางและด่านที่เปิดให้บริการแล้วว่า บริษัทฯ ได้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนดเดิมที่วางไว้ เพื่อสนองตอบนโยบาย ของรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาจราจรของพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่ง ขณะนี้สามารถเปิดให้บริการแล้วคือ ด่านยมราช (จากช่วงแยกต่างระดับพญาไท-จุดขึ้น ลงด่านยมราช) ด่านสาธร (บนถนนสาธรใต้ ก่อนถึงสะพานสาธร) ด่านพระราม 3 (บนถนนพระราม 3 เชิงสะพานพระราม 9) ด่านจันทน์-ถนนพระราม 4 (บริเวณ แยกจารุเมือง-แยกมหานคร) แต่เนื่องจากด่านที่เปิดให้บริการนี้เป็นด่านและเส้นทาง ใหม่ ประชาชนผู้ใช้ทางยังคงสับสนและไม่เข้าใจในการใช้เส้นทาง ประกอบกับมี ประชาชนผู้ใช้ทางสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทางบริษัทฯ จึงได้แนะนำการใช้ทาง และการขึ้น-ลงทางด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เส้นทาง
นายสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการด่านต่าง ๆ นั้น มีรายละเอียดของเส้นทาง ดังนี้
ด่านยมราช อยู่บริเวณสะพานลอยยมราช ใกล้กับโรงภาพยนต์โคลีเซียม เดิม เป็นด่านที่รองรับรถที่จะมุ่งหน้าออกนอกเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่มาจากฝั่ง ธนฯ อาทิ จากถนนราชดำเนิน รวมถึงรถที่มาจากถนนพิษณุโลก ถนนสวรรคโลก ถนน หลานหลวง ถนนพระราม 6 เป็นหลัก รถที่มาจากเส้นทางดังกล่าวนี้เมื่อขึ้นที่ด่านยมราช สามารถไปลงที่คลองประปา ด่านกำแพงเพชร 1 และ 2 ด่านรัชดาฯ ด่านแจ้งวัฒนะ ได้ รวมทั้งสามารถไปบางนา และดาวคะนองได้อีกด้วย ทั้งยังสามารถตรงไปลงที่ ด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรืออาจจะวิ่งต่อเข้าแยกต่างระดับมักกะสัน ซึ่งเป็นจุดเชื่อม ต่อทางด่วน 1 เพื่อไปลงดินแดง สุขุมวิท พระราม 4 บางนา หรือแยกไปลงที่ด่าน ดาวคะนอง รวมทั้งผู้ที่มีจุดหมายปลายทางที่ถนนพระราม 9 หรืออโศก ก็สามารถ ไปลงได้เช่นเดียวกัน
และในทิศทางกลับกันนี้ ผู้ที่มาจากทางด่วนขั้นที่ 2 (จากแจ้งวัฒนะเข้ามา) รวมทั้งรถที่มาจากทางด่วนขั้นที่ 1 (ทั้งจากบางนา และดาวคะนอง) ก็สามารถวิ่งเข้า สู่ทางด่วน ขั้นที่ 2 ที่แยกต่างระดับพญาไท (โค้งโรงแรมเมอร์เคียว) เพื่อมาลงที่ ด่านยมราช ก็สามารถวิ่งเข้าสู่ถนนพิษณุโลก สวรรคโลก หลานหลวงได้ทันที ซึ่งจะ อำนวยความสะดวก และช่วยบรรเทาการจราจรที่ติดขัดบนถนนเพชรบุรี-ตัดใหม่ และ ถนนพระราม 6 รวมทั้งถนนในบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย
ด่านสาธร อยู่บนถนนสาธรใต้ ก่อนถึงสะพานสาธร จะช่วยระบายการ จราจรของรถที่มาจากถนนสาธร ถนนสีลม ถนนสุรศักดิ์ และถนนใกล้เคียงซึ่งเป็นถนน สายหลักย่านใจกลางเมืองและย่านธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรและ ช่วยอำนวยความสะดวกของผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องการเดินทางออกนอกเมือง โดยเมื่อขึ้น จากด่านสาธรแล้ว สามารถแยกไปลงถนนสาธุประดิษฐ์ และสามารถเข้าสู่ระบบทางด่วน ขั้นที่ 1 เพื่อไปยังท่าเรือคลองเตย บางนา ดินแดง แจ้งวัฒนะได้ และยังสามารถ แยกออกไปบางโคล่ (ถนนพระราม 3) หรือมุ่งหน้าเข้าสู่สะพานพระราม 9 เพื่อเดิน ทางไปยังถนนสุขสวัสดิ์ และดาวคะนองได้
ด่านพระราม 3 อยู่บนถนนพระราม 3 เชิงสะพานพระราม 9 สามารถลง ได้ที่ถนนจันทน์ และสามารถไปลงที่ถนนพระราม 4 ได้ (บริเวณแยกจารุเมือง/ แยกมหานคร) เลี้ยวซ้ายไปหัวลำโพง เยาวราช สำเพ็งได้ทันที ซึ่งด่านพระราม 3 จะช่วยรองรับรถที่มาจากสะพานพระราม 9 ขาเข้าจากทางด่วนขั้นที่ 1 หรือรถที่มา จากดาวคะนอง
ด่านจันทน์ - ถนนพระราม 4 อยู่ใกล้ถนนจารุเมือง จะช่วยรองรับรถที่มา จากถนนจันทน์ และถนนใกล้เคียง อาทิ ถนนเจริญกรุง ถนนพระราม 3 ถนนเลียบ แม่น้ำ เพื่อเดินทางมายังถนนพระราม 4 (บริเวณแยกจารุเมือง/แยกมหานคร) เลี้ยว ซ้ายไปหัวลำโพง เยาวราช สำเพ็งได้ นอกจากนี้ด่านจันทน์ยังช่วยระบายรถที่เดิน ทางมาจากดาวคะนอง สุขสวัสดิ์ สะพานพระราม 9 และถนนพระราม 3 ซึ่งปกติถ้าผู้ ที่ขับรถมาจากบริเวณดังกล่าวต้องเดินทางไปลงบริเวณทางต่างระดับท่าเรือ หรือด่าน พระราม 4 ซึ่งการเปิดให้บริการด่านจันทน์เพิ่มเติมในครั้งนี้ ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนใน บริเวณดังกล่าวสามารถมาลงที่ถนนพระราม 4 เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นทาง (เลี้ยวซ้ายไป หัวลำโพง เยาวราช สำเพ็งสะดวกรวดเร็วขึ้น)
ด่านจันทน์นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จะเดินทางมายังถนนพระราม 4 เพราะผู้ใช้บริการด่านจันทน์นั้น ไม่ต้องขับรถผ่านย่านจราจรที่ติดขัด อาทิ แยกถนน เจริญกรุง แยกถนนสาธร แยกถนนสีลม แยกถนนสุรวงศ์ แยกถนนสี่พระยา เป็นต้น ซึ่ง ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้เป็นอย่างมาก
นายสุพงศ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้จะมีการเปิดให้บริการทางด่วนเป็น ช่วง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาจราจรของชาวกรุงเทพได้ก่อนกำหนดนั้น ยังคง เก็บอัตราค่าผ่านทางเท่าเดิม คือ รถ 4 ล้อ ราคา 30 บาท รถ 6-10 ล้อ ราคา 50 บาท และรถเกิน 10 ล้อ ราคา 70 บาท นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เร่งรัดงานก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และคาดว่าสามารถเปิดใช้ได้ทั้งระบบในวันที่ 22 กันยายน 2539 นี้ และเมื่อเปิดใช้ทั้งระบบแล้วจะก่อให้เกิดทางด่านวงแหวนใจกลางกรุง สามารถเดินเข้า-ออกเมืองได้ทั้ง 2 ทิศทาง จะเดินทางไปไหนก็สะดวกสบาย และจะ สามารถช่วยบรรเทาการจราจรที่ติดขัด และบรรเทาปัญหาจุดตัดบนทางด่วนในบริเวณ ต่าง ๆ ได้ อาทิ บริเวณทางร่วมมักกะสัน และจุดตัดทางแยกต่างระดับคลองเตย ทางแยกต่างระดับท่าเรือ เป็นต้น เพราะประชาชนผู้ใช้ทางด่วนมีทางเลือกในการใช้ ทางด่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบเครือข่ายทางด่วนมีความคล่องตัวและมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีปณิธานและเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่น ในการช่วยบรรเทาปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานครร่วมกับรัฐบาล ยินดีและพร้อมให้ บริการที่ดีแก่ประชาชนผู้ใช้ทางด่วน
สอบถามรายบละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณ อัจฉรา เทวฤทธิ์ ผู้จัดการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณเบญจวรรณ พิกุลทอง ประชาสัมพันธ์ บริษัท คิธ แอนด์ คิน คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร. 6633226-9 โทรสาร 259-8943, 663-0647 --จบ--