ศึกษาระบบขนส่งมวลชนเสริมบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในแก้ปัญหามลพิษ

ข่าวทั่วไป Friday July 25, 1997 13:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--25 ก.ค.--สำนักงานเขตกรุงเทพ
นายบุญวัฒน์ ทิพทัส รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม.ได้เปิดเผยถึงโครงการระบบขนส่งมวลชนเสริมบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในว่า กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในมีปัญหาเรื่องรถทัวร์ซึ่งเข้าวันละประมาณ 400 คัน ไม่มีที่จอด รวมทั้งปัญหาเรื่องมลพิษ จึงได้มีโครงการศึกษาระบบขนส่งมวลชนเสริมที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยกทม.ได้เซ็นสัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อทำการศึกษาและทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนเสริมที่เหมาะสมที่สุดกับบริเวณนี้ อาทิ การวางเส้นทางเดินรถรางไฟฟ้าในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กำหนดจำนวนผู้โดยสาร หาปริมาณที่จอดรถแทน ความคุ้มทุน สภาพแวดล้อมการลดปัญหามลภาวะในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นต้น โดยกำหนดการศึกษา 180 วัน และทำประชาพิจารณ์ 30 วัน ทั้งนี้ในการทำประชาพิจารณ์ถ้าปรากฏว่าประชาชนไม่เห็นด้วยก็จะยุติโครงการ แต่ถ้าเห็นด้วยโครงดังกล่าวก็จะเดินหน้าโดยดำเนินการจัดหาผู้สนใจเดินรถฯ อย่างไรก็ดี การดำเนินการในช่วงแรก ผู้ว่ากทม.มีนโยบายจะทดลองเดินรถรางบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในก่อนเพื่อหาจำนวนผู้โดยสาร เส้นทางที่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาปัญหาต่าง ๆ สำหรับนำมาปรับระบบให้เหมะสมเมื่อระบบขนส่งมวลชนเสริมที่แท้จริงเข้ามาดำเนินการ โดยรถที่จะทดสอบวิ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีมลพิษต่ำสุด ประกอบในประเทศโดยให้จุฬาฯ เป็นผู้ศึกษา รูปแบบเหมือนรถราง ซึ่งคาดว่าจะทดลองวิ่งได้ในปี 41 สำหรับเส้นทางวิ่งที่จุฬาได้ศึกษาไว้มีให้เลือก 3 เส้นทางคือ
1. เส้นทางจากวัดสุทัศน์ ไปยังบริเวณพระบรมมหาราชวัง ผ่านท่าเตียน ท่าพระจันทร์ สนามหลวง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วนกลับมายังวัดสุทัศน์
2. ไปทางเจริงกรุง ผ่านวังสราญรมย์ วัดโพธิ์ ท่าเตียน ท่าพระจันทร์ วนกลับมาสนามหลวง
3. ไปทางสะพานพุทธ ผ่านโรงเรียนราชินี ท่าเตียน--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ