กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--เอเอสวี อินเตอร์ กรุ๊ป
ในช่วงเวลานี้ขอทุกปีก็จะเกิดสถานการณ์ไฟป่าเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ รองลงมาคือภาคอิสาน ส่งผลโดยตรงกับพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์สูญหายไป และส่งผลเรื่องของหมอกควันไฟ ซึ่งทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง
ไฟป่ามีหลายชนิดแรกเป็นไฟใต้ดิน เป็นพวกอินทรีย์ต่างๆ ที่ทับถมกัน เศษวัชพืชที่อยู่ใต้ดินเกิดเป็นไฟป่าขึ้น ประเภทนี้ลุกลามช้าแต่อำนาจทำลายสูงเพราะจะไปเผาทำลายรากของต้นไม้ ลักษณะไฟป่าแบบนี้เกิดขึ้นที่ภาคใต้ คือ ป่าพลุนั้นเอง ชนิดที่สอง ไฟป่าผิวดิน อำนาจการทำลายล้างเร็ว และรุนแรงมากเพราะว่าเกิดขึ้นบนผิวดิน เกิดจากเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมา รวมไปถึงวัชพืชที่ปกคลุมอยู่บริเวณผิวดิน แต่ว่าความรุนแรงของประเภทไฟป่าผิวดินนั้นอยู่กับความหนาแน่นของผืนป่าด้วย มาถึงประเภทสุดท้าย คือ ไฟเรือนยอด ไฟป่าประเภทนี้เกิดขึ้นตามยอดไม้และถือว่าเป็นไฟป่าที่ถือว่าลุกลามรุนแรง รวดเร็วที่สุด ยากต่อการควบคุมมากที่สุดด้วย
นอกจากชนิดของไฟป่าแล้ว ลักษณะของภูมิประเทศก็มีความสำคัญอย่างทางพื้นที่ทางอีสานเป็นที่ราบสูงเวลาเกิดไฟป่าก็จะสามารถดับและควบคุมได้ง่ายแต่ถ้าหากเป็นพื้นที่ทางภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นแอ่งกระทะ เวลาเกิดไฟป่าขึ้นจะควบคุมเพลิง ทำการดับเพลิงได้ยาก คือประเภทและลักษณะของไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไฟป่าที่เกิดขึ้นนั้น 99.99% เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ในนี้แตกประเด็นเราจะพาไปจังหวัดนครราชสีมา เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และมักจะเกิดปัญหาไฟป่า แต่ด้วยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงชาวบ้านในพื้นที่เขาจัดเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังซึ่งก็ป้องกันปัญหาไฟป่าได้เป็นอย่างดี
นายนพชัย กลิ่นสูงเนิน หัวหน้าหน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่านครราชสีมา กรมป่าไม้ เผยว่า ตนเหตุของการเกิดไฟป่า 99.99% เกิดจากมนุษย์ ถ้าเกิดในเรื่องของธรรมชาติจะเป็นกรณีของฟ้าผ่า ต้นไม้เสียดสีกันน้อยมากที่จะเกิด ส่วนมากโดยเจตนาโดยจุดของคน บางทีอาจจะไปเที่ยวป่าล่าสัตว์ เก็บหาของป่า ช่วงนี้อีสานจะเป็นเรื่องของน่าผักหวาน ความเข้าใจของเขาคือ จะต้องเอาไฟเผาเพื่อให้มันแตกยอด ขณะที่ประธานเครือข่ายความร่วมมือการควบคุมไฟป่าผ่านการอบรมให้ความรู้ต่างๆจากเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ยอมรับว่า เครือข่ายที่มีการจัดตั้งขึ้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการเกิดไฟป่าในระยะหลังไม่รุกลามจนเกิดความเสียหายมากเหมือนที่ผ่านมา เพราะชวนบ้านมีความรู้เบื้องต้น สามารถดับไฟได้เองก่อนจะแจ้งเจ้าหน้าที่
นายนิยม ตุนาค ประธานเครือข่ายความร่วมมือ เล่าว่า สมาชิกเครือข่ายให้ความร่วมมือในการเข้ามาดูแลเมื่อเกิดไฟป่าสมาชิกจะช่วยกันไปดับ หรืออย่างน้อยจะโทรมาแจ้งว่าได้เกิดไฟป่าขึ้น ณ จุดไหน เพราะว่าพื้นที่ที่เป็นป่าชุมชนป่าเขาเขียวมีพื้นที่ 7,864 ไร่ ถือเป็นพื้นที่กว้างมาก กลุ่มกรรมการหมู่บ้านนี้จะเข้ามาเป็นสมาชิกเครือข่ายควบคุมไฟป่า กลุ่มนี้จะเข้ามาลาดตระเวน ไม่ได้เข้ามาลาดตระเวนไฟป่าอย่างเดียว เพราะป่าในชุมชนของเรามีพื้นที่กว้างใหญ่ มีการลักลอบตัดไม้เพราะในพื้นที่เรามีไม้นานาพรรณ ร่วมไปถึงไม้พะยูงที่เป็นไม้ที่มีมูลค่าอีกด้วย
เครือข่ายในการควบคุมไฟป่าของกรมป่าไม้ เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 จนในขณะนี้ได้ขยายเครือข่ายไปทั่วประเทศแล้วกว่า 200 แห่ง ซึ่งกรมป่าไม้จะทำหน้าที่สนับสนุนเงินทุนและอุปกรณ์ที่ใช้ดับไฟ ร่วมถึงการอบรมความรู้วิธีการดับไฟที่ถูกต้อง เพื่อให้การควบคุมไฟป่าสามารถทำได้อย่างรัดกุม
นายอุธร สุทธิมิตร ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ เผยว่า สถิติไฟป่า มีการรวบรวมออกมาเป็น 3 เดือนล่าสุด ปรากฏว่าเกิดไฟป่าขึ้นแล้วในรอบ 3 เดือน คือ มกราคม เกิดขึ้นแล้ว 31 ครั้ง เสียหาย/ไร่ 529 กุมภาพันธ์ เกิดขึ้นแล้ว 106 ครั้ง เสียหาย/ไร่ 1,780มีนาคม เกิดขึ้นแล้ว 69 ครั้ง เสียหาย/ไร่ 1,803 ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ในพื้นที่ใกล้ๆเคียง ประมาณ 10 จังหวัดนั้นได้มาช่วยหลายวันแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์ไฟป่า 10 วันมานี้ ก็เริ่มดีขึ้น หมอกควันก็เริ่มเบาบางลง สามารถควบคุมพื้นที่ได้แล้ว คาดว่าในจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ก็จะเปิดยุทธการคล้ายๆอย่างนี้อีก ทางอีสานก็จะเป็นจังหวัดเลย นครราชสีมา ชัยภูมิ ก็คาดว่าจะดำเนินการเปิดยุทธการเช่นนี้เหมือนกันโดยเน้นการให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ไปประสานกับหมู่บ้านและฝ่ายปกครอง รวมทั้งทหารที่จะเข้ามาร่วมแก้ปัญหานี้ตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ กรมป่าไม้ได้เปิดให้ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจุดฮอทสปอตหรือว่าจุดไฟป่าผ่านทางเว็ปไซต์ของกรมป่าไม้ ในเว็บไซต์จะเป็นการทำงานของดาวเทียมระบุตำแหน่งเอาไว้อย่างชัดเจนว่าใน 1 วันจะทำหน้าที่ตรวจผืนป่าในประเทศไทยทั้งหมด 1 รอบ และรายงานผ่านทางหน้าจอเว็บไซต์ จะระบุตำแหน่งจุดฮอทสปอตและรวบรวมข้อมูลแยกออกมาเป็น 12 จุดฮอตสปอตที่สำคัญเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบว่าเกิดไฟป่าขึ้นในตำแหน่งเหล่านี้จริงหรือไม่ ถ้าหากว่าเกิดเป็นลักษณะไฟป่าจริง ไม่ใช่ไฟไหม้รถหรือไฟไหม้บ้าน ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทันที เพื่อไปตรวจสอบและทำการดับไฟป่า นอกจากนี้เว็ปไซต์นี้ยังมีข้อมูลซึ่งเป็นสถิติย้อนหลัง สามารถทำการเปรียบเทียบว่าการเกิดไฟป่าที่เกิดขึ้นได้ที่ โทรสายด่วน 1310 กด 3หรือ www.forest.go.th/wildfire/ ตลอด 24 ชม.