เวเบอร์ แชนด์วิค เผยผลสำรวจล่าสุด พนักงานกลุ่มแอ็คทีฟเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมยุคดิจิตัล

ข่าวเทคโนโลยี Friday April 11, 2014 09:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--เวเบอร์ แชนด์วิค – ร้อยละ 21ของพนักงานในองค์กร เป็นกลุ่มแอ็คทีฟ– – ร้อยละ 56 ของพนักงานรักและปกป้ององค์กร เปรียบเสมือน “กระบอกเสียงขององค์กร” – เวเบอร์ แชนด์วิค หนึ่งในเอเจนซี่ด้านการประชาสัมพันธ์ระดับโลกเผยผลสำรวจล่าสุดว่าในยุคสังคมดิจิตัลและโซเชียลมีเดีย ได้กำเนิดกลุ่มพนักงานในองค์กรที่แอ็คทีฟหรือ Employee Activistกลุ่มพนักงานเหล่านี้คือคนที่ยินดีที่จะออกมาปกป้องนายจ้างหรือองค์กรจากการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบในสังคม และคอยสนับสนุนองค์กร ผ่านทางออนไลน์และออฟไลน์ พนักงานร้อยละ 21 (1 ใน 5 คน)เป็นกลุ่ม Employee Activistและร้อยละ 33 มีศักยภาพหรือมีโอกาสที่จะเป็นกลุ่มEmployee Activistแต่เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น มีโอกาสสูงที่นายจ้างจะได้กลุ่มพนักงานเหล่านี้มาช่วยผลักดันองค์กรให้ขับเคลื่อนไปในเชิงบวกหรือหากมองโลกในแง่ร้ายก็อาจจะเป็นบ่อนทำลายชื่อเสียงขององค์กรด้วยก็เป็นไปได้เช่นกัน “เราไม่ควรมองข้ามความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มพนักงานจำพวกพนักงานกลุ่มแอคทีฟ(Employee Activist)เหล่านี้” มิโช สปริง ประธานกลุ่มการฝึกฝนองค์กรระดับโลก ของเวเบอร์ แชนด์วิค กล่าว “การเฟ้นหาและการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเต็มใจที่จะสนับสนุนองค์กรผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ ซีอีโอของทุกองค์กร” เวเบอร์ แชนด์วิคร่วมกับเคอาร์ซี รีเสิร์ช ในการดำเนินผลสำรวจ Employees Rising: Seizing the Opportunity in Employee Activismผ่านแบบสอบถามทางออนไลน์กับพนักงานทั้งหมด 2,300 คน จาก 15 ประเทศทั่วโลกโดยผลสำรวจศึกษาถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานกลุ่มแอคทีฟ(Employee Activist)เพื่อให้องค์กรเกิดความเข้าใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจ ที่ทำให้พนักงานเหล่านี้สนับสนุนหรือทำลายองค์กร โซเชียลมีเดีย จุดประกาย ให้เกิดระบอบEmployee Activism อย่างที่ผู้นำทางธุรกิจหลายท่านทราบดี โซเชียลมีเดียมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของนายจ้างหรือองค์กรซึ่งเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่นายจ้างบางคนอาจจะยังไม่ทราบทั้งหมดก็คือโซเชียลมีเดียนั้นสำคัญต่อการมีปฏิสัมพันธ์ของพนักงานอย่างไร และโซเชียลมีเดียทำให้เกิดระบบนี้อย่างไร และความจริงที่น่าตกใจที่ได้จากผลสำรวจก็คือ ร้อยละ 50 โพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ เกี่ยวกับนายจ้าง หรือองค์กร ลงบนโซเชียลมีเดียของตน ร้อยละ 39 มีการแชร์ข้อความชมเชย หรือความคิดเห็นเชิงบวก เกี่ยวกับนายจ้างหรือองค์กรผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ร้อยละ 33 โพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอผ่านโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับนายจ้างหรือองค์กร โดยที่นายจ้างหรือองค์กรไม่ได้สนับสนุนหรือเรียกร้องให้ทำ ร้อยละ 16 มีการแชร์ข้อความหรือความคิดเห็นในเชิงลบเกี่ยวกับนายจ้างหรือองค์กร ผ่านสื่อออนไลน์ ร้อยละ 14 มีการโพสต์บางอย่างเกี่ยวกับนายจ้างหรือองค์กร ในสิ่งที่พนักงานผิดหวังหรือไม่ชอบใจในโซเชียลมีเดีย นายจ้างเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกลุ่ม Employee Activist ผลสำรวจพบว่า หนึ่งในสาม ของนายจ้าง (ร้อยละ 33)สนับสนุนพนักงานให้ใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อแชร์ข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร การสนับสนุนให้เกิดการใช้โซเชียลมีเดียนั้นส่งผลต่อนายจ้างหรือองค์กรอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่นพนักงานที่นายจ้างสนับสนุนให้ใช้โซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 72) มักจะช่วยเหลือองค์กรเพื่อกระตุ้นยอดขายผ่านโซเชียลมีเดีย ได้มากกว่าพนักงานที่นายจ้างไม่สนับสนุนให้ใช้โซเชียล (ร้อยละ 48) ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกลุ่ม Employee Activist อาจเกิดมาจากความวุ่นวายในที่ทำงาน ที่สืบเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบในวงกว้างในองค์กร พนักงานมากกว่า 8 ใน 10(ร้อยละ 84) เคยมีประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงผู้นำในองค์กร การปลดพนักงานจำนวนมาก การควบรวมกิจการ การเงินชะลอตัว ฯลฯ การสื่อสารภายในองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีเพียงพนักงาน 4 ใน 10 คน ที่สามารถสื่อสารหรืออธิบายในสิ่งที่นายจ้างปฏิบัติ(ร้อยละ 42) หรือบางคนไม่สามารถอธิบายเป้าหมายของนายจ้างได้ (ร้อยละ 37) การมีปฏิสัมพันธ์หรือการมีส่วนร่วมกับพนักงานต่ำ มีเพียงร้อยละ 30 ของพนักงาน ที่มีปฏิสัมพันธ์กับนายจ้าง การมีปฏิสัมพันธ์ต่ำมีผลมาจากการสื่อสารกับพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ พนักงานที่ชอบปกป้ององค์กร และมักจะปฏิบัติตนเป็น “กระบอกเสียงขององค์กร” เกือบ 6 ใน 10คนของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 56) มักจะปกป้องนายจ้างหรือองค์กร กับครอบครัวและเพื่อน หรือในที่สาธารณะ เช่น เว็บไซด์ บล็อค หรือหนังสือพิมพ์ เวเบอร์ แชนด์วิค เวิร์คฟอร์ซ แอ็คติวิซึ่ม สเป็คตรัม™ เวเบอร์ แชนด์วิคใช้โมเดลจำลองในการแบ่งประเภทกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งกลุ่มที่แอ๊คทีฟและกลุ่มที่ไม่แอ็คทีฟ โดยผลสำรวจทั้งหมดได้แบ่งพนักงานทั้งหมดออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ “โลกอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้เพื่อการสื่อสารกับพนักงาน การให้พนักงานเป็นเหมือนกระบอกเสียง เปรียบเสมือนโอกาสสำหรับองค์กรและก็เป็นความรับผิดชอบของพนักงาน” เลสลี่ย์ เกนรอส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ฝ่ายชื่อเสียง เวเบอร์ แชนด์วิค กล่าว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัย Employees Rising: Seizing the Opportunity in Employee Activism report และอินโฟกราฟฟิก นี้ กรุณาเยี่ยมชมที่www.webershandwick.asia/employees-rising สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รุ่งนภา ชาญวิเศษ, ต้องหทัย สุดดี เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย) โทรศัทพ์ 02-343-6000 ต่อ 061, 174 อีเมล์: rungnapa@webershandwick.com, tonghathai@webershandwick.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ