กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น
ดร.ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงศ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สำนักคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) พร้อมด้วย ดร.เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว อดีตรองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดสัมมนา วิศวกรรมงานทางรถไฟ(หลักสูตรเข้มข้น) หรือ Intensive Course and Workshop:Fundamental of Track Work and Recent Research เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ในงานมีการบรรยายพิเศษทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ที่ โรงแรมจัสมินซิตี้
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญขนส่งทางรางซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพการขนส่งของประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้เชิญคณะอาจารย์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ เข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ พื้นฐานวิศวกรรมงานทางรถไฟ (หลักสูตรเข้มข้น)หรือ Intensive Course and Workshop : Fundamental of Track Work and Recent Reseach เพื่อพัฒนาศักยภาพและเกิดการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้พัฒนาทางรถไฟและออกแบบได้อย่างมีมาตรฐาน การเคลื่อนตัวของรถไฟก็จะเป็นไปได้ด้วยความปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ลดอันตรายที่เกิดจากปัญหารถไฟตกราง เนื่องจากรางรถไฟติดอยู่กับล้อ ส่งผลให้โดยตรงต่อการสั่นสะเทือนและตกรางได้ ที่ โรงแรมจัสมินซิตี้
การสัมมนามี 5 ครั้ง คือวันที่ 21 มีนาคม 2557 , 31 มีนาคม 2557, 4 เมษายน 2557,11 เมษายน 2557 และ 30 พฤษภาคม 2557 โดยมีดร.เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว อดีตรองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรบรรยาย ให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง กล่าวว่า สวทน. ตระหนักถึงความสำคัญด้านการพัฒนาบุคลากรด้านระบบขนส่งทางราง จึงได้ดำเนินการวางรากฐานระบบพัฒนาบุคคลกร ด้วยการสร้างเครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบรางของประเทศ ประกอบด้วย 19 หน่วยงาน ทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หน่วยงานนโยบายและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งผลักดันการพัฒนาหลักสูตรศึกษาด้านระบบขนส่งทางรางในสถานศึกษาของประเทศ ดังนี้ 1.จัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมระบบรางในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นระบบครั้งแรก จำนวน 12 รายวิชา โดยร่วมกับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยมหิดล 2.การจัดการเรียนการสอนด้านระบบรางระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ในวิทยาลัยเทคนิคอย่างเป็นระบบครั้งแรก โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการพัฒนารายวิชาและสนับสนุนเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยเทคนิค 4 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ 3.สนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคการศึกษาที่1/56 ที่คณะวิศวลาดกระบัง
อย่างไรก็ตาม การจัดให้มีการศึกษาด้านระบบขนส่งทางรางอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีบุคคลากรผู้สอนที่มีความรู้อย่างเพียงพอที่จะถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
การจัดอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง จึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของอาจารย์ผู้สอนและขยายฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางสู่วงกว้าง และที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้เกิดการจัดอบรม ได้แก่ หลักสูตรพัฒนาบุคคลกรด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (วศร.) หลักสูตร Railroad Vehicle Dynamics และหลักสูตร Rail Freight and Logistics at Newcastle University