ผันชีวิตพนักงานบริษัท หันมาเป็นเกษตรกร มั่นใจอาชีพเลี้ยงไก่กับซีพีเอฟ สร้างความมั่นคงได้จริง

ข่าวทั่วไป Thursday May 8, 2014 12:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--CPF หากจะพูดถึงภาพของเกษตรกรไทยแล้ว คงจะหนีไม่พ้นภาพความยากจน ที่ไม่ว่าจะเมื่อไหร่ก็คล้ายกับว่าจะไม่สามารถสลัดทิ้งไปได้ แต่สำหรับ กันยานีย์ เปลี้องรัตน์ แล้ว เธอไม่คิดเช่นนั้น กลับมองต่างมุมว่า “อาชีพเกษตรกรคือผู้สร้างอาหารให้มนุษย์ หากเดินถูกทางก็ไม่มีทางจน” กันยานีย์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นในอาชีพว่า หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจสาขาการจัดการแล้ว ก็ได้เข้าทำงานในบริษัทเอกชน ในตำแหน่งควบคุมการผลิต เรียกว่างานและรายได้ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่เมื่อทำงานมาได้ 10 ปี ก็เริ่มคิดถึงความมั่นคงในอาชีพว่า จะทำงานเป็นลูกจ้างแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน จึงเริ่มมองหาช่องทางอาชีพอื่นๆ ที่จะตอบโจทย์ที่ตนเองต้องการได้ กระทั่งกลับมาบ้านแม่เฉลิม เปลื้องรัตน์ ที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งแม่ของเธอเลี้ยงไก่กระทง (ไก่เนื้อ) ในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่กระทง กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ อยู่แล้ว และก็เห็นว่าเป็นอาชีพที่สร้างความมั่นคงได้ที่ถือว่าตรงกับความต้องการของตนเอง “การเลี้ยงไก่เนื้อกับซีพีเอฟ มีกระบวนการไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน แต่มีรายได้ที่แน่นอน จึงตัดสินใจเข้ามาสานต่อกิจการของแม่ เพราะแม่ก็อายุมากขึ้นทุกวัน” กันยานีย์ บอก โดยเมื่อเริ่มต้นในปี 2544 แม่ของเธอเลี้ยงไก่เนื้อจำนวน 20,000 ตัว ใน 2 โรงเรือน เมื่อกันยานีย์เข้ามาดูแลกิจการต่อจากแม่ในปี 2547 พบว่าที่ผ่านมาผลการเลี้ยงอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้ก็มั่นคง ส่วนบริษัทเองก็แนะนำสิ่งดีๆให้ตลอด เธอจึงตัดสินใจขยายการผลิตโดยสร้างโรงเรือนเพิ่มอีก 2 หลัง เลี้ยงไก่เพิ่มเป็น 40,000 ตัว จากนั้นอีก 3 ปีในปีพ.ศ.2550 กันยานีย์ ได้ลงทุนสร้างโรงเรือนเพิ่มขึ้นอีก 2 โรงเรือน ปัจจุบัน “กันยานีย์ฟาร์ม” มีโรงเรือนรวม 6 หลัง เลี้ยงไก่จำนวน 60,000 ตัว “ปัจจุบันอาชีพเลี้ยงไก่สร้างรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายกับบริษัท และค่าใช้จ่ายภายในฟาร์ม โดยประมาณปีละกว่า 2 ล้านบาท เรียกว่าถ้าเมื่อ 10 ปีที่แล้วไม่มีความคิดถึงอนาคตก็คงไม่มีความสำเร็จในวันนี้” กันยานีย์ เล่าอย่างภูมิใจ อาชีพการเลี้ยงไก่กระทงนี้ ถือว่าการเลี้ยงและการจัดการไม่ยาก หากแต่ต้องอาศัยความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง กันยานีย์ บอกว่า ต้องเริ่มจากการเตรียมความพร้อมของโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยงที่ต้องสะอาด และพร้อมใช้งาน ทั้งถาดอาหาร ที่ให้น้ำ และแกลบที่ใช้รองพื้น จากนั้นเมื่อนำไก่รุ่นใหม่เข้าโรงเรือน ก็ต้องคอยปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับความต้องการของไก่ในแต่ละอายุ ที่สำคัญต้องเข้มงวดกับการป้องกันโรคด้วยการควบคุมการเข้าออกของบุคลากร และป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ไก่สามารถเจริญเติบโตได้ตามสายพันธุ์ในเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องใช้ยาหรือสารเร่งใดๆ กันยานีย์ อธิบายถึงหัวใจที่ทำให้การเลี้ยงใช้เวลาเลี้ยงน้อยแค่ 35 – 37 วันต่อรุ่นก็จับขายได้ ว่าเป็นเพราะเลี้ยงไก่ในโรงเรือนปิดที่ปรับอากาศได้ จึงเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ในเขตร้อนอย่างประเทศไทย ทำให้สามารถปรับทั้งอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะกับความต้องการของสัตว์แต่ละช่วงอายุ เมื่อไก่อยู่สบายไม่ต้องมีความเครียดจากสภาพอากาศร้อน ไก่จึงไม่ป่วย ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา อัตราเสียหายลดลง ขณะที่การกินอาหารดีขึ้นจึงเติบโตดีขึ้นและใช้เวลาเลี้ยงต่อรุ่นลดลงเหลือประมาณ รอบการผลิตจึงเพิ่มขึ้น รายได้ก็มากขึ้นตามไปด้วย และผลการผลิตก็ดีขึ้นเป็นลำดับมาตลอด “ที่ผ่านมาถือว่าซีพีเอฟมีส่วนสำคัญในความสำเร็จของอาชีพ เพราะบริษัทมีการพัฒนาการเลี้ยงและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และยังมีพนักงานส่งเสริมเข้ามาดูแลให้ความรู้และแนะนำวิธีการใหม่ๆที่เหมาะสม สัญญาที่เป็นข้อตกลงการเลี้ยงไก่ก็ยุติธรรมรายได้มากน้อยก็ขึ้นกับความใส่ใจของตัวเอง ที่สำคัญบริษัทรับผิดชอบเป็นตลาดเอง ทำให้ยิ่งมั่นใจว่าอาชีพนี้จะมั่นคงอย่างแน่นอน” กันยานีย์ กล่าว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพมากขึ้น กันยานีย์ ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ แม้จะถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ใช้ต้องงบประมาณสูง แต่เมื่อมองในระยะยาวแล้วถือว่าคุ้มค่า กับประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ปรับระบบการกกลูกไก่จากการใช้หัวกกแบบแขวนเปลี่ยนเป็นระบบฮีทเตอร์ ที่ให้ความร้อนได้ดีกว่าและการกระจายความร้อนทั่วถึง และยังเปลี่ยนระบบการให้อาหารจากเดิมใช้วิธีให้คนงานตักอาหารใส่ถังเล็ก เป็นระบบการให้เป็นแบบอัตโนมัติ ที่จะทำให้ลดเวลาการจัดการด้านอาหารไปได้มาก ทั้งยังช่วยลดแรงงานลง จากเดิม 6 หลังใช้คนเลี้ยงถึง 6 คน ปัจจุบันเปลี่ยนระบบการให้อาหารแล้ว 3 หลัง ใช้ระบบเดิมอีก 3 หลัง และกำลังทยอยปรับเปลี่ยนให้ครบทั้งหมด “ตอนนี้มีคนงานเพียง 2 คนก็สามารถดูแลไก่ทั้งหมดได้ คนงานก็ไม่เหนื่อยและอาหารไม่หากหล่นเสียหายเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ ยังใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติในการปรับระบบน้ำและพัดลมในโรงเรือนอีแวป และยังมองไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิตในอนาคต” กันยานีย์ กล่าว ความสำเร็จในอาชีพของกันยานีย์ เกิดขึ้นได้เพราะความมุ่งมั่นรวมถึงความใฝ่รู้และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ สุดท้ายเธอยังฝากเคล็ดลับถึงเพื่อนเกษตรกรว่า “การทำงานทุกสาขาอาชีพต้องให้ความใส่ใจในรายละเอียดและทุ่มเทกับงานที่ทำจึงจะประสบผลสำเร็จได้”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ