กรุงเทพฯ--12 พ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทยหลังศาลรัฐธรรมนูญให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 –9 พฤษภาคม 2557จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาครวมทั้งสิ้นจำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการ และอีก 9รัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งจากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)โดยมิชอบด้วยกฎหมายอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค* จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling)เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจความคิดเห็นต่อความรู้สึกของประชาชนต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและรัฐมนตรี อีก 9 คน ที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายตำแหน่ง นายถวิล เปลี่ยนสี พ้นจากตำแหน่งพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ39.04 ระบุว่า รู้สึกพอใจมากในคำตัดสิน รองลงมา ร้อยละ21.04 ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างพอใจในคำตัดสิน ร้อยละ20.80 ระบุว่า รู้สึกไม่พอใจเลยในคำตัดสินร้อยละ12.96 ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างไม่พอใจในคำตัดสิน และร้อยละ6.16 ระบุว่า รู้สึกเฉย ๆ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อโอกาสหรือความเป็นไปได้ในการแต่งตั้งนายกคนกลางภายหลังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ36.72 ระบุว่าค่อนข้างเป็นไปได้ในการมีนายกคนกลางรองลงมาร้อยละ23.36 ระบุว่าเป็นไปไม่ได้เลยร้อยละ19.04 ระบุว่า มีความเป็นไปได้น้อย ร้อยละ18.32 ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงและร้อยละ2.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. 57 นี้ภายหลังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ31.44ระบุว่าค่อนข้างเป็นไปได้ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค. 57รองลงมา ร้อยละ26.80ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลยร้อยละ23.20ระบุว่ามีความเป็นไปได้น้อย ร้อยละ16.32 ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงและร้อยละ2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.00 เป็นเพศชายร้อยละ 47.92เป็นเพศหญิงและร้อยละ 0.08เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 9.36 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 32.16มีอายุ 25 – 39 ปีร้อยละ 47.12มีอายุ40 – 59 ปีและร้อยละ11.36 มีอายุ 60 ปีขึ้นไปตัวอย่างร้อยละ 94.00นับถือศาสนาพุทธรองลงมา ร้อยละ4.80 นับถือศาสนาอิสลามและร้อยละ1.20 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่นๆตัวอย่างร้อยละ 26.64สถานภาพโสด ร้อยละ 71.52สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 1.84 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 26.04ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.97 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.97จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่าร้อยละ 28.13จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและร้อยละ 4.89 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าตัวอย่างร้อยละ 12.25 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 11.21ประกอบอาชีพพนักงานเอกชนร้อยละ 26.42ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระร้อยละ 14.09 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมงร้อยละ 18.65 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปร้อยละ 12.01 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.36 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ14.16ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ23.12 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ29.28 มีรายได้ 10,001 – 20,000บาทต่อเดือน ร้อยละ11.44 มีรายได้ 20,001 – 30,000บาทต่อเดือน ร้อยละ6.64 มีรายได้ 30,001 – 40,000บาทต่อเดือน ร้อยละ9.84 มีรายได้ มากกว่า 40,001 บาทต่อเดือนขึ้นไป และร้อยละ5.52ไม่ระบุ