ผลสำรวจเมื่อพฤติกรรมของสื่อเปลี่ยน บริษัทประชาสัมพันธ์ก็ต้องเปลี่ยน

ข่าวทั่วไป Wednesday May 14, 2014 11:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค เร็วๆ นี้ มีเดียโค (Mediaco) หนึ่งในหน่วยงานของบริษัท เวเบอร์ แชนด์วิค บริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำ ซึ่งให้คำปรึกษาและบริการด้านดิจิตอลพีอาร์สำหรับแบรนด์และองค์กร โดยมีเดียโค ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการของผู้สื่อข่าวในประเทศแถบเอเซีย แปซิฟิค ทั้งหมด 300 คน จาก 11 ประเทศ โดยสำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ปี 2557 พบว่าพฤติกรรมผู้สื่อข่าวในปัจจุบันได้พึ่งช่องทางด้านดิจิตอลในการทำงานมากขึ้น เป็นผลให้นักประชาสัมพันธ์ต้องปรับรูปแบบการทำงาน และปรับมุมมองของลูกค้าในเรื่องของข่าวสารที่สามารถเผยแพร่ได้ในหลายรูปแบบ ทั้งในกับสื่อแบบดั้งเดิมและสื่อใหม่ ในปัจจุบันอีกด้วย มร.จาย สมิธ ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก ของมีเดียโค เผยว่า “หลักการทำงานของมีเดียโค คือ การทำให้แบรนด์ต่างๆกลายเป็นสื่อมวลชน นั้นหมายถึง การเข้าใจถึงวิธีคิดและวิธีการเผยแพร่ข่าว ให้เปรียบเสมือนเป็นผู้สื่อข่าวแบรนด์ตัวเองนั่นเอง และลดการพึ่งพาสื่อดั้งเดิมให้น้อยลง บริษัทประชาสัมพันธ์ไม่เพียงแค่การเขียนข่าว หากแต่ต้องสร้างช่องทางการเผยแพร่อีกด้วย นอกจากนั้น ความเข้าใจในวิธีการบริหารและโน้มน้าวใจในบทสนทนาจะเป็นกุญแจสำคัญที่นำสู่ความสำเร็จ” การเผยแพร่เนื้อหาของข่าวบนพื้นที่ดิจิตอลของตนเอง และผลักดันเนื้อหาให้กระจายออกไปทางสื่อประเภทที่ต้องจ่ายเงินซื้อนั้นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีหนึ่งที่เข้ามาช่วยเสริมกับการประชาสัมพันธ์กับสื่อแบบดั่งเดิม เป็นการเพิ่มศักยภาพที่แท้จริงของดิจิตอลพีอาร์ และการทำดิจิตอลพีอาร์นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสและเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับการสื่อสารขององค์กร ในเมืองไทย แบรนด์ต่างๆกำลังจะเปลี่ยนจาก “สิ่งที่ทำ” และ “ทำอย่างไร” ไปสู่ ความหมายคืออะไร ยึดมั่นในสิ่งไหน และพวกเขาได้ทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง หน่วยงานมีเดียร์ ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้แบรนด์ได้เข้าไปอยู่ในจิตวิญญาณของคนไทย ผ่านทางความคิดที่ยอดเยี่ยม และการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ตัวเลขจากการสำรวจนี้เผยให้เห็นว่าเนื้อหาบนสื่อดิจิตอลผลักดันผู้สื่อข่าวไทยอย่างไร - นักข่าวไทยมีการเชื่อมต่อกับสังคมตลอดเวลา โดย 60% มักหาข่าวจากโซเชียล มีเดีย เป็นประจำ และ อีก 30% จะหาในบางโอกาส - ผู้สื่อข่าวไทยเป็นคนออนไลน์ที่กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละวันใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมงในการทำงานบนโลกออนไลน์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ ไม่ต่างจากผู้สื่อข่าวในภูมิภาคเดียวกัน - ความเชื่อมั่นในแหล่งข่าวออนไลน์ในประเทศไทยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยถึง 91 เปอร์เซ็นต์ ที่เชื่อและหาข้อมูลจากเว็บไซส์หรือบล็อคขององค์กร ในขณะที่ผู้สื่อข่าวใน เอเชีย แปซิฟิก มีเพียง 43 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น - พฤติกรรมการบริโภคของข่าวสารของคนไทยกำลังเปลี่ยนไป โดยเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ของข่าวทั้งหมดมีที่มาจากแหล่งข่าวออนไลน์ และ 41 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อข่าวมาจากแหล่งข่าวออนไลน์ - กว่า 1 ใน 3 ของผู้สื่อข่าวไทยยอมรับเนื้อหาของแบรนด์นั้นๆ เช่น วีดีโอ และอินโฟรกราฟิค ในการเผยแพร่ และคาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ - ผู้สื่อข่าวมักจะต่อยอดเรื่องราวของตนเองให้มากที่สุด โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ พูดคุยกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อข่าวของพวกเขาค่อนข้างบ่อย และข้อมูลจากผลสำรวจใน 11 ประเทศทั่ว เอเชีย แปซิฟิก: - 68 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สื่อข่าวค้นหาข่าวจากช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ในขณะที่มีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ ที่ค้นหาข่าวผ่านการอ่านหนังสือพิมพ์ - 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ถูกสำรวจระบุว่าตนไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ - ผู้สื่อข่าวถึง 79 เปอร์เซ็นต์ มีการพูดคุยกับผู้ที่มาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของพวกเขา - ผู้สื่อข่าวมีการเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ในระดับสูง โดย 77 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าพวกเข้าใช้บล็อกส่วนตัวเป็นประจำ - ในขณะที่ 66 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สื่อข่าวค้นหาและตรวจสอบข่าวจากแหล่งข่าวแบบดั้งเดิม แต่ช่องทางด้านออนไลน์ก็ได้รับความนิยมแทบไม่แตกต่างกัน - 43 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สื่อข่าวที่สำรวจระบุว่าพวกเขามักไปที่เว็บไซต์หรือบล็อกของบริษัท เพื่อค้นหาและยืนยันความถูกต้องของข่าว ในขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ ไปที่โซเชียล มีเดียของบริษัทนั้นๆ - ความเชื่อถือในแหล่งข่าวออนไลน์ยังอยู่ในระดับสูง โดย 52 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สื่อข่าวเชื่อว่าเว็บไซต์ขององค์กรเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือรองจากแหล่งข่าวของบริษัทที่น่าเชื่อถือถึง 63 เปอร์เซ็นต์ - 77 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สื่อข่าวกล่าวว่าสำนักข่าวของตนเลือกตีพิมพ์ข่าวที่บริษัทและแบรนด์ต่างๆเป็นส่งหรือให้ข่าวเอง - สำหรับรูปแบบการนำเสนอข่าว ผู้สื่อข่าวถึง 60 เปอร์เซ็นต์ นำเสนอข่าวผ่านตัวหนังสือ ในขณะที่อีก 53 เปอร์เซ็นต์ ยินดีหรือยอมรับวิธีการนำเสนอแบรนด์ในรูปแบบใหม่ๆ อาทิ ผ่านการใช้ภาพหรืออินโฟกราฟิค

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ