กรุงเทพฯ--26 พ.ค.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 73,260 คัน ลดลง 33.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 31,168 คัน ลดลง 34.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 42,092 คัน ลดลง 32.3% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 34,383 คัน ลดลง 35.0%
ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน มีปริมาณการขาย 73,260 คัน ลดลง 33.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 34.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 32.3% เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ต่างระมัดระวังทั้งในเรื่องการลงทุน และการใช้จ่าย
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 297,431 คัน ลดลง 43.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 51.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 35.6% เป็นผลจากการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้หนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าสถิติดัชนีการขายตามฤดูกาลชี้ว่าตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมจะมียอดขายเป็นลำดับสองของไตรมาสสอง แต่สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและสถานการณ์การเมืองที่เข้มข้นอาจส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อผู้บริโภคและนักลงทุน ที่อาจจะมีผลกระทบต่อตลาดรถยนต์
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2557
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 73,260 คัน ลดลง 33.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 26,683 คัน ลดลง 25.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,467 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,194 คัน ลดลง 64.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 31,168 คัน ลดลง 34.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,599 คัน เพิ่มขึ้น 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,473 คัน ลดลง 65.5% ส่วนแบ่งตลาด 20.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,949 คัน ลดลง 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 34,383 คัน ลดลง 35.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,267 คัน ลดลง 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,538 คัน ลดลง 35.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,822 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,091 คัน
อีซูซุ 1,649 คัน – โตโยต้า 1,555 คัน – มิตซูบิชิ 584 คัน - เชฟโรเลต 292 คัน - ฟอร์ด 11 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,292 คัน ลดลง 37.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11, 712 คัน ลดลง 38.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,889 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,238 คัน ลดลง 27.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,092 คัน ลดลง 32.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,084 คัน ลดลง 40.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,467 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,938 คัน เพิ่มขึ้น 55.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2557
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 297,431 คัน ลดลง 43.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 110,898 คัน ลดลง 31.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 56,111 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 18.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 29,555 คัน ลดลง 68.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 121,450 คัน ลดลง 51.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 51,969 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 25,630 คัน ลดลง 68.4% ส่วนแบ่งตลาด 21.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 12,262 คัน ลดลง 66.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 145,402 คัน ลดลง 36.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 55,677 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 52,223 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,040 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 18,142 คัน
อีซูซุ 7,697 คัน – โตโยต้า 6,956 คัน – มิตซูบิชิ 2,396 คัน - เชฟโรเลต 1,027 คัน - ฟอร์ด 66 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 127,260 คัน ลดลง 38.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 48,721 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 44,526 คัน ลดลง 40.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 10,644 คัน ลดลง 41.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 175,981 คัน ลดลง 35.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 58,929 คัน ลดลง 38.0% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 56,111 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,040 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%