ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 “สภาพคล่องยังเข้มแข็ง พร้อมหนุนเบิกจ่าย ร่วมผลักดันเศรษฐกิจไทย ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน”

ข่าวทั่วไป Tuesday May 27, 2014 14:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557) ว่ารัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,066,711 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 43,801 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 ซึ่งมีสาเหตุหลักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากผลการปรับลดอัตราภาษี และการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต์สำหรับโครงการรถยนต์คันแรกได้เกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก่อนหน้า ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1,579,928 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 27,986 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1.8 ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 513,217 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 36,137 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 549,354 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 155,160 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 394,194 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,730 ล้านบาท นายสมชัยฯ สรุปว่า “ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ ระดับเงินคงคลังที่สูงกว่า 2 แสนล้านบาท รวมทั้งสภาพคล่องที่เข้มแข็งจากวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลและวงเงินการบริหารเงินสดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้รัฐบาลสามารถทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนเมษายน 2557 และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557) ในเดือนเมษายน 2557 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 28,937 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 62,009 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 33,072 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 549,354 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 155,160 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนเท่ากับ 209,730 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนเมษายน 2557 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 133,816 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2,187 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.7) 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 195,825 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 15,461 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.6) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 156,868 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายลงทุน 22,912 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 16,045 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 58.9 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 27,726 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 12,913 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 11,880 ล้านบาท และรายจ่ายชำระหนี้กระทรวงการคลังของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 24,31910,477 ล้านบาท 1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนเมษายน 2557 ขาดดุล 62,009 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 33,072 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ 20,000 ล้านบาท และการคืนเงินทดรองจ่ายในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 จำนวน 10,798 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 28,937 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 25,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 3,937 ล้านบาท 2. ฐานะการคลังในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557) 2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,066,711 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 43,801 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 3.9) โดยมีสาเหตุหลักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากผลการปรับลดอัตราภาษี และภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกเกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก่อนหน้า 2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,579,928 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 27,986 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.8) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,423,144 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.4 ของวงเงินงบประมาณ (2,525,000 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 และรายจ่ายปีก่อน 156,784 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.2 รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,423,144 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1,249,288 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4 และรายจ่ายลงทุน 173,856 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในช่วง 7 เดือนแรกของงบประมาณปีนี้ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 188,823 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 109,435 ล้านบาท รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 102,831 ล้านบาท และรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 82,770 ล้านบาท 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 549,354 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 513,217 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 36,137 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 22,135 ล้านบาท และการเบิกเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 22,925 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จำนวน 155,160 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 394,194 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,730 ล้านบาท สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0-2273-9020 ต่อ 3568

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ