กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--ซูม พีอาร์
หลังจากที่รัฐบาลยุติโครงการรับจำนำข้าวจึงทำให้วิกฤติราคากระทบกับปากท้องของชาวไร่ชาวนา เมื่อข้าวเปลือกราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก ที่มีทั้งอินเดีย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และ เวียดนาม ที่ออกมาแข่งขันประชันราคาจนอยู่ที่ระดับราคา 5,000-6,000 บาท ต่อตัน ซึ่งถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน
การประมูลข้าวที่ไทยหวังว่าจะได้โควต้าจากฟิลิปปินส์ก็อาจจะต้องผิดหวัง เพราะถูกเวียดนามแซงหน้าในราคาที่ต่ำกว่า และน่าจะได้โควต้าไปกว่า 700,000 ตัน ( จากการเสริมสต๊อกข้าวที่กำลังลดลง ) ไทยเราก็ต้องก้มหน้ากลับมาหาวิธีแนวทางในการระบายข้าวไปยังประเทศอื่นๆต่อไป ทั้ง ยุโรป อเมริกา จีน แอฟริกา เพื่อที่จะระบายข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกจำนวนมาก
โดยปรกติไทยจะส่งออกข้าวไปประเทศต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวระดับพรีเมี่ยม เป็นชื่นชอบมากใน สหรัฐฯ อียู จีน สิงคโปร์
2. ข้าวขาว ปลูกมากในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ข้าวชนิดนี้ต้องแข่งขันกันสูงกับเวียดนาม ไทยมีจุดแข็งในข้าวขาว 100% และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวนี้ 30-40% ตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวอาเซียนด้วยกัน อย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
3. ข้าวนึ่ง ผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศ แอฟริกา และ ไนจีเรีย
4. ข้าวเหนียว มีการส่งออกน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่บริโภคภายในประเทศ
ที่ผ่านมาวงจรการค้าข้าวจะมีเกษตรกรที่ทำหน้าที่ปลูกข้าวและส่งขายไปยังโรงสี โรงสีก็จะแปรสภาพเป็นข้าวสาร จำหน่ายจ่ายแจกไปยังตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะผ่านพ่อค้าผู้ส่งออก ในห้วงช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่รับซื้อข้าวสูงถึงตันละ 15,000 บาท ทำให้กระทบกับพ่อค้าผู้ส่งออกจำนวนมากที่ไม่สามารถซื้อข้าวแข่งกับรัฐบาลได้ ข้าวส่วนใหญ่จึงไหลเข้าไปอยู่กับรัฐบาล ส่วนรัฐบาลก็จะต้องเร่งรีบหาเงินมาจ่ายคืนชาวนา ด้วยการค้าข้าวออกไปยังตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการค้าแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี แต่ก็มาติดขัดเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาการเมือง ปัญหาข้าวเน่า ข้าวหายไปจากคลังที่เก็บ ทำให้โครงการนี้มีอันสะดุดหยุดไป
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มชะงัก จากยอดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่หายหน้าหายตาไป ทำให้เกิดปัญหาในหลากหลายมิติ แต่มิติที่สัมผัสกับชาวไร่ชาวนาเกษตรกรโดยตรงก็คือ ปัญหาปากท้องที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เมื่อขายข้าวในราคาตามตลาดโลก ซึ่งมีราคาค่างวดเฉียดฉิวกับต้นทุนที่แพงโด่งขึ้นมา สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือค่าครองชีพ ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่ขึ้นตามราคาข้าว แต่เมื่อราคาข้าวลดลง ราคาปุ๋ยยาไม่ลดตามลงมาด้วย จึงทำให้การดำรงชีพของพี่น้องเกษตรกรอยู่ได้ยากขึ้น
การหาสิ่งทดแทนปุ๋ยยาเคมีจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อย่างการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ ที่ให้แร่ธาตุสารอาหารที่เกือบครบถ้วนแก่พืชหรือต้นข้าว ไม่ว่าจะเป็นฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิล มีสรรพคุณพิเศษช่วยให้พืชแข็งแกร่งจากซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ เพลี้ย หนอน แมลง รา ไร จึงไม่สามารถเข้าไปทำลายได้ ถ้าเกษตรกรเผา ตอซัง ฟางข้าว หรือเติมอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เสริมเข้าไป จะช่วยเสริมให้การใช้หินแร่ภูเขาไฟทดแทนปุ๋ยเคมีได้ประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น ที่สำคัญสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่า 50-60%
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680-2
สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด
สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2989 7844 , 081 732 7889