ฟอร์ดย้ำภาพลักษณ์ผู้นำด้านเทคโนโลยี จัดแสดงเทคโนโลยีล่าสุดพร้อมเผยโฉมรถมัสแตงสุดอัจฉริยะในงานคอมพิวเท็กซ์

ข่าวยานยนต์ Tuesday June 3, 2014 16:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 มิ.ย.--ฟอร์ด -ฟอร์ด สานต่อความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการเปิดตัว ฟอร์ด แอพลิงค์ (AppLink) ใน 3 ตลาดใหม่ ได้แก่ ไต้หวัน นิวซีแลนด์และไทย ในปี พ.ศ. 2558 -ฟอร์ด จะจัดแสดง ฟอร์ด มัสแตง ใหม่ เป็นครั้งแรกในไต้หวัน ซึ่งมาพร้อมเทคโนโลยีอัจฉริยะล่าสุดรวมถึงสมรรถนะชั้นยอดอื่นๆ โดยฟอร์ดจะวางขายรถ ฟอร์ด มัสแตง ใหม่ ในเอเชียแปซิฟิก ในปีพ.ศ. 2558 -พร้อมเปิดตัว เทคโนโลยีช่วยเหลือยามฉุกเฉิน (Emergency Assistance technology) ซึ่งปัจจุบันติดตั้งอยู่ในรถฟอร์ด 9 ล้านคันทั่วโลก เป็นครั้งแรกในไต้หวัน -ฟอร์ดจะสาธิตการใช้งานเทคโนโลยีระบบการสื่อสารระหว่างพาหนะ หรือ วีทูวี (V2V - vehicle-to-vehicle communications) ในงานคอมพิวเท็กซ์ โดยได้เชิญผู้สนใจให้เข้ามาทดสอบเทคโนโลยีการเชื่อมต่อฟอร์ด ซิงค์ (SYNC) และฟอร์ด แอพลิงค์ (AppLink) รวมถึงจัดเสวนากับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ฟอร์ดประกาศวันนี้ว่าจะเปิดตัว ฟอร์ด แอพลิงค์ (AppLink) ใน 3 ตลาดใหม่ได้แก่ ไต้หวัน นิวซีแลนด์และไทย ในปี พ.ศ. 2558 รวมถึงเปิดตัวเทคโนโลยีช่วยเหลือยามฉุกเฉิน สำหรับตลาดไต้หวัน “วันนี้นับเป็นวันที่สำคัญที่เราแสดงให้เห็นถึงการขยายการเติบโตของเราในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเตรียมพร้อมรับการเปิดตัวฟอร์ด มัสแตงใหม่สำหรับภูมิภาคนี้” นายเทรเวอร์ เวอร์ธิงตัน รองประธาน ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนีกล่าว “เรามั่นใจว่าลูกค้าของเราจะรู้สึกพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นโปรดกับรถผ่านทางแอพลิงค์ นอกจากนี้ เทคโนโลยีช่วยเหลือยามฉุกเฉิน จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่ทั่วโลกด้วยสมรรถนะในการโต้ตอบอัจฉริยะ” ฟอร์ด แอพลิงค์ เป็นโซลูชั่นเชื่อมต่อการสื่อสารภายในรถ ที่ผู้ใช้สามารถควบคุมแอพพลิเคชั่นโปรดผ่านคำสั่งเสียง ส่วนเทคโนโลยีช่วยเหลือยามฉุกเฉินใช้ระบบเชื่อมต่อการสื่อสารในรถคือ ซิงค์ (SYNC) ในการเชื่อมต่อกับระบบโต้ตอบฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยจะส่งสัญญาณไปยังหน่วยบริการฉุกเฉินพร้อมสัญญาณจีพีเอส แสดงรายละเอียดสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุ “นับเป็นสัปดาห์ที่น่าตื่นเต้นของฟอร์ดในงานคอมพิวเท็กซ์” นายเวอร์ธิงตัน กล่าว “งานนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัว ฟอร์ด มัสแตงใหม่ การสาธิตการใช้งานเทคโนโลยีระบบการสื่อสารระหว่างพาหนะ รวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ และกิจกรรมแบบอินเตอร์แอคทีฟที่บูธของฟอร์ด” เชื่อมต่อกับแอพลิงค์ จากความสำเร็จของการเปิดตัวเทคโนโลยี ฟอร์ด แอพลิงค์ ในจีน ออสเตรเลียและอินเดียในปีนี้ ฟอร์ดเดินหน้าสานต่อการเจริญเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการเปิดตัว ฟอร์ด แอพลิงค์ ใน 3 ตลาดใหม่ ในปีพ.ศ 2558 ได้แก่ไต้หวัน นิวซีแลนด์และไทย โดย ฟอร์ด แอพลิงค์ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนมือถือ ด้วยการใช้คำสั่งเสียง “เทคโนโลยี แอพลิงค์ ของเราได้รับความนิยมอย่างมากในทุกตลาดที่เราเปิดตัว ฟอร์ด รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้แนะนำเทคโนโลยี แอพลิงค์ ให้กับผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกได้สัมผัสในวงกว้างยิ่งขึ้น” นายโจ ไบเซอร์ ผู้อำนวยฝ่ายระบบเชื่อมต่อ ประจำเอเชียแปซิฟิก แอฟริกา และยุโรป กล่าว ฟอร์ด ได้สร้างมาตรฐานใหม่สำหรับเทคโนโลยีเชื่อมต่อการสื่อสารภายในรถด้วยระบบซิงค์ ซึ่งผู้ขับขี่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือผ่านทางซิงค์และสามารถควบคุมวิทยุ โทรออกและรับสาย รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ด้วยการใช้คำสั่งเสียงโดยไม่ต้องปล่อยมือจากพวงมาลัย ฟอร์ด แอพลิงค์ ได้รับการพัฒนาขึ้นจากแนวความคิดการเชื่อมต่อโดยไม่ต้องใช้มือ และเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นใช้แพลตฟอร์มของซิงค์ ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้สื่อสาร และโต้ตอบกับคำสั่งเสียง การประกาศเปิดตัวฟอร์ด แอพลิงค์ใน 3 ตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับกลุ่มนักพัฒนาในเอเชียแปซิฟิก หลังจากการประกาศการเป็นพันธมิตรโครงการ SmartDeviceLink (SDL) กับสองบริษัทยักษ์ใหญ่ Baidu และ AutoNavi ในงาน GMIC ณ กรุงปักกิ่ง โครงการ SDL เป็นการเปิดโอกาสให้ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับยานยนต์บนระบบเปิดของฟอร์ด แอพลิงค์ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการขยายขอบเขตแอพพลิเคชั่นภายในรถยนต์สำหรับลูกค้าให้กว้างขึ้น และในปีที่แล้ว ฟอร์ดยังได้สร้าง developer.ford.com เว็บไซต์ของกลุ่มผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเป็นภาษาจีนอีกด้วย ด้วยการพัฒนาให้โค้ดของแอพลิงค์เป็นระบบเปิด จึงเท่ากับว่าเป็นการขยายความร่วมมือกับผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นทางมือถือ และขยายตลาดของเทคโนโลยี แอพลิงค์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการให้ความสำคัญกับกลุ่มพัฒนาแอพพลิเคชั่นเป็นอย่างยิ่ง เทคโนโลยีระบบการสื่อสารระหว่างพาหนะหรือวีทูวี ฟอร์ดจะสาธิตการทำงานของเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างพาหนะ หรือ วีทูวี (V2V - vehicle-to-vehicle communications) เป็นครั้งแรกในเอเชีย แปซิฟิกในงานคอมพิวเท็กซ์ โดยจะใช้รถฟอร์ด คูก้า 2 คัน ที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษในการสาธิตให้ดูว่า V2V มีศักยภาพในการป้องกันรถจากการชนได้อย่างไร เทคโนโลยีนี้จะใช้ใช้ระบบส่งสัญญาณวิทยุวิทยุไวไฟเพื่อให้รถสามารถสื่อสารกันได้ โดยรถทั้ง 2 คันสามารถจับสัญญาณและเตือนผู้ขับถึงอันตรายที่อาจจะมองไม่เห็น ด้วยเทคโนโลยีนี้ทำให้รถแลกเปลี่ยนข้อมูลความเร็ว ตำแหน่ง คาดการณ์ช่องทางของรถคันอื่น ซึ่งมีแนวโน้มในการลดการชน ช่วยลดภาวะรถติดและทำให้ขับขี่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ฟอร์ดถือว่าการสื่อสารระหว่างพาหนะหรือวีทูวี และระหว่างพาหนะกับหน่วยงานด้านสาธารณูปโภค (vehicle-to-infrastructure-v2I ) หรือวีทูไอ เป็นแม่แบบในวางแผนการสัญจร สำหรับกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาระบบคมนาคมทั้งระยะใกล้ ระยะกลางและระยะไกล ในโลกที่มีแนวโน้มประชากรหนาแน่นขึ้นและเดินหน้าสู่ความเป็นเมืองมากขึ้น ถือว่าฟอร์ดเป็นผู้นำในการตรวจสอบและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงเหล่านี้ รวมทั้งผลักดันให้เกิดพันธมิตรในการวิจัยในสหรัฐอเมริกาและยุโรปกับหน่วยงานรัฐบาล องค์กรต่างๆและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อื่นๆ ในการพัฒนาขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสำหรับเทคโนโลยีวีทูวีและวีทูไอ การสาธิตเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างพาหนะ หรือ วีทูวี ของฟอร์ดจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3- 6 มิถุนายน ที่ย่านซงซาน ใจกลางกรุงไทเป ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานที่จัดงานคอมพิเวเท็กซ์ ที่ 218-8 ถนน Legun Third เทคโนโลยีเหลือยามฉุกเฉินเดินทางสู่ไต้หวัน การเปิดตัวเทคโนโลยีช่วยเหลือยามฉุกเฉินในตลาดไต้หวันถือเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาสู่ไต้หวันและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เทคโนโลยีการช่วยเหลือฉุกเฉินนั้นใช้ระบบเชื่อมต่อการสื่อสารในรถคือ ซิงค์ ในการโทรศัพท์ไปยังหน่วยบริการฉุกเฉินหากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการช่วยเหลือยามฉุกเฉินได้รับการติดตั้งอยู่ในรถฟอร์ด 9 ล้านคันทั่วโลก เมื่อผู้ขับขี่เชื่อมต่อโทรศัพท์กับระบบเชื่อมต่อภายในรถ ซิงค์และเปิดระบบช่วยเหลือยามฉุกเฉินแล้ว ระบบนี้จะทำงานตลอดเวลาของรถ โดยไม่ต้องลงทะเบียนหรือเสียค่าใช้จ่ายในการสมัคร จนกว่าผู้ขับจะปิดระบบ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและถุงลมนิรภัยทำงานหรือระบบการตัดปั๊มน้ำมันฉุกเฉินได้รับการกระตุ้น เทคโนโลยีช่วยเหลือยามฉุกเฉินจะเริ่มนับถอยหลังเป็นเวลา 10 วินาที ในช่วงนี้ผู้ขับสามารถยกเลิกการโทรหากไม่จำเป็น หากการโทรไม่ถูกยกเลก ระบบจะเชื่อมต่อเพื่อแจ้งอุบัติเหตุกับหน่วยงานที่ให้บริการฉุกเฉินพร้อมกับส่งสัญญาณจีพีเอสแจ้งรายละเอียดสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุ หากผู้ขับใช้โทรศัพท์ขณะเกิดอุบัติเหตุ ระบบจะตัดการโทรและเริ่มกระบวนการโทรฉุกเฉิน ซึ่งการโทรเข้าอื่นๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากผู้ขับออกจากตัวรถขณะที่กำลังเชื่อมต่อกับหน่วยบริการฉุกเฉิน ผู้ขับสามารถนำโทรศัพท์ติดตัวพร้อมโทรศัพท์ไปด้วย ฟอร์ด มัสแตงใหม่ รถอัจฉริยะพร้อมดีไซน์อันโฉบเฉี่ยว ฟอร์ด จะจัดแสดง ฟอร์ด มัสแตง ใหม่ เป็นครั้งแรก ณ บูธฟอร์ดในงานคอมพิวเท็กซ์ โดยฟอร์ดจะเปิดตัว ฟอร์ด มัสแตง ใหม่ ในไต้หวันปีหน้า ฟอร์ด มัสแตง สามารถสร้างยอดขายไปกว่า 9 ล้านคันตั้งแต่เริ่มผลิตถึงปัจจุบัน นับว่า ฟอร์ด มัสแตง เป็นรถที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและได้ไปปรากฏอยู่ทั้งในภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์และวิดีโอเกมส์ โดยฟอร์ด มัสแตง ใหม่ จะวางขายพร้อมกันทั่วโลกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558 ฟอร์ด มัสแตงใหม่ จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีอัจฉริยะและสมรรถนะที่เป็นเยี่ยมที่ทำให้ฟอร์ด มัสแตง ใหม่เป็นรถยนต์ที่อัจฉริยะและทันสมัยที่สมัยที่สุด ด้วยฟอร์ด ซิงค์ มายคีย์ (My Key®) ระบบช่วยตรวจจับรถในจุดบอด (Blind Spot Information System) พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อถอยหลังออกจากที่จอด (Cross traffic alert) ครูสคอนโทลแบบปรับความเร็วอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control) ระบบเชื่อมต่ออันชาญฉลาด (Intelligent Access) กับปุ่มสตาร์ทอัตโนมัติ (Push-button start) และกล้องมองภาพด้านหลัง (Rear-view camera) เรียกได้ว่าฟอร์ด มัสแตง ใหม่ จะช่วยให้ผู้ขับสามารถควบคุมรถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในด้านสมรรถนะการขับขี่ ผู้ขับขี่สามารถปรับเปลี่ยนรถได้ตามลักษณะการขับรถและถนน ด้วยการใช้คำสั่งการกำหนดลักษณะการขับรถตามสภาพถนน 4 แบบ ได้แก่ ปกติ หิมะ-ถนนเปียก สปอร์ต หรือแทรค ชุดคำสั่งการขับรถตามสภาพถนน ทำให้ผู้ขับขี่สามารถปรับเปลี่ยนการลักษณะการขับ และควบคุมจังหวะเกียร์ พวงมาลัยและรวมถึงการทรงตัวได้ง่ายและรวดเร็ว ฟอร์ด มัสแตง ใหม่ มาพร้อมรูปโฉมใหม่อันโดดเด่น ด้วยการออกแบบที่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์กว่า 5 ทศวรรษ ผสมกับการรายละเอียดต่างๆอันทันสมัย ฟอร์ด มัสแตง ใหม่ มีฝากระโปรงยาวที่เป็นเอกลักษณ์และหลังคาที่ลาดเทกว่าเดิม พร้อมกับกระจกบังลมหน้าที่ถูกออกแบบให้ลาดเทมากกว่ารุ่นปัจจุบัน ที่ปัดน้ำฝนที่โค้งลงพร้อมเส้นสายที่พลิ้วไหว ไฟท้ายเป็นเส้น 3 เส้นสวยงาม รูปลักษณ์ด้านหน้าคล้ายปลาฉลามอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมกระจังหน้าสี่เหลี่ยมคางหมู ภายในได้รับแรงบันดาลใจห้องควบคุมของเครื่องบิน จึงนับได้ว่าฟอร์ด มัสแตง ใหม่ เป็นผลงานการออกแบบโดยช่างฝีมือชั้นเลิศกว่ารุ่นใดๆ บูธอินเตอร์แอคทีฟ ณ งานคอมพิวเท็กซ์ ฟอร์ดจะจัดแสดงเทคโนโลยีอัจฉริยะเชื่อมต่อการสื่อสารภายในรถ รวมถึงมุมสาธิตที่จะแสดงการทำงานของซิงค์ และฟอร์ด แอพลิงค์ เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้เรียนรู้และสัมผัสกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของฟอร์ด นอกจากนี้ ฟอร์ด ยังได้จัดมุม แอพลิงค์ กรีน วอลล์ ที่ผู้เข้าชมจะสามารถถ่ายภาพกับแบคกราวนด์ภาพเคลื่อนไหวของแอพพลิเคชั่นต่างๆ และรถฟอร์ด ที่ตนเองชื่นชอบ และสามารถแบ่งปันในโซเชียลมีเดียหรือเก็บไว้เป็นที่ระลึก นอกจากนี้ ผู้เข้าชมบูทยังมีโอกาสที่จะได้ร่วมสนุกกับเกมส์ที่ฟอร์ดยังได้พัฒนาขึ้นมาจากแอพลิงค์ โดยจะมีนักวาดภาพล้อเลียนวาดภาพผู้เข้าชมเป็นตัวละครในเกมส์ ซึ่งสามารถเล่นได้บนไอแพดที่บูธฟอร์ด โดยผู้เล่นจะต้องต้นหาตัวละตนของตัวเองและภาพของแอพที่ได้รับความนิยมที่ถูกซ่อนอยู่ในฉากขนาดใหญ่ ในวันที่ 3 มิถุนายน เวลา 11.45น. (ตามเวลาไต้หวัน) ฟอร์ดจะจัดงานเสวนากับผู้นำในวงการเทคโนโลยีในหัวข้อเทคโนโลยีทำให้การใช้ชีวิตฉลาดขึ้นอย่างไร ซึ่งฟอร์ดจะถ่ายทอดสดแบบ live streaming สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามได้จากที่บ้านโดยการใช้แฮชแทก #FordComputex และในระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน ฟอร์ดจะถ่ายทอดสดแบบ live streaming ในเวลา 11.00น. ของทุกวัน ซึ่งผู้ติดตามสามารถลุ้นรับรางวัลพร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับซิงค์ แอพลิงค์และฟอร์ด มัสแตง ใหม่ จากผู้เชี่ยวชาญของฟอร์ด นอกจากนี้ ฟอร์ดยังได้ร่วมกับ TEDx จัดเสวนาในหัวข้อเทคโนโลยีจะช่วยกำหนดอนาคตอย่างไร ในวันที่ 4มิถุนายน โดยนายเค เวนคาเทส พาสาด หัวหน้ากลุ่มช่างอาวุโส การออกแบบยานยนต์และอินโฟโทรนิคส์ ฟอร์ด รีเสิร์จ แอนด์ อินโนเวชั่น จะทำหน้าที่เป็นวิทยากรพูดคุยในหัวข้อเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะในอนาคต และข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีด้านการขับขี่ และระบบการสื่อสารเกี่ยวกับพาหนะจะส่งผลต่ออนาคตของรถยนต์ส่วนบุคคลอย่างไร งานคอมพิวเท็กซ์จะจัดขึ้น ณ ไต้หวัน ที่ TWTC Nangang Exhibition Hall ระหว่างวันที่ 3-7 มิถุนายน 2557

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ