กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
ยอดผู้ใช้งานแท็บเล็ตโตขึ้นถึง 4 เท่า ไวกว่ายอดการใช้งานสมาร์ตโฟน สอดคล้องกับ ผลสำรวจล่าสุด “อีคอมเมิร์ซ อินเด็กซ์” จากราคูเท็น หนึ่งในผู้นำด้านตลาดออนไลน์และผู้เป็นเจ้าของราคูเท็นตลาดดอทคอมในประเทศไทย โดยจากการศึกษาเทรนด์การช้อปปิ้งใน 14 ตลาด พบว่ายอดการใช้งานแท็บเล็ตเพิ่มขึ้นถึง 41.9%ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดการใช้งานสมาร์ตโฟนโตเพียงแค่ 9.7% เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน
ราคูเท็นพบว่า มีผู้พึงพอใจในการใช้แท็บเล็ตในการช้อปปิ้งออนไลน์ถึง 6.1% ในขณะที่6.8% ชอบใช้สมาร์ตโฟน โดยสหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่มีผู้ใช้แท็บเล็ตมากที่สุดแซงแชมป์เก่าอย่างสหรัฐอเมริกา ด้วย 12.2% ของชาวอังกฤษผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่าชอบใช้แท็บเล็ตมากกว่า ขณะที่มีชาวอเมริกันเพียง 11.3% เท่านั้นที่ชอบใช้แท็บเล็ต
ในขณะที่อีกด้าน มีเพียง 0.7%ของนักช้อปชาวบราซิลเท่านั้นที่ชอบช้อปและใช้ประโยชน์จากแท็บเล็ต และนักช้อปชาวไทยก็เช่นกันที่ชอบใช้สมาร์ตโฟนในการช้อปถึง 13.3% ขณะที่ชาวไทยเพียงแค่ 8.5%นิยมการใช้งานแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เท่านั้น
แม้ว่าจะมีการเติบโตของเอ็มคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ทั้งนั้น คอมพิวเตอร์ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเพื่อใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ อย่างไรก็ตามยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการช้อปปิ้งทั่วโลกมีจำนวน 81.8% เมื่อเทียบกับ ปี 2556 ที่มี 83.2% ซึ่งหมายความว่า ยอดการใช้งานผ่านโมบายเพิ่มขึ้น 13.8% จาก12%ของเมื่อปีที่แล้ว สำหรับในประเทศไทย มีผู้ช้อปออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์57.3% และ 25.3%ที่ช้อปผ่านโมบายดีไวซ์
คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Rakuten TARAD.com กล่าวว่า "เรากำลังเฝ้าสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของวิธีการที่ผู้บริโภคใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ค้าปลีกผ่านช่องทางดิจิตอล หลังจากที่มีการเปิดตัว iPad จากค่าย Apple ส่งผลให้แท็บเล็ตกลายเป็นอุปกรณ์ที่ฮอตฮิตขึ้นมาทันที ด้วยหน้าจอที่ใหญ่กว่าสมาร์ตโฟน ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกสบายขึ้น แน่นอนว่า ใหญ่กว่า ย่อมดีกว่า แต่อย่างไรก็ดี มีร้านค้าจำนวนมากที่ไม่สามารถวัดประสิทธิภาพทางการค้าของเขาผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นได้ ร้านค้าอาจจะพลาดการใช้ประโยชน์จากจุดนี้ ซึ่งเราอาจจะใช้วิธีการเปิดประสบการณ์การใช้แท็บเล็ตให้กับนักช้อปเพื่อสร้างความประทับใจก็ได้เช่นกัน”
ช่วงปีที่ผ่านมาบางตลาดได้เล็งเห็น “ความเบื่อหน่ายทางสังคม” จากจำนวนการแนะนำสินค้าผ่านทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คที่ลดลง โดยจากผลสำรวจล่าสุดพบว่าเหลือเพียง 41.9% ซึ่งลดจำนวนลงจาก 44% เมื่อปี 2556 ส่วนในประเทศไทยพบว่า มีชาวไทยจำนวน 65% ที่ตอบแบบสอบถามมักจะค้นหาข้อมูลหรือรีวิวสินค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
คุณภาวุธ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “สังคมยังคงเป็นช่องทางที่สำคัญสำหรับร้านค้าที่จะดึงดูดนักช้อปและ 'crowdsource' กลุ่มคนที่คอยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ จากแง่มุมของผู้ที่มีโอกาสใช้งานจริง แนะนำผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดียยังคงเป็นช่องทางที่ดึงดูดใจให้ช้อปได้เป็นอย่างดี เช่นตอนนี้ นักช้อปต่างใช้ Pinterest หรือ Twitter ในการค้นหาสินค้าที่เขาต้องการซื้อและดูความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจ ซึ่งแน่นอนร้านค้าสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้ในการปฏิสัมพันธ์กับนักช้อปและแนะนำสินค้าได้เช่นกัน”
เสื้อผ้าและเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกออนไลน์ทั่วโลกแต่นักช้อปจากบราซิลและญี่ปุ่นกลับสวนทาง เพราะที่บราซิลนั้น สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมสูงสุด ด้วยจำนวนเกินครึ่งของสินค้าอื่น (55.1%) ขณะที่ญี่ปุ่น สิ่งที่นักช้อปนิยมมากที่สุดก็คือ การดาวน์โหลด หนังสือ หรือ นิตยสาร โดยนิยมสูงสุดถึง 59.7% จากสินค้าทั้งหมดที่ผู้คนจับจ่าย และสำหรับประเทศไทยของเรานั้น สินค้าที่ฮอตฮิตที่สุด ก็คือ สินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องประดับ 51.9% นอกจากนี้สินค้าประเภทที่ได้รับความนิยมตามมาก็คือ สินค้าจำพวกสุขภาพและความงาม สินค้าจำพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรองเท้า โดยคนไทยมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ออนไลน์น้อยที่สุด โดย 96.2% มีความพึงพอใจที่จะซื้อกับผู้ขายโดยตรงมากกกว่า