กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--กรีนพีซ
วันนี้ กรีนพีซยกย่องการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ให้ “ใบเหลือง” แก่รัฐบาลฟิลิปปินส์ต่อความล้มเหลวในการต่อสู้กับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไม่มีการควบคุม (IUU) ในประเทศ
นับตั้งแต่ปี 2553 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ระบุประเทศที่ถูกเรียกว่า “ประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ” ว่าไม่บรรลุพันธกรณีระหว่างประเทศต่อกรณีการตอบโต้การทำประมง IUU ประเทศที่เข้าข่ายน่าวิตกนั้นในขั้นแรกจะได้รับการเตือนอย่างเป็นทางการก่อนออกใบเหลือง ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่ปรับปรุงการจัดการทำประมงและนโยบายควบคุมเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับกฎหมายสากล ประเทศเหล่านั้นจะถูกขึ้นบัญชีดำและได้รับ “ใบแดง” ซึ่งผลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือการคว่ำบาตรหลายมาตรการ รวมทั้งการห้ามนำเข้า(1)
“หลายประเทศในสมาคมประชาชาติอาเซียนกำลังมุ่งสู่การรวมตลาดในปี 2558 การจับปลาอย่างผิดกฎหมายผ่านห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคจะทำให้เกิดมลทินให้กับอาเซียนทั้งหมด” มาร์ค เดีย เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร ระดับภูมิภาค กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “ความมุ่งมั่นทางการเมืองที่แข็งแกร่ง การบังคับใช้และการจัดสรรทรัพยากร พร้อมทั้งความร่วมมือในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะธุรกิจประมง จะต้องยุติวิธีการทำประมงที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ เพื่อให้ทะเลและมหาสมุทรของเรายังคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์”
ฟิลิปปินส์เห็นแนวโน้มการเพิ่มส่งออกทูน่ากระป๋องไปยังสหภาพยุโรปจาก 90 ล้านยูโร ในปี 2555 เป็น 100 ล้านยูโร ในปี 2556 ทั้งที่พิกัดอัตราภาษีศุลกากรสูงปีนี้(2) ฟิลิปปินส์ได้ยื่นขอลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อส่งเสริมรายได้ แต่กรณีนี้อาจไม่ส่งผลดีถ้าหากฟิลิปปินส์ไม่สามารถปรับปรุงการจัดการประมงให้ดีขึ้น ขณะที่กัมพูชาเพิ่งโดนขึ้นบัญชีดำเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมีกำหนดข้อห้ามผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของกัมพูชาบางชนิดวางจำหน่ายในสหภาพยุโรปตั้งแต่นั้นมา
ผลการศึกษาล่าสุดอ้างว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนสี่ประเทศส่งออกทูน่าที่จับมาอย่างผิดกฎหมายและส่งไปขายในสหรัฐฯ ประกอบด้วยไทย (ประมาณร้อยละ 25-40) เวียดนาม (ประมาณร้อยละ 25-35) อินโดนีเซีย (ประมาณร้อยละ 20-35) และฟิลิปปินส์ (ประมาณร้อยละ 20-32)
การทำประมง IUU ทั่วโลกนั้นประเมินมูลค่าให้กับภาครัฐได้ระหว่าง 10 เหรียญสหรัฐ ถึง 23.5 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (5) นอกเหนือจากต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำกัน IUU เป็นตัวขัดขวางการจัดการประมงเพราะการจับปลาจริงๆนั้นไม่มีการรายงานอย่างถูกต้อง ดังนั้นเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เกิดการทำประมงเกินขนาด ปลาจำพวกสัตว์เศรษฐกิจบางชนิดอาจสูญสิ้นไปแล้วก่อนจะมีมาตรการจัดการที่เป็นประโยชน์มาบังคับใช้ ในอินโดนีเซีย การประมงผิดกฎหมายสร้างความเสียหายมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีในมูลค่าโดยประมาณ (6)
“ท้องทะเลเป็นแหล่งทรัพยากรที่ต้องแบ่งปันกัน นอกจากนโยบายบนกระดาษแล้ว กลไกที่เข้มแข็งจะต้องมีการกำหนดเพื่อตอบโต้กับการประมงที่ผิดกฎหมายและเพื่อลดความจุของกองเรือประมงของอาเซียน โดยเริ่มจากผู้กระทำผิดมากที่สุด พร้อมๆกันนี้ รัฐบาลต่างๆควรกำหนดพื้นที่ขนาดใหญ่ของเขตอนุรักษ์ทางทะเลเพื่อให้ปลาที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้มีโอกาสเติบโตอย่างสมบูรณ์” มาร์ค เดีย กล่าวเพิ่มเติม