กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน
ฟรสอต์แอนด์ซัลลิแวน ชี้ แนวโน้มอุตสาหกรรมโทรนคมนาคมไทย ยังคงเดินหน้าต่อ
นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์ด้านไอซีที อาวุโส บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ว่า
“ในปี 2556 รายได้จากอุตสาหกรรมคมนาคม คิดเป็น 10 เปอร์เซนต์ ของ จีดีพีของประเทศ ดังนั้น การพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งชาติจึงเป็นเรื่องของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยปัจจุบัน การเข้าถึง อินเตอร์เน็ต บรอดแบนด์ของคนไทยมีเพียง 25 เปอร์เซนต์ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ดังนั้นจะเห็นว่ายังมีโอกาสในการเติบโตสูงมากทั้งด้านโทรคมนาคมแบบมีสายและไร้สาย ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ”
สำหรับตลาดคอนซูเมอร์ ปัจจุบัน ต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทมาก ไม่ว่าจะเป็น China Mobile (TRUE), Telenor (DTAC) หรือ Singtel (AIS) ทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการในการใช้งานของผู้บริโภคก็มากขึ้น โดยปัจจัยที่คอยขับเคลื่อนคือ ปริมาณการใช้งานด้านดาต้า และ โซเชียลมีเดีย รวมถึง วีดีโอคอนเทนต์ต่างๆ โดยปริมาณการใช้งานโทรศัพท์มือถือมีสูงถึง 130% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่มีเพียง 32% เท่านั้น ที่เป็นสมาร์ทโฟน
ในส่วนของตลาดองค์กร (Enterprise) ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก เนื่องจากประเทศไทยมีความต้องการในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และต้องการเป็น Hub ในภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งหากต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แน่นอนว่าต้องมีการลงทุนที่ชัดเจนตาม โรดแมพ ยุทธศาตร์ของประเทศ ซึ่งในปัจจัน ตลาดองค์กรได้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดาต้า เซนเตอร์, Network Connectivity ที่มีอัตราการเติบโตสูง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนยังได้เสนอแนะแนวทางการเดินหน้าอุตสาหกรรมโทรคนาคมไทย ดังนี้
ระยะสั้น (1-2 ปี): หลังจากที่คสช. ได้มีการสั่งชะลอ 4 โครงการหลัก ( 4G 1800 Mhz, 4G 900 Mhz, USO, และ ดิจิตอล ทีวี) โดยมีจุดประสงค์ให้พิจารณาการใช้งบประมาณนั้น ควรรีบดำเนินการอย่างรวดเร็ว และควรให้มีข้อสรุปภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนคาดการณ์ว่า การชะลอโครงการทั้ง 4 โครงการจะก่อให้เกิดความเสียหายในด้านโอการทางธุรกิจประมาณ 4 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1 พันล้านบาทในด้านการลงทุน และ 3 พันล้านบาทในด้านประสิทธิภาพการผลิตและการทำงาน
ดังนั้น จึงควรวางกลยุทธ์ หรือ Roadmap ให้ชัดเจน ในการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ บรอดแบนด์ เป็นต้น เพื่อมุ่งเน้นการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนไทยให้มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเช่อมั่นให้กลุ่มธุรกิจและการลงทุน รวมถึงยังเป็นพื้นฐานการศึกษาให้กับประชาชนที่อยู่ห่างำกล และสามารถตอบโจทย์ความต้องการขั้นพื้นฐานของประชากรอีกด้วย
ระยะกลาง (3-4 ปี): การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคจะมีความสำคัญมาก ซึ่ง การวางโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมที่ดี จะเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น ในช่วง 3-4 ปีนี้ การพัฒนาจึงควรมุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อในระดับภูมิภาคอินโดจีน โดยเฉพาะ Connection Backbone ที่เชื่อมต่อระหว่างระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ
ระยะยาว: ถ้าประเทศไทยสามารถเดินไปข้างหน้าได้ตาม Roadmap ที่วางไว้ เราจะมีความพร้อมในด้านการเป็น logistics และ technology hub แห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังนั้น การพัฒนาจึงควรเป็นไปในแนวทางที่เพิ่มประสิทธิภาพและเป็นการประยุกต์ใช้ในแต่ละ verticals เช่นภาคการเกษตร หรือสาธารณสุข ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย
นอกจากนี้ นายธีระ ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการที่ คสช. ได้สั่งทบทวนโครงการของ กสทช. ว่า จะมีผลกระทบโดยรวมในระยะสั้นๆ เพราะเป็นเพียงคำสั่งทบทวน มิใช่คำสั่งยกเลิก อย่างไรก็ตาม คิดว่า 4G และ USO ต้องเกิดขึ้นแน่นอนเพราะเป็นส่วนสำคัญในแผนการพัฒนาประเทศ และเป็นเครื่องยืนยันถึงนโยบายในการพัฒนา