ผลสำรวจบีเอสเอชี้ภัยคุกคามระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนไม่เลือกใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย

ข่าวเทคโนโลยี Friday June 27, 2014 10:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--Vero Public Relations อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศไทย ลดลง 1 จุด อยู่ที่ร้อยละ 71 ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระบุภัยคุกคามต่อระบบความปลอดภัยที่มีสาเหตุจากมัลแวร์ เป็นเหตุผลอันดับหนึ่งที่ทำให้ไม่เลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ ขณะที่พบข้อกังวลเฉพาะเรื่อง ได้แก่ การจู่โจมเข้ามายังระบบคอมพิวเตอร์โดยแฮกเกอร์ และการสูญหายของข้อมูล ผลสำรวจของบีเอสเอ ? พันธมิตรซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยในวันนี้ ระบุว่าร้อยละ 71 ของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งเพื่อใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศไทย เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้อง ข้อมูลดังกล่าวและข้อมูลอื่นในผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลก (Global Software Survey) ของบีเอสเอ ? พันธมิตรซอฟต์แวร์ ตอกย้ำถึงความจำเป็นที่องค์กร โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ต้องมีแนวทางการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ “การใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ คือ ปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลภายในองค์กร ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงการกำกับดูแลดังกล่าว” วิคตอเรีย เอสไพเนล ประธานและเจ้าหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงของบีเอสเอ ?พันธมิตรซอฟต์แวร์ กล่าว “องค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดก็ตาม สามารถดำเนินตามขั้นตอนพื้นฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของตนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน เช่น การจัดทำนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์โดยมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ การจัดทำบัญชีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ และหมั่นตรวจสอบความถูกต้อง นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจควรพิจารณาให้มีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางที่นานาชาติให้การยอมรับ การบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ให้ประโยชน์มากมาย จากการควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่ามีซอฟต์แวร์ตัวใดบ้างที่ติดตั้งเพื่อใช้งานในเครือข่าย ช่วยองค์กรธุรกิจหลีกเลี่ยงภัยคุกคามต่อระบบความปลอดภัยและระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ และทำให้แน่ใจว่าองค์กรธุรกิจมีจำนวนไลเซ้นต์ที่ถูกต้องเพียงพอสำหรับผู้ใช้งาน” ผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลก (Global Software Survey) จัดทำขึ้นปีเว้นปีโดยไอดีซี (IDC) ในปีนี้ไอดีซี (IDC) ได้สำรวจผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ใน 34 ประเทศ ครอบคลุมทั้งผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เป็นรายบุคคล และองค์กรธุรกิจเกือบ 22,000 ราย และที่เป็นผู้จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอีกกว่า 2,000 ราย ข้อมูลที่ค้นพบมีดังนี้ - มูลค่าเชิงพาณิชย์ของซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 28,500 ล้านบาท - เหตุผลหลักที่ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไม่เลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ คือ ต้องการหลีกเลี่ยงภัยคุกคามต่อระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ที่มีสาเหตุจากมัลแวร์ นอกจากนี้ ร้อยละ 64 ระบุ ความกังวลข้อแรกคือการจู่โจมเข้ามายังระบบคอมพิวเตอร์โดยแฮกเกอร์ ส่วนอีกร้อยละ 59 กังวลเรื่องการสูญหายของข้อมูล - ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั่วโลก แสดงความวิตกกังวลว่าซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อาจมีอันตราย อย่างไรก็ตาม น้อยกว่าครึ่งที่มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ในองค์กรของพวกเขามีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้อง - เพียงร้อยละ 32 ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยเท่านั้น ที่มีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เรื่องต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้องเท่านั้น “ผู้บริหารองค์กรในประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเชิงรุก เพื่อให้แน่ใจว่าสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ได้รับการบริหารจัดการอย่างดี เหตุเพราะมีภัยคุกคามที่เป็นอันตรายร้ายแรงมากมายต่อระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ เกินกว่าที่พวกเขาจะมองข้ามไปได้” คุณวารุณี รัชตพัฒนากุล ผู้แทนประจำประเทศไทยของบีเอสเอ ? พันธมิตรซอฟต์แวร์กล่าว “อัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ อย่างถูกต้องในประเทศไทย ปรับตัวลดลง 1 จุด นี่คือสัญญาณที่ดี อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงตามหลังประเทศคู่แข่งอื่นในเอเชีย ที่มีอัตราเฉลี่ยการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 62 นอกจากนี้ อัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้องในปัจจุบันของประเทศไทย ยังแสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงเรื่องการจัดการภัยคุกคามต่อระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ และเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายขององค์กรในประเทศไทย เพื่อสร้างบรรยากาศการค้าและการลงทุนเพื่อดึงดูดนักธุรกิจและนักลงทุนจากต่างประเทศ” กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และได้จัดทำแคมเปญเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย ในขณะที่ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทย ได้แก่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ยังประสบความสำเร็จ โดยบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรธุรกิจกว่า 300 แห่งที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ ปัจจัยทั้งสองมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้อัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้องในประเทศไทยปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ยังอาจมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจไทยติดอันดับอยู่ในกลุ่มองค์กรธุรกิจที่มีนโยบายเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ในองค์กร “อย่างไม่เป็นทางการ” โดยร้อยละ 58 ของผู้จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย เผยว่าผู้บริหารของพวกเขามีนโยบายเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ในองค์กร “อย่างไม่เป็นทางการ” ร้อยละ 58 เป็นอัตราที่สูงและจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราสูงสุดในจำนวน 20 ประเทศที่ทำการสำรวจ “ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะการตระหนักรู้เรื่องความจำเป็นที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้องในประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูง ถึงแม้จะเป็นแค่การตระหนักรู้ แต่ยังไม่มีนโยบายกำกับการใช้ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังก็ตาม” คุณวารุณีกล่าว “องค์กรธุรกิจจะได้รับประโยชน์มาก หากมีการจัดทำนโยบายอย่างจริงจังและเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ ผู้บริหารควรกำหนดให้ชัดเจนว่าสิ่งใดที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ พวกเขาสามารถเริ่มต้นโดยเข้าไปที่เว็บไซต์ www.verafirm.org เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์” ผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลกของบีเอสเอ ยังพบว่า - อัตราการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์อย่างถูกต้องบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 43 ในปี 2556 โดยประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ที่พบว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์มากที่สุด ยังคงสัดส่วนการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากที่สุดและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง - มูลค่าเชิงพาณิชย์ของซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 62,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2556 - ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตราโดยรวมของการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสูงที่สุดในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 62 เพิ่มขึ้น 2 จุดจากปี 2554 และมีมูลค่าเชิงพาณิชย์สูงถึง 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกตามมาเป็นอันดับสอง มีอัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอยู่ที่ร้อยละ 61 ตามมาด้วยลาตินอเมริกาที่ร้อยละ 59 และตะวันออกกลางและแอฟริกาที่ร้อยละ 59 เช่นกัน - ในยุโรปตะวันตก อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ลดลง 3 จุดมาอยู่ที่ร้อยละ 29 ในปี 2556 โดยมีมูลค่าเชิงพาณิชย์อยู่ที่ 12,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ในสหภาพยุโรป อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือไลเซ้นต์เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ลดลง 2 จุดมาอยู่ที่ร้อยละ 31 ในปี 2556 โดยมูลค่าเชิงพาณิชย์ที่ 13,500 เหรียญสหรัฐฯ ท่านสามารถดาวน์โหลดผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลกของบีเอสเอ ?พันธมิตรซอฟต์แวร์ ฉบับเต็ม รวมถึงข้อมูลเฉพาะรายประเทศ ได้ที่เว็บไซต์ของบีเอสเอ www.bsa.org/globalstudy.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ