กรุงเทพ--15 ก.ย.--วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล
วันนี้ วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนลได้เผยวิสัยทัศน์ระดับโลกเรื่องเงินตรายุคใหม่ ในการอภิปรายเรื่อง “การเปลี่ยนรูปแบบการชำระเงิน” ซึ่ง มร.เอ็ดมัน พี. เจ็นเซ่น ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่งวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล และประธานของวีซ่าระดับภูมิภาค 6 ท่าน เข้าร่วมอภิปราย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ได้เข้าใจถึงบทบาทของเงินตราอิเลคทรอนิคส์ในรูปเทคโนโลยีชิพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและคุณค่าต่อธุรกิจ ในอนาคต
มร. เจ็นเซ่น กล่าวว่า “ในอนาคตการชำระด้วยเงินสดและเช็คจะกลับไม่ปลอดภัย ซึ่งความต้องการความสะดวกสบาย กระแสโลกาภิวัฒน์ รวมถึงตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ ล้วนมีส่วนผลักดันให้เราคิดหาทางนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆในการชำระเงิน ซึ่งชิพการ์ดที่ผสานเข้ากับอินเตอร์เน็ตนี้จะช่วยเปลี่ยนรูปแบบการซื้อสินค้า โดยลูกค้าจะสามารถทำธุรกรรม อิเลคทรอนิคส์อย่างปลอดภัยได้ตลอดเวลาและทุกหนทุกแห่งทั่วโลก ทั้งนี้ชิพการ์ดจะเปรียบเสมือนลูกค้าพกธนาคารอยู่ในกระเป๋า”
ชิพการ์ดจะบรรจุด้วยไมโครชิพซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก ดังนั้นชิพการ์ดจึงมีคุณสมบัติและมีหน้าที่หลากหลายมากขึ้น
ด้วยความจุในการบันทึกข้อมูลของชิพการ์ด ลูกค้าจะสามารถชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ในรูปแบบเงินดิจิตอล หรือหักจากบัญชีเงินฝากธนาคาร นอกจากนี้ผู้ถือบัตรยังจะสามารถชำระเงินด้วยคูปองหรือบัตรสะสมคะแนนเช่นปรแกรมการสะสมไมล์ ซึ่งข้อมูลจะถูกบันทึกลงบนชิพ รวมถึงการบันทึกข้อมูลส่วนตัวลงบนบัตรเช่นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ และข้อมูลจำเพาะบุคคล
ชิพการ์ดเป็นส่วนหนึ่งของวีซ่า พาร์ทเนอร์ โปรแกรม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่วีซ่าฯมอบให้กับธนาคารทั่วโลก โดยชิพการ์ดจะเป็นเครื่องมือในการปฎิบัติงานและเป็นมาตรฐานที่ธนาคารต้องการมอบให้กับลูกค้า
นอกจากจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและลดความเสี่ยงของการทุจริต ในการใช้บัตรแล้ว ชิพการ์ดจะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยในการซื้อสินค้าบนอินเตอร์เน็ตและสร้างระบบการชำระเงินในตลาดที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้วีซ่าและธนาคารสมาชิกได้ออกชิพการ์ดมากกว่า 21 ล้านใบให้กับลูกค้าถึง 69 โปรแกรม ใน 24 ประเทศทั้ง 6 ทวีปทั่วโลกและอินเตอร์เนต
มร. เจ็นเซ่น กล่าวเสริมว่า “ใน 5 ปีข้างหน้า จะมีผู้ใช้บัตรของวีซ่ามากกว่า 1 พันล้านใบและจำนวน 1 ใน 3 ดังกล่าวจะเป็นบัตรชิพการ์ด ซึ่งนั่นยังถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น”
ส่วนหนึ่งของการอภิปราย มร.เดนนิส ก็อกกิ้น ประธานแห่งวีซ่าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค และมร.แฮนส์ แวน เดอ เวลด์ ประธานแห่งวีซ่าภาคพื้นยุโรป ได้กล่าวถึงรายละเอียดของการนำ ชิพการ์ดของวีซ่าซึ่งมีหลายหน้าที่นี้ไปใช้ในแต่ละภูมิภาค
ในเมืองแมนฮัตตัน ธนาคารเชส ซิตี้แบงค์ วีซ่าและมาสเตอร์การ์ด จะแนะนำโปรแกรมชิพการ์ดที่สามารถทำงานร่วมกันใบแรกของโลกในช่วงต้นเดือนตุลาคม และคาดว่าบัตรชิพการ์ด แบบสะสมมูลค่ากว่า 50,000 ใบ จะนำไปใช้ในร้านค้าจำนวนมากกว่า 500 แห่ง ซึ่งโครงการทดลองครั้งแรกนี้ ร้านค้าจะสามารถรับชิพการ์ดจากทั้งสี่สถาบันดังกล่าวในเครื่องรูดบัตรเดียวกัน ซึ่งเหมือนกับระบบการรับบัตรในปัจจุบัน
การเติบโตของวีซ่าและกลุ่มสมาชิกสถาบันการเงินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยยอดการชำระเงินผ่านบัตรวีซ่าในวันที่ 31 มีนาคม 2540 คิดเป็นจำนวนเงินถึง 176.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยยอดชำระเงินผ่านบัตรวีซ่าคิดเป็นมูลค่า 122.4 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และยอดการทำธุรกรรมต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ในจีนคิดเป็นมูลค่า 53.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ บัตรวีซ่าเป็นบัตรชำระเงินที่มีผู้ใช้มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค โดยขณะนี้จำนวนยอดการออกบัตรมีมากกว่า 104.1 ล้านใบ
วีซ่าเป็นระบบการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ “วิธีการชำระเงินที่ดีที่สุดในโลก” โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิกที่เป็นสถาบัน การเงินจำนวน 21,000 แห่ง รวมทั้งหน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ รวมไปถึงการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรวมของโลก วีซ่าเป็นผู้นำด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิ บัตรชิพโปรแกรม 65 โครงการทั่วโลก รวมทั้งโครงการวีซ่าแคช 6 ล้านใบ และวีซ่าเป็นผู้บุกเบิกระบบการทำธุรกรรมอิเล็คทรอนิคส์อย่างปลอดภัย หรือ Secure Electronic Transaction — SET ใน 25 ประเทศเพื่อการทำธุรกรรมการค้าอย่างปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต บัตรวีซ่ากว่า 600 ล้านใบได้รับการยอมรับจากร้านค้าจำนวนกว่า 14 ล้านแห่งทั่วโลก โดยมียอดรายได้คิดเป็นมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี นอกจากนี้ วีซ่าเป็นผู้ดำเนินเครือข่ายเอทีเอ็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนเครื่องเอทีเอ็มกว่า 370,000 เครื่อง
วีซ่ามีข้อมูลโฮมเพจในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ http://www.visa.com
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
กาญจนาวดี น้อยใจบุญ
โทรศัพท์ 252-9871-7
โทรศัพท์ 254-8353--จบ