มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉลองวันสถาปนาครบรอบ80 ปี เปิดตัว “ห้องสมุดดิจิทัล”

ข่าวทั่วไป Friday July 4, 2014 14:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ค.--ดีซี คอนซัลแทนส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉลองวันสถาปนาครบรอบ80 ปี เปิดตัว “ห้องสมุดดิจิทัล”โดยนำเสนอนวัตกรรมไอทีล่าสุดได้แก่ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติโอเพ่นซอร์สKohaการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการบริการยืมระหว่างห้องสมุดข้ามประเทศและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉลองวันสถาปนาครบรอบ 80 ปีแห่งการอภิวัฒน์สังคมไทย เปิดตัว ห้องสมุดดิจิทัล โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอนวัตกรรมด้านไอทีล่าสุด ได้แก่ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบเปิดเผยรหัส Koha ระบบตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ MyCatระบบการยืมระหว่างห้องสมุดข้ามประเทศ WorldShareILLและระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตอกย้ำพันธกิจในการเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไปด้วยบริการที่ดีเยี่ยม โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้งานง่าย เข้าถึงได้ทุกหนแห่งตลอด 24 ชั่วโมง ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งมา 80 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็น 8 ทศวรรษแห่งการอภิวัฒน์สังคมไทย และในโอกาสฉลองครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนาได้ผลักดันให้ มธ.เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ซึ่งจะทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร ด้านวิชาการและด้านการเงินการคลัง ปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเพิ่มจำนวนอาจารย์ในคณะที่ขาดแคลน เพื่อให้สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเปลี่ยนวิธีการสอนจากระบบ “อาจารย์บรรยาย นักศึกษาฟัง” มาสู่ระบบให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จะพัฒนามธ.ให้สามารถติดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในลำดับที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันในระดับเอเชีย มธ. อยู่ในลำดับที่ 107 แต่หลังจากนี้จะต้องอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า 100 ขณะที่ในประเทศไทย มธ. อยู่อันดับที่ 4 โดยตั้งเป้าจะขยับให้ขึ้นมาอย่างน้อยเป็นอันดับที่ 3 และหนึ่งในการพัฒนาของเรายังรวมถึงการพัฒนาห้องสมุดที่ได้รับการยกย่องว่ามีหนังสือด้านสังคมศาสตร์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย มาเป็นห้องสุดดิจิทัล ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มธ. ในนวัตกรรมที่ก้าวไปพร้อมกับการพัฒนามหาวิทยาลัยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงที่มาของห้องสมุดดิจิทัลว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 27 มิถุนายน 2557 มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมหลากหลายด้าน เช่น ด้านวิชาการ ด้านบริการสังคม ด้านกีฬาและนันทนาการ ด้านศาสนาและอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อสังคม โดยเฉพาะกิจกรรมด้านวิชาการที่จะแสดงให้ทราบถึงความก้าวหน้าในระดับโลกของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งของ มธ. ที่สนับสนุนการเรียนการสอนและบริการทางสังคม ซึ่งมีส่วนในการผลักดันความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้โดยมีการพัฒนาการดำเนินงานมาโดยตลอด ล่าสุด สำนักหอสมุดได้มีการพัฒนาไปสู่มาตรฐานระดับโลก นั่นคือ ห้องสมุดดิจิทัล ที่นำนวัตกรรมล่าสุดด้านไอทีมาใช้ ได้แก่ 1. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบเปิดเผยรหัส (Open Source) Kohaซึ่งเป็นการนำเสนอวิธีการสืบค้น วิธีการยืมหนังสือด้วยเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ วิธีการเข้าถึงหนังสือบนชั้นด้วยระบบ RFID 2. ระบบตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) MyCatซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ที่ พัฒนาขึ้นเพื่อให้กระบวนการจัดทำวิทยานิพนธ์เป็นไปอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การจัดส่งร่างวิทยานิพนธ์ การตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยใช้โปรแกรม CopyCat และการจัดรูปเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์3. ระบบการยืมระหว่างห้องสมุดข้ามประเทศWorldShare ILL เป็นระบบการยืมหนังสือข้ามประเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลของห้องสมุดกว่า 7 หมื่นแห่งทั่วโลก สามารถค้นหาหนังสือหรือผลงานวิชาการได้อย่างแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว พร้อมให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสช่วยผู้ใช้ห้องสมุดให้มีโอกาสเข้าถึงความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก นับเป็นการขยายพรมแดนการเข้าถึงและการให้บริการจากระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับโลก นอกจากนี้ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีพันธกิจหลักในการผลิตหนังสือวิชาการให้กับมหาวิทยาลัยยังได้ร่วมมือกับพันธมิตร คือ บริษัท บุ๊คโปรโมชั่นแอนด์เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์อันยาวนานในการจัดทำฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในการผลิต e-book เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดในการให้บริการสืบค้น และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยสามารถใช้บริการได้ไม่จำกัดปริมาณผู้เข้าใช้ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยในเบื้องต้น e-book จะอยู่ในรูปของการบริการทางวิชาการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งสำนักพิมพ์ได้รับความอนุเคราะห์ต้นฉบับจากหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ สำหรับ e-book เพื่อการจำหน่ายในโอกาสต่อไปจะเป็น e-book ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ