กรุงเทพฯ--7 ก.ค.--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ก.พ.ร. เปิดตัว "คู่มือการประกอบธุรกิจในประเทศไทย 2558" 4 ภาษา รวบรวมข้อมูลกระบวนการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งจนถึงเลิกธุรกิจให้แก่นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย หวังให้การประกอบธุรกิจในไทยมีความง่าย คล่องตัว สะดวก และรวดเร็ว นอกจากนี้ ก.พ.ร. ยังให้ ความสำคัญ กับการขับเคลื่อนระบบการทำงานของภาครัฐในหลายๆอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ ร่วมมือกับกรมศุลกากรในการผลักดัน National Single Window โดยเน้นการเชื่อมโยงฐานข้อมูล เป็นหนึ่งเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความคล่องตัวในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า
นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำ “คู่มือการประกอบธุรกิจในประเทศไทย 2558” (Doing Business in Thailand 2015) โดยความ ร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 18 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กรมที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากร กรมศุลกากร การท่าเรือ แห่งประเทศไทย กรมบังคับคดี สำนักงานศาลยุติธรรม และศาลแพ่ง เพื่อช่วยให้นักลงทุนและผู้ประกอบการ ต่างๆทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้เข้าใจกระบวนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย นับแต่เริ่มต้นธุรกิจ จนถึงปิดกิจการ ซึ่งนำเสนอด้วยรูปแบบของ Infographic ที่เข้าใจได้ง่าย ถึง 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น
นายพงษ์อาจ เปิดเผยว่า คู่มือฉบับนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจกระบวนการดำเนินธุรกิจในประเทศ ไทยแล้ว ยังส่งผลให้ธนาคารโลกนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดอันดับ "ความยาก-ง่ายในการประกอบ ธุรกิจ" (Ease of Doing Business) ของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ธนาคารโลกกำลังอยู่ในระหว่างการ วิเคราะห์และ จัดทำรายงานผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ 2558 และจะประกาศผลการจัดอันดับในเดือน ตุลาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งผลการจัดอันดับดังกล่าวจะเป็นข้อมูลให้กลุ่มนักลงทุนทั่วโลกใช้ประกอบการตัดสินใจในการ เข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ โดยในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับการจัดอยู่ในอันดับ 18 จาก 189 ประเทศ ทั่วโลก เป็นอันดับ 6 ในเอเชีย และอันดับ 3 ในอาเซียน
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ร่วมผลักดันระบบ National Single Window ในการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เป็นหนึ่ง เดียวให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยขยายการใช้งานให้ครอบคลุมทุกประเภทสินค้า รวมถึงกำหนดให้มีการติดตาม สถานะของการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆและเพิ่มรูปแบบการให้บริการ ซึ่งจะช่วยให้การค้าระหว่าง ประเทศมีความคล่องตัว" รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวพร้อมให้รายละเอียด ว่าในรอบปีที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้ ดำเนินการพัฒนาการบริการในหลายด้านตามตัวชี้วัดของธนาคารโลก ได้แก่
1)? ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าปรับปรุงความสะดวกแก่ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอจด ทะเบียนแบบข้ามเขตจังหวัด และจดทะเบียนได้ที่ศูนย์บริการแห่งใดก็ได้
2)? ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง กรุงเทพมหานครขยายช่องทางบริการให้สามารถขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ทุกประเภท ยกเว้นอาคารสูง และอาคารใหญ่พิเศษ ได้ที่สำนักงานเขตที่ตั้ง
3)? ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน กรมที่ดินลดค่าธรรมเนียม เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ใน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น และพัฒนาระบบ สารสนเทศที่ดินในสำนักงานที่ดิน 70 แห่ง ให้มีฐานข้อมูลกลางที่สนับสนุนการทำงานของกรมที่ดินและรัฐบาล รวมทั้งเพิ่มช่องทาง การชำระเงินผ่าน e- Payment และนัดจดทะเบียนล่วงหน้า
4)? ด้านการได้รับสินเชื่อ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้ขยายฐานข้อมูลเครดิตให้ครบถ้วนมากขึ้น โดยให้นิติบุคคล ที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาล่วงหน้าตามกฎหมาย สามารถเป็นสมาชิกบริษัทได้
5) ? ด้านการชำระภาษี กรมสรรพากรได้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือนำเข้าทุกกรณี ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% ขณะที่กรุงเทพมหานครนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เพิ่มทางเลือกให้ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ ยื่นแบบชำระภาษีได้ที่สำนักงานการคลัง และสามารถชำระ ภาษีได้ทุกสำนักงานเขต ผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
6)? ด้านการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ ให้มีผลบังคับใช้กับ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนกรมศุลกากรร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย และกรมเจ้าท่า ดำเนินการ เชื่อมโยงข้อมูลรายงานเรือเข้า และบัญชีสินค้าสำหรับสินค้าเรือ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถส่งข้อมูลรายละเอียด ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงครั้งเดียว ผ่าน National Single Window ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้ กรมศุลกากรยังพัฒนาระบบการรับข้อมูลประกอบใบขนสินค้าในรูปแบบเอกสารแนบข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้งานร่วมกับระบบการผ่านพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับลดขั้นตอนและ เอกสารระหว่างส่วนราชการ พัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล ใบอนุญาต/ใบรับรอง ทำให้สามารถขอและออก ใบอนุญาตครบวงจร ณ จุดเดียว
7)? ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง กรมบังคับคดีที่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้กับกระบวนการต่างๆ ได้แก่
e-filing หรือ การจัดการสำนวนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์, e-service หรือ การส่งหมายและคำคู่ความ โดยใช้ระบบ GPS, e-broadcast หรือ การถ่ายทอดสดการขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์ และ e- payment หรือ การจ่าย เงินให้คู่ความผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คดีเสร็จอย่างรวดเร็วและถูกต้องเป็นธรรม รวมทั้งตั้งศูนย์บริการ ครบวงจรให้บริการแก่คู่ความและประชาชนในการบังคับคดี ทั้งการยึด อายัด หรือรับเงินในคดีให้คู่ความสามารถ ลงนัดติดต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีล่วงหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต
คู่มือดังกล่าวได้อธิบายและแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจในประเทศไทยครบทั้งวงจร ตั้งแต่ การจัดตั้งธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้ไฟฟ้า การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองนักลงทุน การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และการแก้ไข ปัญหาล้มละลาย โดยข้อมูลต่างๆ ได้ถูกนำเสนอในรูปแบบที่เรียบง่าย และสะดวกในการทำความเข้าใจตรงตาม วัตถุประสงค์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ในการ “MAKE SIMPLE BE MODERN” ซึ่งผู้สนใจสามารถ download คู่มือได้ที่ www.opdc.go.th และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณา ติดต่อโดยตรงได้ที่ goodservice@opdc.go.th