โครงข่าวดาวเทียมเคเบิลต้องร่วมรับผิดชอบปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคในช่องดาวเทียม

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday July 15, 2014 14:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.ค.--กสทช ความคืบหน้าสำหรับโครงข่ายกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำหรับให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ ประเภทบอกรับสมาชิก ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีประกาศฉบับที่ 27 เรื่องการถ่ายทอดการออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอลและสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ได้ให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่ได้รับอนุญาต ออกอากาศได้ตามปกติผ่านทางโครงข่ายระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิลแบบบอกรับสมาชิกเท่านั้น โดยวันอังคารที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา นางสาว สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้เชิญโครงข่ายทั้งหมด 19 โครงข่าย จากทั้งหมด 21 โครงข่าย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อให้มีแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกับช่องรายการ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้โครงข่ายจากผู้รับใบอนุญาตฯ ซึ่งนาวสาวสุภิญญา กล่าวว่า คณะอนุกรรมได้เสนอให้ ผู้ประกอบการต้องปรับตัว โดยรวมตัวกันเพื่อช่วยกันกำกับดูแลเนื้อหา การโฆษณาหลอกลวง เพราะหากเรื่องมาถึง กสทช. แล้วจะเป็นการใช้ดุลพินิจของกรรมการ หลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ ทั้งนี้ แนวทางการกำกับดูแลของ กสทช. หากพบการกระทำที่ผิดกฎหมายจะดำเนินการกับช่อง และหากมียังพบกระทำความผิด จะขอความร่วมมือกับโครงข่ายเพื่อดำเนินการระงับ หรือไม่ให้ออกอากาศ ทั้งนี้หากโครงข่ายไม่ดำเนินการใดๆ กสทช. ก็มีสิทธิที่ปรับ เพิกถอนใบอนุญาตโครงข่ายได้เช่นเดียวกัน จึงขอความร่วมมือในการทำตามเงื่อนไขมาตรฐานสัญญา และดำเนินการตามประกาศ การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคฯ พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะในข้อ 5 ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค “ทั้งนี้ผู้ประกอบกิจการโครงข่ายเอง ได้เสนอให้ สำนักงานกสทช. ดูแลและกำกับโครงข่ายเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาตด้วย เพราะทุกวันนี้ผู้ประกอบการทั้งหมดยินยอมเข้ามาอยู่ในระบบดังกล่าวแล้ว ต้องไม่ให้มีคู่แข่งที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ได้ นอกจากนี้มีผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไม่ค่อยเห็นด้วยที่ต้องให้มาแบกรับภาระต้นทุนการกำกับดูแลเนื้อหาที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ นอกจากนี้มีคำถามด้วยว่า กรณีโฆษณาที่รายการจาก ต่างประเทศส่งมา โดยที่ช่องตัดไม่ได้ จะผิดหรือไม่ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบกิจการควรจะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคและดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” นางสาวสุภิญญา กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ