กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (เอชดีเอส) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) รุกตลาดบรอดแคสต์เต็มตัว เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ล่าสุดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล คอนเทนท์ ไฟล์ และมีเดีย (Media Asset Management - MAM) เพื่อตอบสนองระยะเวลาในการทำการตลาด สร้างคุณภาพการผลิต สนับสนุนการทำงานของธุรกิจสื่อ บันเทิง และการผลิต แบบเต็มรูปแบบ พร้อมลงสนามแข่งขันยุคทีวีดิจิทัล ฟังก์ชั่นการทำงานโดดเด่น ดึงดูดกลุ่มคนดูได้ เชื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างดี
นายมารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (HDS) เปิดเผยว่า จากการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจตลาดบรอดแคสต์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันธุรกิจผลิตสื่อ และการบันเทิง (Media & Entertainment) มีความต้องการที่ใช้ระบบไอทีมาช่วยอย่างมาก ทั้งในแง่ของฝ่ายสร้างสรรค์สื่อ (Content Creator) ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตสื่อและการบันเทิง, ธุรกิจในระหว่างขั้นตอนการผลิต, ธุรกิจผู้ผลิตเกมส์ และธุรกิจผลิตงานโฆษณา ต่างก็มีความท้าทายเดียวกันคือ การสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาได้ในเวลาที่จำกัด เพื่อให้ทันต่อความต้องการในทำการตลาด และต้องเร่งผลิตแข่งกับเวลา โดยที่คุณภาพของงานไม่ลดลง และต้องคุ้มทุนสูงสุดจากการลงทุน เพื่อให้ผลงานที่ออกมาถูกถ่ายทอดไปสู่สื่อต่างๆ (Content delivery) เช่น ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือสื่อแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเนื่องจากการขยายตัวในทั้งสมาร์ทโฟน และโซเชียลมีเดีย ซึ่งต่างก็มีเป้าหมายที่จะเพิ่มและรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ ด้วยการสร้างคุณภาพการบริการ และต้องการลดค่าใช้จ่ายด้าน Capex/Opex เพื่อสร้างความได้เปรียบในราคาขายและต้นทุนการผลิต
ฝ่ายสารสนเทศของธุรกิจจึงมีความท้าทายอย่างมากในการต้องตอบโจทย์ธุรกิจเหล่านี้ การบริหารจัดการคอนเทนท์ และไฟล์ต่างๆ (Media Asset Management - MAM) เป็นเรื่องสำคัญและมีความซับซ้อน เพราะขั้นตอนต่างๆ เปรียบเหมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงในธุรกิจ ไม่ใช่เพียงแต่ด้านคุณภาพ แต่ในเรื่องของเวลาในการทำการตลาดด้วย นอกจากนี้ยังต้องรวมถึงความต้องการในการจัดเก็บ ทั้งในรูปแบบของไฟล์การผลิต (Production File) และไฟล์เพื่อการเผยแพร่ (Final delivery file) เพื่อให้สามารถใช้ หรือนำกลับมาใช้ได้อีกเมื่อต้องการ นอกจากนี้ระบบจัดเก็บเพื่อค้นหาในระยะยาว (Archive) และจัดเก็บเพื่อการสำรองข้อมูล (Disaster Recovery) ก็เป็นเรื่องที่สำคัญด้วย
ด้วยประสบการณ์ของ HDS ที่มีลูกค้าในธุรกิจผลิตสื่อและการบันเทิง (Media & Entertainment) กว่า 1000 รายใน 100 ประเทศ มีรายได้กว่า 500 ล้านบาทต่อปี ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ เกิดจากการที่ HDS มีเครือข่ายและพันธมิตรเทคโนโลยี ที่จะสามารถช่วยลูกค้าแบบครบวงจร อาทิเช่น ผู้นำเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นระดับโลกเฉพาะทางธุรกิจ Media & Entertainment เช่น Dalet, SeaChange, Autodesk Maya, Pixar’s Render Man, Max 3ds, Sony, Grass Valley ฯลฯ รวมทั้งผู้นำในระบบเน็ตเวิร์ค เช่น Brocade, Cisco, Quantum, ฯลฯ
HDS ตระหนักดีถึงขั้นตอนการผลิตสื่อและการบันเทิง ตั้งแต่ 1) การรวบรวมคอนเทนท์(Capture Content) จากอุปกรณ์ต่างๆ และมาจากที่ต่างๆทั่วโลก เช่น กล้องดิจิทัล, กล้องโทรทัศน์, กล้องเว็บแคม หรือแม้แต่กล้องมือถือ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตสื่อและการบันเทิงต้องการ คือ ให้คอนเทนท์เหล่านี้ สามารถนำมาทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ และสามารถส่งต่อไปใช้งานได้ทันเวลา 2) ขั้นตอนการผลิตหลังการถ่ายทำ (Post Production) หลังจากที่คอนเทนท์ถูกรวบรวมเรียบร้อยแล้ว จำเป็นจะต้องมีการแก้ไข ตัดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการมิกซ์เสียง, การใส่แสง, ใส่สี, การทำเลย์เอาท์, กราฟฟิก, การเรนเดอร์ (rendering), การทำแอนิเมชั่น รวมถึงการใส่ สเปเชียลเอฟเฟค, 2D, 3D และ CGI animations 3) การถ่ายโอนไฟล์ (Transcoding) จาก format หนึ่งไปอีก format ส่วนใหญ่แล้วเป็นการเปลี่ยนจาก High resolution format ไปยัง Low resolution format เพื่อให้สอดคล้องกับแอพพลิเคชั่นในอุปกรณ์ต่างๆ และ 4) การถ่ายทอด เผยแพร่ข้อมูล (Distribution Delivery) ด้วยแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน เช่น ทีวี, ยูทูป, DVD ฯลฯ ระบบเซิฟเวอร์ต้องมีความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ และส่งมอบไปยังแพลตฟอร์มที่มีความหลากหลายทั้ง codex, ขนาด, ชนิดของไฟล์ ได้อย่างเร็ว
นายมารุต กล่าวเพิ่มเติมว่า และเพื่อที่จะรองรับความต้องการเหล่านี้ได้ องค์กรจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ที่สามารถตอบโจทย์ได้ อาทิเช่น ต้องมี ระบบเซิฟเวอร์ สตอเรจที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงระบบ Network Attached Storage – NAS ที่สามารถรองรับ Input/Output Operation per Second – IOPS ขนาดใหญ่ การมิกซ์, การทำงานอย่างต่อเนื่อง, การเรียกดูข้อมูล และการบันทึกข้อมูล , รองรับการทำ cache non-real-time streaming และ มีระบบเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชัน เพื่อที่จะรองรับความต้องการในแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในแต่ละขั้นตอน ซึ่งโดยปกติจะเป็นการมีระบบ NAS หลายระบบเพื่อที่จะเชื่อมต่อ Block Storage สำหรับสตรีมไฟล์ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ bandwidth สูงในแบบเรียลไทม์ หรือกับข้อมูลที่ผ่านเครือข่ายที่เร็ว (low latency) รวมถึงการที่จะต้องมีโซลูชั่นที่จะบริหารจัดการสินทรัพย์ข้อมูลคอนเทนท์ระหว่างการผลิต การรักษาในระยะยาว
ในหลายๆองค์กรมักจะใช้ระบบเทปในการจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้บางที่อาจจะใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งเข้ามาช่วย เนื่องจากจะช่วยลด CAPEX และช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการประสานงานในการดำเนินธุรกิจ องค์กรจึงมองเห็นระบบคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความต้องการในประสิทธิภาพงาน ความยืดหยุ่น ความพร้อมใช้ และความปลอดภัย จะพบว่าหลายๆองค์กรมีระบบไอทีที่ใช้มานานและยังใช้ได้อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ปัจจุบันแนวโน้มของ HD, 3D และ Format อื่นๆที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การรักษาเวลาในการส่งมอบคอนเทนท์ เพื่อเผยแพร่ออกไปสู่กลุ่มผู้ชมให้ทันเวลาทำได้ยากมาก รวมถึงการบริหารจัดการ (MAM) ดังกล่าวไปก็ซับซ้อนมากขึ้นด้วย
ความท้าทายขององค์กรก็คือ ความเร็ว, ประสิทธิภาพในการทำงาน, คุณภาพ, และค่าใช้จ่ายต้นทุนในการผลิต ทั้งนี้ HDS สามารถนำเสนอโซลูชั่นให้ธุรกิจ Media & Entertainment แบบครบวงจร ได้แก่
1. (Hitachi Unified Storage File Module หรือ HNAS) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ workflow ในงาน เป็นระบบ Tier storage อัจฉริยะ ที่เพิ่มลดขนาดได้ตามต้องการ ซึ่งในส่วนฮาร์ดแวร์ใช้เทคโนโลยี Field Programmable Gate Array (FPGA) ซึ่งเป็น high performance architecture ทำให้การ IO (Input) และ Throughput ดีขึ้น การเรนเดอร์ภาพ และการดาวน์โหลดเร็วขึ้น ลดภาระงานที่คั่งค้างในระบบ Throughput และทำให้เวลาการการถ่ายแปลงไฟล์ลดลง ส่งผลให้ระยะเวลาการถ่ายโอนไฟล์ในระบบ WAN ลดลงด้วย เมื่อเทียบกับเวนเดอร์รายอื่นๆ เพราะแพลตฟอร์ม HNAS สามารถรองรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ในการตัดต่อ ด้วยระดับความเร็วกว่า 5GB ต่อวินาที ของ sequential throughput
2. ในส่วนของ Storage Area Network (SAN) นั้น HDS ยังได้ร่วมกับพันธมิตรอื่นๆเช่น Brocade, Cisco ฯลฯ ในการนำเสนอระบบ เพื่อการการเข้าถึงระบบ Block Storage ทำให้สามารถสตรีมไฟล์ใหญ่ที่ต้องใช้ bandwidth สูงในแบบเรียลไทม์ หรือกับข้อมูลที่ผ่านเครือข่ายที่เร็ว (low latency) และสร้างประสิทธิภาพสูงใน sequential read & write ต่อไปยังระบบการเก็บไฟล์เช่น HNAS หรือ Hitachi Content Platform (HCP)
3. Hitachi Unified Storage (HUS) รองรับ Block file object data ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และ ขนาดในการจัดเก็บข้อมูล องค์กรสามารถเพิ่มระบบได้ตามความต้องการ ความคุ้มค่าของระบบสตอเรจนั้นรวมถึงการช่วยเร่งเวลาในการทำการตลาด ในขณะที่ต้องช่วยลดค่าใช้จ่าย และความสามารถในการสืบค้นข้อมูล (Random data) การสตรีม sequential video และการ ingest คอนเทนท์ และความสามารถในการบริหาร workload ที่หลากหลายได้ในแพลตฟอร็มเดียว โซลูชั่นในกลุ่ม Hitachi Unified Storage 100 family นี้ สามารถรองรับได้ถึง 5GB ต่อวินาทีของประสิทธิภาพการทำงาน sequential ด้วยระบบเดียว
4. Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลปริมาณมากๆ เช่น กิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือการสร้างภาพยนต์ขนาดใหญ่ เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้สามารถรองรับได้ถึง 12GB ต่อวินาทีของประสิทธิภาพการทำงาน sequential ในระบบเดียว
5. นอกจากนี้ HDS ยังเป็นผู้นำในด้านการทำสตอเรจเวอร์ชวลไลเซชั่น ซึ่งช่วยในเรื่องการบริหารจัดการ Unified workflow ข้ามอินฟราสตรักเจอร์ขนาดใหญ่ในองค์กรธุรกิจผลิตสื่อและงานบันเทิง
6. Hitachi Content Platform (HCP) ซึ่งเป็นโซลูชั่น Object Storage ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Cloud Storage Excellence Award ปี 2013 ช่วยในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลของสื่อและการค้นหาในระยะยาว และในเรื่องบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งาน (Multi-tenancy) ภายใต้การบริหารจัดการบนแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งองค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องใช้ระบบเทป
7. Hitachi Unified Compute Platform (UCP) เป็น แพลตฟอร์ม Converged Infrastructure ที่รวมระบบเซิฟเวอร์, ระบบสตอเรจ และระบบเน็ตเวิร์คเข้าด้วยกัน พร้อมซอฟแวร์ในการจัดการ ช่วยลดความยุ่งยากในด้านฟังก์ชันการจัดการ ทั้งนี้เพื่อทำงานสนับสนุนปริมาณงานมากๆที่สำคัญๆ (Mission Critical workload) ลดค่าใช้จ่าย ซึ่ง HDS สามารถจัดสรรแอพพลิเคชั่นได้ตามต้องการ สามารถช่วยในการทำ Pre-test Infrastructure และการรองรับระบบคลาวด์ ทั้งระบบ Private Cloud, Hybrid Cloud, Public Cloud , และการบริหารจัดการอื่นๆ
“ธุรกิจบรอดแคสต์ ผู้ผลิตสื่อ คอนเทนท์ และรายการต่างๆ ต่างต้องการแนวทางที่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในแต่ละขั้นตอนการผลิต องค์กรควรจะใช้สินทรัพย์ข้อมูลคอนเทนท์และสร้างโอกาสในการถ่ายทอดสื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โซลูชั่นของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ และ แอพพลิเคชั่น MAM จะช่วยให้องค์กร ทั้งในธุรกิจผู้ผลิตสื่อและการบันเทิงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สามารถตอบสนองความต้องการในบริหารจัดการข้อมูลใน MAM และ สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างชัดเจน” นายมารุต กล่าวทิ้งท้าย