กรุงเทพฯ--30 ก.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
การบรรจุหีบห่อด้วยวัสดุและวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยปกป้องพัสดุภัณฑ์หรือสินค้าในระหว่างการขนส่งไปสู่จุดหมายปลายทาง ทั้งนี้ ในการบรรจุหีบห่อ เราจะต้องพิจารณาว่า สินค้าหรือพัสดุภัณฑ์นั้น ๆ มีขนาด น้ำหนัก รูปร่าง ความเปราะบางแตกหักง่าย และคุณค่ามากน้อยเพียงใดดีเอชแอลมีเคล็ดลับง่าย ๆ และคำแนะนำดี ๆ ในการเตรียมจัดส่งสินค้าหรือพัสดุไปต่างประเทศ ดังนี้
เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้อง
1. กล่อง - เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมากที่สุดในการบรรจุสินค้าเพราะมีให้เลือกหลายขนาด รูปร่างและประเภทของวัสดุ กล่องมีให้เลือกมากมายตามระดับความจุที่แตกต่างกัน กล่องที่มีผนังสามด้านช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน และการปกป้องมากขึ้น อย่างไรก็ตามระดับการป้องกันจะลดลงหลังการใช้งาน เหมาะสำหรับสินค้าประเภทสิ่งพิมพ์ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และวัสดุน้ำหนักเบา
2. ซองกระดาษ - ซองกระดาษลูกฟูกขนาดต่าง ๆ เหมาะสำหรับสินค้าประเภทเอกสารน้ำหนักเบาโดยปกติแล้วซองที่บุด้วยกระดาษลูกฟูก หรือพลาสติกกันกระแทกจะใช้สำหรับส่งสิ่งของอย่างเช่น แผ่นดิสก์ เทป หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก
3. ท่อ - ใช้สำหรับส่งเอกสารหรือวัสดุสิ่งพิมพ์ที่ต้องม้วน หรือห้ามพับ เหมาะสำหรับจัดส่งสินค้าประเภทแผนที่ พิมพ์เขียว แบบสถาปัตยกรรม ภาพเขียนหรือภาพวาด และโปสเตอร์ต่าง ๆ
4. ลังไม้ - ช่วยป้องกันสินค้าที่แตกง่ายได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใช้บรรจุวัสดุชิ้นเดียวที่มีน้ำหนักมาก และ/หรือมีขนาดใหญ่กว่า 60 ซม. x 60 ซม. x 30 ซม. เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าประเภทเครื่องยนต์ของรถยนต์ ภาพเขียนใส่กรอบ และรูปปั้น
5. ลังโลหะ – ช่วยปกป้องสินค้าที่แตกง่ายได้อย่างดีเยี่ยม เช่น งานศิลปะ และเหมาะสำหรับบรรจุวัสดุชิ้นเดียวที่มีน้ำหนักมาก เช่น เครื่องยนต์ของเครื่องบิน
6. ลังพลาสติก - ช่วยปกป้องสินค้าที่ไวต่ออุณหภูมิ หรือสินค้าในรูปของเหลว/กึ่งของเหลวได้อย่างดี เหมาะสำหรับบรรจุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องดนตรี
บรรจุหีบห่อด้วยวิธีที่ถูกต้อง
1) วิธีบรรจุหีบห่อเบื้องต้น เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่แตกง่ายอย่างเช่น สิ่งพิมพ์ ชิ้นส่วนเครื่องจักรและชิ้นส่วนโลหะ
1. ใส่สินค้าไว้ในถุงพลาสติกเพื่อลดผลกระทบจากความชื้นและลดการเกิดคราบเปื้อน
2. ใส่ชิ้นส่วนขนาดเล็ก เช่น เดือยเกลียว ตะปู เฟือง หรือแบริ่งลงในกล่องแยกและปิดผนึก
3. ใส่ 1. และ 2. ลงในกล่องและเติมเต็มช่องว่างด้วยกระดาษก้อน พลาสติกกันกระแทก
หรือเม็ดโฟมกันกระแทก
4. ปิดผนึกกล่อง
2) การบรรจุสินค้าภายใน เหมาะสำหรับวัสดุที่แตกง่าย ขนาดใหญ่ หรือแบน เช่น กรอบรูป งานหินอ่อน
นาฬิกา เป็นต้น
1. ห่อหุ้มสินค้าด้วยพลาสติกกันกระแทกอย่างมิดชิดและมีความหนาอย่างน้อย 4 นิ้วเพื่อเป็นตัวลดแรงกระแทกอย่างดี
2. นำสินค้าที่ห่อหุ้มพลาสติกวางลงในกล่องและเติมเต็มช่องว่างด้วยเม็ดโฟมกันกระแทก
3. ปิดผนึกกล่อง
3) การบรรจุสินค้าแบบ box-in-box เหมาะสำหรับวัสดุที่แตกง่าย มีขนาดเล็ก บางและไม่เป็นรูปทรง
เช่น แจกัน แก้วน้ำ โคมไฟ และแผงไฟฟ้า
1. เตรียมกล่อง 2 กล่องที่มีขนาดต่างกันอย่างน้อย 7 นิ้ว
ทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง
2. หุ้มทุกเหลี่ยม ทุกมุม และทุกแง่ของสินค้า จากนั้นห่อคลุมทั้งหมดด้วยพลาสติกกันกระเเทก
3. ใส่ลงไปในกล่อง 1 และเติมเต็มช่องว่างด้วยเม็ดโฟม
กันกระแทก จากนั้นปิดผนึก
4. หุ้มกล่อง 1 ด้วยพลาสติกกันกระแทกให้หนาอย่างน้อย 4 นิ้ว
5. นำกล่อง 1 ที่ปิดผนึกและหุ้มแล้ววางลงไปในกล่อง 2 จากนั้นเติมเต็มช่องว่างด้วยกระดาษก้อน พลาสติกกันกระแทก
เม็ดโฟมกันกระแทก และปิดผนึก
วิธีปิดผนึกอย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้เทปกาวเหนียวที่มีความกว้างตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไปปิดผนึกในรูปตัวเอช (H-Shape) ทั้งบนฝาและก้นกล่อง เพื่อให้กล่องมีความแข็งแรงแน่นหนามากที่สุด
ระบุเครื่องหมายแสดงการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือพัสดุที่ถูกต้องการใช้เครื่องหมายแนะนำการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือพัสดุอย่างเหมาะสมจะทำให้การดูแลขนถ่ายสินค้าหรือพัสดุระหว่างการขนส่งเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม สำหรับเครื่องหมายแนะนำการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่นำมาใช้มากที่สุด มีดังนี้
สัญลักษณ์ลูกศรชี้ขึ้น – ระบุทิศทางการขนถ่ายเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้าหรือพัสดุในระหว่างการขนส่งให้อยู่ในแนวตั้งเท่านั้น