กรุงเทพฯ--1 ส.ค.--สถาบันอาหาร
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2557 ภาพรวมยังอยู่ในแดนบวกที่ระดับ 55.0 คาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้า(ก.ค.-ก.ย.)มีแนวโน้มบวกต่อเนื่องจะขึ้นไปยืนที่ระดับ 57.7 โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขายจากตลาดต่างประเทศ ส่วนตลาดในประเทศเริ่มกลับสู่ภาวะปกติและฟื้นตัวอีกครั้ง ขณะที่วัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและพายุ ยังคงเป็นโจทย์สำคัญที่ภาคธุรกิจต้องลดความเสี่ยง
นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่าศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ได้รายงานผลการสำรวจ CEOs Food Index หรือความเชื่อมั่นของผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยครอบคลุมกิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นหลัก พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในภาพรวมทุกกลุ่มสินค้าในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 55.0 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกต่างประเทศ รวมทั้งตลาดภายในประเทศที่มีกำลังซื้อกลับคืนมาอีกครั้ง คาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 57.7
ความเชื่อมั่นต่อภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในเดือนมิถุนายนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางที่มีระดับดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มสูงขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศที่มีความต้องการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ได้ส่งผลต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขายของผู้ผลิตสินค้าไทยให้ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีก หากแต่สัดส่วนการขายสินค้าได้ในปัจจุบันยังคงอยู่ในตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญคือ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน รวมทั้งอาเซียน ซึ่งได้ส่งผลดีต่อกำลังการผลิตและปริมาณผลผลิตให้ปรับเพิ่มมากขึ้น
“กลุ่มสินค้าที่มีระดับความเชื่อมั่นโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น คือ กลุ่มสินค้าข้าวและแป้งข้าว อยู่ที่ระดับ 57.2 กุ้งแช่แข็ง/แปรรูป อยู่ที่ระดับ 53.1 ไก่แช่แข็ง/แปรรูป อยู่ที่ระดับ 64.2 สับปะรดกระป๋อง อยู่ที่ระดับ 75.0 เครื่องปรุงรส อยู่ที่ระดับ 51.0 และอาหารอื่นๆ (ผักผลไม้อื่นๆแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม และหมูแปรรูป) อยู่ที่ระดับ 53.1 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาคธุรกิจที่สำคัญคือ ความผันผวนของวัตถุดิบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและแปรปรวน และราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการผลิต ส่วนมาตรการภาครัฐยังคงมีความสำคัญทั้งด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะหาทางช่วยเหลือและเยียวยาต่อไป รวมทั้งมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภค การลงทุนและการส่งออกของประเทศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”
นายเพ็ชร กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมข้าวไทยในเดือนมิถุนายน 2557 มีทิศทางที่เป็นบวก ด้วยความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 57.2 สะท้อนว่าตลาดเชื่อมั่นคุณภาพข้าวไทยมากขึ้น จากการมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ จากระดับราคาข้าวไทยที่ปรับตัวลดลง(ยกเว้นข้าวหอมมะลิ) ทำให้ราคาส่วนต่างมีระดับใกล้เคียงกับคู่แข่งในตลาด รวมทั้งผู้ส่งออกไทยได้สร้างความมั่นใจทั้งด้านราคาและคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้า จึงทำให้ลูกค้ากลับมาสั่งซื้อข้าวไทยอีกครั้ง ด้านวัตถุดิบในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปริมาณการเก็บเกี่ยวของข้าวนาปีที่ได้ แต่จะส่งผลต่อระดับราคาให้ปรับตัวลดลงตามกลไกราคา โดยดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่อง มีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 50.4
นายเพ็ชร กล่าวต่อว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกุ้งไทยในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ระดับ 53.1 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ผู้ประกอบการมีต่อภาวะตลาดในเชิงบวก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ยังรักษาส่วนแบ่งตลาดและสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ขณะที่ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางพยายามรักษาปริมาณการส่งออกให้ทรงตัว แต่ความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นในด้านกำลังการผลิตและปริมาณผลผลิตในกลุ่มสินค้ากุ้งขาวให้ทรงตัว (ระดับ 50.0) จากแนวโน้มของผลผลิตกุ้งขาวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 นั้นยังคงเป็นความหวังให้กับผู้ผลิตและส่งออกของไทยให้สามารถเพิ่มปริมาณสินค้าในระดับที่ตลาดต้องการและส่งมอบสินค้าให้ทันกับระยะเวลา สำหรับแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีทิศทางที่เป็นบวกต่อเนื่อง โดยมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 66.7 จากความเชื่อมั่นต่อภาวะตลาดต่างประเทศในกลุ่มลูกค้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป รวมทั้งตลาดภายในประเทศที่มีความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไก่ในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี จากระดับความเชื่อมั่น 64.2 ตลาดส่งออกไก่ไทยโตต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ ยุโรป ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอาเซียน ขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ปรับตัวเพิ่มมากขึ้นจากช่วงก่อนหน้าเช่นกัน ทำให้ภาคการผลิตต้องเพิ่มกำลังการผลิตให้มีปริมาณสินค้าเพื่อส่งมอบให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าอุตสาหกรรมไก่ไทยยังแรงได้ต่อเนื่อง มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 64.2 ด้วยปัจจัยที่สำคัญคือความต้องการบริโภคของตลาดโดยรวม มาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยที่ผู้ผลิตของไทยมีนั้น ล้วนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่นำเข้า อีกทั้งผู้ส่งออกของไทยได้ขยายช่องทางใหม่ๆ เพื่อเปิดตลาดให้มีกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีปริมาณการส่งออกไก่ไทยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องในเดือนมิถุนายน 2557เป็นบวกต่อเนื่อง โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 75.0 เนื่องจากอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศได้สร้างแรงจูงใจอยากจะบริโภคผลไม้แปรรูปของไทยหลากหลายชนิดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋องที่ตลาดนำเข้าที่สำคัญอย่างสหรัฐฯ และยุโรป มียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มสูงขึ้น สำหรับความกังวลของผู้ส่งออกไทยที่สำคัญคือ ระดับราคาสินค้าที่ส่งออกต่างประเทศยังอยู่ในระดับที่ต่ำเนื่องด้วยภาวะการแข่งขันในตลาดสูง คู่แข่งมากขึ้น ทำให้อำนาจการต่อรองของลูกค้าด้านราคาสินค้ามีเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ผู้ผลิตและส่งออกของไทยยังไม่สามารถเพิ่มราคาสินค้าเพื่อสะท้อนภาระต้นทุนที่ภาคธุรกิจต้องแบกรับไว้ในปัจจุบันได้ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะ
มีทิศทางที่แย่ลง อยู่ที่ระดับ 43.8 ผู้ผลิตและส่งออกของไทยต่างมองว่าภาวะตลาดจะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากสภาพอากาศที่จะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนความกังวลต่อจำนวนวัตถุดิบที่จะลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน เนื่องจากปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกที่อาจปรับลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว
โดยปัจจัย สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมในระยะสั้น จากผลสำรวจของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าอุปสรรคที่สำคัญ มาจาก ความเข้มงวดกับการตรวจสอบ IUU Fishing: ความเข้มงวดของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเข้าตรวจสอบสินค้าประมงที่ได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือที่เรียกว่า “IUU Fishing” (Illegal Unreported and Unregulated Fishing) ทำให้ผู้ผลิตและส่งออกในกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปต้องแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ให้ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้ภาคธุรกิจต้องแบกรับภาระต้นทุนทั้งด้านระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปรวมทั้งปัจจัยด้านระดับราคาวัตถุดิบปรับเพิ่มสูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศทั้งร้อนจัดและมีพายุฝน จนทำให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้และกระทบกับการเก็บรักษาสภาพให้มีอายุได้ยืนยาว ซึ่งได้ส่งผลต่อปริมาณและระดับราคาวัตถุดิบในตลาดให้อยู่ในเกณฑ์ที่สูงเพิ่มมากขึ้น สถาบันอาหาร เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯอาหารเดือนมิ.ย. อยู่ในแดนบวกต่อเนื่อง
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2557 ภาพรวมยังอยู่ในแดนบวกที่ระดับ 55.0 คาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้า(ก.ค.-ก.ย.)มีแนวโน้มบวกต่อเนื่องจะขึ้นไปยืนที่ระดับ 57.7 โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขายจากตลาดต่างประเทศ ส่วนตลาดในประเทศเริ่มกลับสู่ภาวะปกติและฟื้นตัวอีกครั้ง ขณะที่วัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและพายุ ยังคงเป็นโจทย์สำคัญที่ภาคธุรกิจต้องลดความเสี่ยง
นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่าศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ได้รายงานผลการสำรวจ CEOs Food Index หรือความเชื่อมั่นของผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยครอบคลุมกิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นหลัก พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในภาพรวมทุกกลุ่มสินค้าในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 55.0 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกต่างประเทศ รวมทั้งตลาดภายในประเทศที่มีกำลังซื้อกลับคืนมาอีกครั้ง คาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 57.7
ความเชื่อมั่นต่อภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในเดือนมิถุนายนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางที่มีระดับดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มสูงขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศที่มีความต้องการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ได้ส่งผลต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขายของผู้ผลิตสินค้าไทยให้ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีก หากแต่สัดส่วนการขายสินค้าได้ในปัจจุบันยังคงอยู่ในตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญคือ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน รวมทั้งอาเซียน ซึ่งได้ส่งผลดีต่อกำลังการผลิตและปริมาณผลผลิตให้ปรับเพิ่มมากขึ้น
“กลุ่มสินค้าที่มีระดับความเชื่อมั่นโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น คือ กลุ่มสินค้าข้าวและแป้งข้าว อยู่ที่ระดับ 57.2 กุ้งแช่แข็ง/แปรรูป อยู่ที่ระดับ 53.1 ไก่แช่แข็ง/แปรรูป อยู่ที่ระดับ 64.2 สับปะรดกระป๋อง อยู่ที่ระดับ 75.0 เครื่องปรุงรส อยู่ที่ระดับ 51.0 และอาหารอื่นๆ (ผักผลไม้อื่นๆแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม และหมูแปรรูป) อยู่ที่ระดับ 53.1 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาคธุรกิจที่สำคัญคือ ความผันผวนของวัตถุดิบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและแปรปรวน และราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการผลิต ส่วนมาตรการภาครัฐยังคงมีความสำคัญทั้งด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะหาทางช่วยเหลือและเยียวยาต่อไป รวมทั้งมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภค การลงทุนและการส่งออกของประเทศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”
นายเพ็ชร กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมข้าวไทยในเดือนมิถุนายน 2557 มีทิศทางที่เป็นบวก ด้วยความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 57.2 สะท้อนว่าตลาดเชื่อมั่นคุณภาพข้าวไทยมากขึ้น จากการมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ จากระดับราคาข้าวไทยที่ปรับตัวลดลง(ยกเว้นข้าวหอมมะลิ) ทำให้ราคาส่วนต่างมีระดับใกล้เคียงกับคู่แข่งในตลาด รวมทั้งผู้ส่งออกไทยได้สร้างความมั่นใจทั้งด้านราคาและคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้า จึงทำให้ลูกค้ากลับมาสั่งซื้อข้าวไทยอีกครั้ง ด้านวัตถุดิบในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปริมาณการเก็บเกี่ยวของข้าวนาปีที่ได้ แต่จะส่งผลต่อระดับราคาให้ปรับตัวลดลงตามกลไกราคา โดยดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่อง มีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 50.4
นายเพ็ชร กล่าวต่อว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกุ้งไทยในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ระดับ 53.1 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ผู้ประกอบการมีต่อภาวะตลาดในเชิงบวก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ยังรักษาส่วนแบ่งตลาดและสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ขณะที่ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางพยายามรักษาปริมาณการส่งออกให้ทรงตัว แต่ความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นในด้านกำลังการผลิตและปริมาณผลผลิตในกลุ่มสินค้ากุ้งขาวให้ทรงตัว (ระดับ 50.0) จากแนวโน้มของผลผลิตกุ้งขาวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 นั้นยังคงเป็นความหวังให้กับผู้ผลิตและส่งออกของไทยให้สามารถเพิ่มปริมาณสินค้าในระดับที่ตลาดต้องการและส่งมอบสินค้าให้ทันกับระยะเวลา สำหรับแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีทิศทางที่เป็นบวกต่อเนื่อง โดยมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 66.7 จากความเชื่อมั่นต่อภาวะตลาดต่างประเทศในกลุ่มลูกค้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป รวมทั้งตลาดภายในประเทศที่มีความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไก่ในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี จากระดับความเชื่อมั่น 64.2 ตลาดส่งออกไก่ไทยโตต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ ยุโรป ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอาเซียน ขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ปรับตัวเพิ่มมากขึ้นจากช่วงก่อนหน้าเช่นกัน ทำให้ภาคการผลิตต้องเพิ่มกำลังการผลิตให้มีปริมาณสินค้าเพื่อส่งมอบให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าอุตสาหกรรมไก่ไทยยังแรงได้ต่อเนื่อง มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 64.2 ด้วยปัจจัยที่สำคัญคือความต้องการบริโภคของตลาดโดยรวม มาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยที่ผู้ผลิตของไทยมีนั้น ล้วนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่นำเข้า อีกทั้งผู้ส่งออกของไทยได้ขยายช่องทางใหม่ๆ เพื่อเปิดตลาดให้มีกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีปริมาณการส่งออกไก่ไทยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องในเดือนมิถุนายน 2557เป็นบวกต่อเนื่อง โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 75.0 เนื่องจากอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศได้สร้างแรงจูงใจอยากจะบริโภคผลไม้แปรรูปของไทยหลากหลายชนิดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋องที่ตลาดนำเข้าที่สำคัญอย่างสหรัฐฯ และยุโรป มียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มสูงขึ้น สำหรับความกังวลของผู้ส่งออกไทยที่สำคัญคือ ระดับราคาสินค้าที่ส่งออกต่างประเทศยังอยู่ในระดับที่ต่ำเนื่องด้วยภาวะการแข่งขันในตลาดสูง คู่แข่งมากขึ้น ทำให้อำนาจการต่อรองของลูกค้าด้านราคาสินค้ามีเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ผู้ผลิตและส่งออกของไทยยังไม่สามารถเพิ่มราคาสินค้าเพื่อสะท้อนภาระต้นทุนที่ภาคธุรกิจต้องแบกรับไว้ในปัจจุบันได้ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะ
มีทิศทางที่แย่ลง อยู่ที่ระดับ 43.8 ผู้ผลิตและส่งออกของไทยต่างมองว่าภาวะตลาดจะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากสภาพอากาศที่จะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนความกังวลต่อจำนวนวัตถุดิบที่จะลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน เนื่องจากปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกที่อาจปรับลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว
โดยปัจจัย สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมในระยะสั้น จากผลสำรวจของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าอุปสรรคที่สำคัญ มาจาก ความเข้มงวดกับการตรวจสอบ IUU Fishing: ความเข้มงวดของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเข้าตรวจสอบสินค้าประมงที่ได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือที่เรียกว่า “IUU Fishing” (Illegal Unreported and Unregulated Fishing) ทำให้ผู้ผลิตและส่งออกในกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปต้องแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ให้ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้ภาคธุรกิจต้องแบกรับภาระต้นทุนทั้งด้านระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปรวมทั้งปัจจัยด้านระดับราคาวัตถุดิบปรับเพิ่มสูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศทั้งร้อนจัดและมีพายุฝน จนทำให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้และกระทบกับการเก็บรักษาสภาพให้มีอายุได้ยืนยาว ซึ่งได้ส่งผลต่อปริมาณและระดับราคาวัตถุดิบในตลาดให้อยู่ในเกณฑ์ที่สูงเพิ่มมากขึ้น