ยกระดับงานสถาปัตย์ ก้าวสู่ความสำเร็จด้วยเทคโนโลยี BIM

ข่าวเทคโนโลยี Monday August 4, 2014 14:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--แอพพลิแคด บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์โซลูชั่นเพื่องานออกแบบ 3D ทางด้านอุตสาหกรรม และด้านสถาปัตยกรรม ทั้งยังเป็นผู้จัดจำหน่ายนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่าง 3D Printer จัดงาน “ArchiCAD BIM Conference 2014” อัพเดทเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์เพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานก่อสร้าง ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Join the creative flow” พร้อมเปิดตัวซอฟต์แวร์ด้านงาน BIM “ArchiCAD 18” เวอร์ชั่นใหม่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ตอกย้ำไปกับเทรนด์เทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) หรือ แบบจำลองข้อมูลอาคารให้เป็น 3 มิติ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อการยกระดับมาตรฐานกระบวนการออกแบบไทย ในการก้าวสู่ระดับสากล ภายใต้หัวข้อ “เจาะตรงแบบไม่หลงทิศ กับมาตรฐาน BIM ในไทย” โดย นายวิญญู วานิชศิริโรจน์ กรรมาธิการ และที่ปรึกษา สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกันนี้ภายในงานยังได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาองค์กรอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป โดยผ่านการแชร์ประสบการณ์ของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้หัวข้อ “Drawing the future” และกะเทาะจนเห็นแก่นของงานออกแบบสถาปัตยกรรมใน“BIM in Action”จากผู้ใช้งานจริงอย่าง บริษัท ดี-ซีอีเอ็ม จำกัด นายประภาส ตั้งอดุลย์รัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ผู้คร่ำหวอดในวงการซอฟต์แวร์ช่วยงานก่อสร้าง ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางงานก่อสร้างที่กำลังเปลี่ยนแปลง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วว่า “ปัจจุบันธุรกิจออกแบบสถาปัตยกรรม และงานก่อสร้าง ได้หันมาใช้ระบบ BIM กันหมดแล้ว โดยเฉพาะในต่างประเทศ อเมริกามีผู้ใช้งานกว่า 71 % เพราะ BIM เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นมาก โดยอนุญาตให้ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก วิศวกร และผู้ก่อสร้าง สามารถแก้ไขงานได้ และยังรับรู้ข้อมูลไปพร้อมๆกันได้อีกด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่า สถาปนิกไทยมีฝีมือที่ดีมาก แต่ยังใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ไม่สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ ถ้าสถาปนิกไทยไม่รีบปรับตัว ไม่มีการนำเครื่องมือมาช่วย จะต้องเหนื่อยแน่ เพราะสถาปนิกที่ความพร้อมในทุกๆ ด้าน และมีเครื่องมือที่ดีกว่าก็ย่อมได้เปรียบ แต่การที่จะเปลี่ยนเป็น BIM ทั้งหมดอาจต้องใช้เวลา ทั้งนี้ความยากประการหนึ่งของการเปลี่ยนคือ เป็นเรื่องของการเปลี่ยนระบบการทำงาน กระ บวนการต่างๆ จะเปลี่ยนไปหมด จะไม่มีดรออิงค์ จะมีแต่ข้อมูลเท่านั้น กระบวนตรวจแบบจะเปลี่ยน การคุยกับลูกค้าจะเปลี่ยน ไป BIM จะเปลี่ยนระบบการทำงานทั้งหมด จึงค่อนข้างยากในการที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ BIM อย่างรวดเร็ว แต่ในต่างประเทศก็ใช้ระบบนี้กันหมดแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้ BIM ไม่ทำให้งานหนักขึ้น สถาปนิกจะทำงานได้เร็วขึ้นด้วยซ้ำไป เพราะมีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำงาน ส่วนค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการทำงานด้วยระบบสองมิติ ในส่วนของบริษัทแอพพลิแคด เรามีซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนระบบนี้โดยมี ArchiCAD เป็นตัวหลัก ผมเชื่อว่าเทรนด์ของโลกมาทางนี้แน่นอน เพราะตอนนี้ทั่วโลกได้หันมาใช้ระบบ BIM กันหมด ซึ่งก็ไม่ได้ใช้แต่เพียงในแวดวงสถาปัตยกรรม และก่อสร้างเท่านั้น ยังมีการนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ อีกด้วย ผมว่าตอนนี้ ใครเปลี่ยนก่อนย่อมได้เปรียบ องค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะ BIM จะทำให้สถาปนิก วิศวกร และผู้ก่อสร้าง ทำงานได้ง่ายขึ้น จบงานได้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลา ทำให้สามารถไปทำงานส่วนอื่นๆได้มากขึ้น”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ