กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส
รูปลักษณ์ที่คมเข้มมากยิ่งขึ้น มาพร้อมกับจุดเด่นมากมาย ซึ่งเป็นมาตรฐานของรถและเพิ่มศักยภาพของพละกำลังเครื่องยนต์ให้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้คือคุณลักษณะหลัก ของปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) (1) ใหม่ล่าสุด รถสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUVs) มาพร้อมกับ 5 ที่นั่ง และมีความโดดเด่นพร้อมด้วยคุณสมบัติเด่นของรถในคลาสรถหรู มาพร้อมกับที่ว่างในห้องโดยสารที่กว้างขวางมากขึ้น พร้อมให้ความสุนทรีย์ในการขับขี่ สมรรถนะของรถสูงขึ้นและเปี่ยมไปด้วยรูปลักษณ์ที่มีความเป็นปอร์เช่ทุกประการ
คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นใหม่ล่าสุด จะเปิดตัวสู่สายตาสาธารณะชนทั้งหมด 5 รุ่นด้วยกัน คือ คาเยนน์ เอส (Cayenne S), คาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo), คาเยนน์ ดีเซล (Cayenne Diesel), คาเยนน์ เอส ดีเซล (Cayenne S Diesel) และคาเยนน์ เอส อี-ไฮบริด (Cayenne S E-Hybrid) (2) มาพร้อมกับเทคโนโลยีเครื่องยนต์แบบ plug-in hybrid ถือเป็นครั้งแรกในตลาดรถสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) ในคลาสรถหรู จากที่เคยใช้ในรุ่นพานาเมร่า เอส อี-ไฮบริด (Panamera S E-Hybrid) และรุ่น 918 สไปเดอร์ (918 Spyder) มาแล้ว ทำให้ปอร์เช่กลายมาเป็นโรงงานผลิตรถยนต์รายแรกของโลก ที่ใช้เทคโนโลยีเครื่องยนต์แบบ plug-in hybrid กับรถทั้ง 3 รุ่นนี้ เครื่องยนต์ของคาเยนน์ (Cayenne) ใหม่ล่าสุด แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของรถที่ดียิ่งขึ้น พร้อมด้วยอัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีกว่ารุ่นก่อน เครื่องยนต์ขนาด 3.6 ลิตร V6 Biturbo ของรุ่นคาเยนน์ เอส (Cayenne S) ที่ปอร์เช่พัฒนาขึ้นมาอย่างเต็มศักยภาพ
คาเยนน์ (Cayenne) คือปอร์เช่รุ่นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ปอร์เช่ได้แนะนำคาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรกให้เป็นที่รู้จักในปี 2002 ถือกำเนิดขึ้นภายใต้แนวคิดในกลุ่มตลาดรถสปอร์ต อเนกประสงค์ (SUV) อย่างแท้จริง ซึ่งมียอดขายที่เหนือความคาดหมาย โดยเจเนอเรชั่นแรกมียอดผลิตที่สูงถึง 276,000 คัน หลังจากเข้าสู่ตลาด (ตั้งแต่ปี 2002 ถึง 2010) และ 303,000 คัน สำหรับเจเนอเรชั่นที่ 2 ที่เผยโฉมในปี 2010 และยังคงผลิตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคาเยนน์ (Cayenne) ไม่เพียงแค่เป็นรถที่ออกมาสร้างยอดขายและกำไรให้กับปอร์เช่เท่านั้น หากยังเป็นรถสปอร์ตแห่งอนาคตด้วยเช่นกัน
รูปลักษณ์ภายนอกที่คมชัดมากยิ่งขึ้น
ในรุ่นล่าสุดนี้ นักออกแบบจากปอร์เช่ได้ออกแบบให้คาเยนน์ (Cayenne) มีความเข้ม ดุดัน มีเส้นสายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การจัดวางตำแหน่งของไฟใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ดูโฉบเฉี่ยวมากกว่าเดิม ด้านหน้าของตัวรถได้รับการออกแบบใหม่หมดทั้งปีกหน้าและฝากระโปรง อีกสิ่งหนึ่งที่มีความโดดเด่นคือ กระจังหน้าช่องดักลม หรือ Aidblades ที่ติดตั้งอยู่ทั้งด้านขวาและซ้ายของหน้ารถ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการดักอากาศที่จะเข้ามาระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้เพิ่มขึ้น
คาเยนน์ (Cayenne) ใหม่ล่าสุด มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของปอร์เช่ตั้งแต่แรกเห็น โดยมีไฟหน้าแบบไบซีนอล (bi-xenon) ที่ติดตั้งมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานให้กับรุ่นมาตรฐาน และรุ่นเอส มาพร้อมกับไฟหน้า LED Daytime แบบ 4 จุดอย่าง "hovering" ส่วนรุ่นสูงสุดอย่างคาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo) มาพร้อมกับไฟหน้า LED และระบบไฟแบบอัจฉริยะ Porsche Dynamic Light System (PDLS)
ด้านท้ายของคาเยนน์ (Cayenne) ใหม่ล่าสุด ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ ให้มีมิติมากขึ้น โดยมีไฟเบรก 3 ส่วน รวมถึงไฟ LED Daytime ทางด้านหน้าที่ได้รับการออกแบบใหม่ให้มี 4 ชิ้นส่วน ตำแหน่งติดกรอบป้ายทะเบียนได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้ดูเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ที่จับฝากระโปรงและไฟส่องสว่างได้รับการผสมผสานติดตั้งเข้าด้วยกัน เพื่อความโดดเด่น นักออกแบบยังได้ทำการออกแบบเส้นสายของรถให้มีมิติมากยิ่งขึ้น ปลายท่อได้รับการออกแบบใหม่และถูกติดตั้งเข้าไว้กับส่วนล่างของรถ มีจุดเด่นคือการเปิดปิด ฝากระโปรงแบบอัตโนมัติอีกด้วย
นักออกแบบได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายในห้องโดยสารให้มีพื้นที่กว้างขวางสำหรับผู้ขับขี่มากขึ้น พวงมาลัยจะออกมาในรูปแบบพวงมาลัยสปอร์ตอเนกประสงค์ที่มาพร้อมกับก้านเกียร์ ซึ่งเป็นพวงมาลัยที่ใช้ในรุ่น 918 สไปเดอร์ (918 Spyder) ที่สุดของนวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคตอีกด้วย เบาะนั่งแบบพ่นลมเป็นอุปกรณ์เสริมที่สามรถเลือกติดตั้งให้กับเบาะหลังได้
ประหยัดมากขึ้น
พละกำลังของเครื่องยนต์และแรงบิดได้รับการเพิ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นควบคู่ไปกับศักยภาพและสมรรถนะของการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ สำหรับปอร์เช่สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายหลัก ไม่เพียงเท่านี้ระบบขับเคลื่อนยังได้รับการออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ คาเยนน์ (Cayenne) ใหม่ล่าสุดนี้ สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากยิ่งขึ้น และมีฟังก์ชั่น Coasting พร้อมด้วยฟังก์ชั่นสตาร์ท/สต็อปอัตโนมัติ (auto stop-start function plus) รวมถึงระบบการจัดการความร้อน thermal management ติดตั้งมาด้วยเช่นกัน แผ่นครีบดักอากาศหรือ Active cooling air flaps ถูกนำมาใช้ในรุ่นคาเยนน์ (Cayenne) เป็นครั้งแรก ติดตั้งอยู่หลังช่องดักอากาศตรงกลางและควบคุมโดยระบบการจัดการเครื่องยนต์หรือ engine management นั่นเอง โดยการเปิดและปิดขึ้นอยู่กับสถานการณ์การขับขี่และความต้องการอากาศในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ โดยการทำงานในลักษณะนี้จะช่วยในการปรับเปลี่ยนจำนวนอากาศที่เข้ามาเพื่อระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เมื่อปิดช่องดักอากาศแล้วนั้นช่วยให้รถเกิดการพัฒนาในเรื่องของความสมดุลตามหลักอากาศพลศาสตร์มากขึ้น และเมื่อลดแรงต้านของอากาศลง ก็จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น
คาเยนน์ เอส อี-ไฮบริด (Cayenne S E-Hybird) คือรถเครื่องยนต์ plug-in hybrid ในคลาสรถหรูคันแรกของตลาดรถสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) โดยรุ่นใหม่นี้จะมาพร้อมกับแบตเตอรี่แบบลิเธียมอิออนที่มีความจุของพลังงานถึง 10.9 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และสามารถวิ่งด้วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้ไกลถึง 18-36 กิโลเมตร เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับลักษณะการขับขี่และเส้นทางที่วิ่งด้วยเช่นกัน มอเตอร์ไฟฟ้ามีพละกำลังไฟฟ้าที่มากกว่าเดิมถึงเท่าตัวโดยพัฒนาจาก 47 แรงม้า (34 กิโลวัตต์) เป็น 95 แรงม้า (70 กิโลวัตต์) อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 29.4 กิโลเมตร/ลิตร (3.4 ลิตร/100 กิโลเมตร) (อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 79 กรัม/กิโลกรัม) เครื่องยนต์มีขนาด 3 ลิตร V6 Supercharged (333 แรงม้า / 245 กิโลวัตต์) และมอเตอร์ไฟฟ้า (95 แรงม้า / 70 กิโลวัตต์) สามารถผลิตพละกำลังเครื่องยนต์เสริมเพิ่มเติมให้ได้ ทำให้มีพละกำลังเครื่องยนต์เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 416 แรงม้า (306 กิโลวัตต์) ที่รอบเครื่องยนต์ 5,500 รอบ/นาที เลยทีเดียว แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 590 นิวตันเมตรจากรอบเครื่องยนต์ 1,250 – 4,000 รอบ/นาที อัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ในเวลาเพียงแค่ 5.9 วินาที ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 243 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนความเร็วสูงสุดของการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวทำได้สูงถึง 125 กิโลเมตร/ชั่วโมง เลยทีเดียว แบตเตอรี่สามารถชาร์จได้ขณะทำการขับขี่
เครื่องยนต์ไฮบริดแบบดั้งเดิมของปอร์เช่เริ่มสร้างขึ้นในปี 1899 และนั่นคือรถ Lohner Porsche รถยนต์คันแรกของโลกที่มีระบบขับเคลื่อนแบบผสมผสานกันโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และเครื่องยนต์แบบเผาไหม้ ซึ่งถูกออกแบบและสร้างขึ้นโดย Ferdinand Porsche ในปัจจุบันรถยนต์ปอร์เช่ที่ติดตั้งระบบเครื่องยนต์ที่เหนือชั้นนี้ คือรุ่นพานาเมร่า เอส อี-ไฮบริด (Panamera S E-Hybrid) ซึ่งถือได้ว่าเป็นรถที่มีมาตรฐานสูงของโลกเลยทีเดียว และคาเยนน์ เอส อี-ไฮบริด (Cayenne S E-Hybird) ได้เข้ามาเสริมด้วยการทำให้เทคโนโลยีนี้มีความโดดเด่นมากขึ้นในตลาดรถสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) ซึ่งเทคโนโลยีไฮบริดที่ทรงพละกำลังนี้ได้ถูกนำไปใช้ในรถสปอร์ตและรถซูเปอร์สปอร์ตอย่าง 918 สไปเดอร์ (918 Spyder) มาแล้ว โดยรถคันนี้จะกลายมาเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีที่ถูกถ่ายทอดจากมอเตอร์สปอร์ตเข้าสู่รถสายการผลิต ส่วนเทคโนโลยีชั้นนำของการขับเคลื่อนไฮบริดที่ใช้ใน 919 Hybrid ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อถ่ายทอดและนำมาใช้กับรถสายการผลิตทั่วไปในอนาคต
เครื่องยนต์ขนาด 3.6 ลิตร V6 Biturbo ของคาเยนน์ เอส (Cayenne S) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปอร์เช่โดยเฉพาะ เป็นตัวแทนให้เห็นถึงวิธีการลดขนาดของเครื่องยนต์ลง อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงตามรูปแบบ NEDC อยู่ระหว่าง 10.2 – 10.5 กิโลเมตร/ลิตร (9.5 และ 9.8 ลิตร/100 กิโลเมตร) (อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 223-229 กรัม/กิโลเมตร) เครื่องยนต์มีขนาดน้อยกว่าเครื่องยนต์ V8 รุ่นที่แล้วอยู่ 1 ลิตร เครื่องยนต์ Biturbo V6 ผลิตพละกำลังเครื่องยนต์สูงสุดถึง 420 แรงม้า (308 กิโลวัตต์) ที่รอบเครื่องยนต์ 6,000 รอบต่อนาที มากกว่าเดิมอีก 20 แรงม้า/15 กิโลวัตต์ แรงบิดสูงสุดของรถอยู่ที่ 550 นิวตันเมตรที่รอบเครื่องยนต์ 1,350 - 4,500 รอบ/นาที (มากกว่าเดิม 50 นิวตันเมตร) พละกำลังเครื่องยนต์โดยรวมเพิ่มมากขึ้น 83 แรงม้า (61 กิโลวัตต์) ต่อเครื่องยนต์ต่อลิตร เพิ่มขึ้น 117 แรงม้า (86 กิโลวัตต์) ถือได้ว่าเพิ่มขึ้น 40% อัตราเร่งจาก 0 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ในเวลาเพียงแค่ 5.5 วินาที หากติดตั้งระบบเกียร์อัตโนมัติ Tiptronic S มาด้วย (หากติดตั้งอุปกรณ์เสริมแพ็คเกจ Sport Chrono package จะอยู่ที่ 7.2 วินาที) – เร็วกว่ารุ่นเดิม 0.4 วินาที ความเร็วสูงสุดของรถอยู่ที 259 กิโลเมตร/ชั่วโมง (มากขึ้นกว่าเดิม 1 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
ส่วนคาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo) มาพร้อมกับคำว่าสมบูรณ์แบบทั้งเรื่องของประสิทธิภาพระดับสูง การพุ่งทะยานของเครื่องยนต์ และสมรรถนะการขับขี่ในทุกๆ สภาวะของท้องถนน เครื่องยนต์มีขนาด 4.8 ลิตร 8 สูบแบบ Biturbo สร้างพละกำลังเครื่องยนต์ได้ถึง 520 แรงม้า (382 กิโลวัตต์) ที่รอบเครื่องยนต์ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 750 นิวตันเมตรจากรอบเครื่องยนต์ 2,250 – 4,000 รอบ/นาที อัตราเร่งจาก 0 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ในระยะเวลาเพียงแค่ 4.5 วินาทีเท่านั้น (หากติดตั้งอุปกรณ์เสริมแพ็คเกจ Sport Chronon package จะอยู่ที่ 4.4 วินาที) ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 279 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 8.7 – 8.93 กิโลเมตร/ลิตร (11.2 - 11.5 ลิตร/ 100 กิโลเมตร) (อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 261-267 กรัม/กิโลเมตร)
รุ่นดีเซลของคาเยนน์ (Cayenne) จะผสมผสานในเรื่องของสมรรถนะความเป็นสปอร์ตเข้าไว้กับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มากขึ้น โดยเครื่องยนต์ขนาด 3 ลิตร V6 ของคาเยนน์ ดีเซล (Cayenne Diesel) สามารถผลิตพละกำลังเครื่องยนต์ได้สูงสุดถึง 262 แรงม้า (193 กิโลวัตต์) ที่รอบเครื่องยนต์ 4,000 รอบ/นาที และมีอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ระหว่าง 14.7 - 15.15 กิโลเมตร/ลิตร (6.6 และ 6.8 ลิตร/100 กิโลเมตร) (อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 173 - 179 กรัม/กิโลเมตร) เนื่องจากระบบ SCR ที่ทำให้รถพร้อมและรองรับมาตรฐานน้ำมันแบบ EU6 ได้ แรงบิดอยู่ที่ 580 นิวตันเมตร ที่รอบเครื่องยนต์ 1,750 - 2,500 รอบ/นาที รถมีอัตราเร่งจาก 0 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ 7.3 วินาที (หากติดตั้งอุปกรณ์เสริมแพ็คเกจ Sport Chrono package จะอยู่ที่ 7.2 วินาที) ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 221 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนรุ่นคาเยนน์ เอส ดีเซล (Cayenne S Diesel) มาพร้อมกับเครื่องยนต์ขนาด 4.2 ลิตร V8 ผลิตพละกำลังเครื่องยนต์สูงสุดที่ 385 แรงม้า (283 กิโลวัตต์) ที่รอบเครื่องยนต์ 3,750 รอบ/นาที และแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 850 นิวตันเมตรจากรอบเครื่องยนต์ 2,000 - 2,750 รอบ/นาที อัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ในเวลาเพียงแค่ 5.4 วินาที (หากติดตั้งอุปกรณ์เสริมแพ็คเกจ Sport Chrono package จะอยู่ที่ 5.3 วินาที) ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 252 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 12.5 กิโลเมตร/ลิตร (8.0 ลิตร/100 กิโลเมตร) (อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 209 กรัม/กิโลเมตร)
ตัวถังของรถได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยไม่สูญเสียความคล่องตัวไป และทำให้รถมีทั้งสมรรถนะ ความสะดวกสบายควบคู่ไปกับความสปอร์ตมากกว่าแต่ก่อน และทำให้คาเยนน์ (cayenne) กลายมาเป็นรถที่ดีที่สุดในตลาดรถสปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) เลยทีเดียว
(1) คาเยนน์ (Cayenne) (model year 2015): อัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 8.7 – 15.15 กิโลเมตร/ลิตร (11.5 – 6.6 ลิตร/100 กิโลเมตร); อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 267 – 173 กรัม/กิโลเมตร
(2) คาเยนน์ เอส อี-ไฮบริด (Cayenne S E-Hybrid): (model year 2015): อัตราการบริโภคพลังงานไฟฟ้าและผสมผสานที่ 29.4 กิโลเมตร/ลิตร (3.4 ลิตร/100 กิโลเมตร); อัตราการบริโภคพลังงานไฟฟ้า 20.8 กิโลวัตต์/100 กิโลเมตร อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 79 กรัม/กิโลเมตร
ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ปอร์เช่อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้น ที่มีศูนย์บริการมาตรฐานและทีมวิศวกรที่มากประสบการณ์ ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากทางโรงงานปอร์เช่ประเทศเยอรมนีโดยตรงพร้อมการันตีด้วยรางวัล Porsche Service Excellence Award จากการตรวจสอบคุณภาพประจำปี รวมถึงทีมวิศวกรที่ได้รับการรับรองและผ่านการทดสอบจากโรงงานในระดับเหรียญทอง (Zertifizierter Porsche Techniker – Gold Expert) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของปอร์เช่คอยให้บริการรถปอร์เช่ของท่าน ตามนโยบายหลักของบริษัทที่ว่า “เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ” หรือ “AAS Looking after YOU and your CAR” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์ปอร์เช่ได้ที่แผนกขาย โทร. 02-522-6655 ต่อ 101-103 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.porsche.co.th