กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--สคส.
เนื่องด้วยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) จะจัดเวทีเสวนาเรื่อง “การสร้างความรู้ในสังคมไทย เพี่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” การเสวนาในครั้งนี้เป็นการนำเสนองานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ที่เน้นการสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น (LW — Local Wisdom) กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (MST — Modern Science & Technology) จาก 9 กรณีศึกษา ในภาคเกษตรกรรม การแพทย์แผนไทย หัตถกรรม และ ธุรกิจชุมชนจุลภาค
โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ จากมหาวิทยาลัยปอยเตียรส์ ประเทศฝรั่งเศส และ ผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ (critical persons) ของ 9 กรณีศึกษา จะนำเสนอการสร้างความรู้ที่ชี้ให้เห็นวิวัฒนาการการสร้างความรู้ในบริบทและมุมมองของแต่ละกรณีศึกษา ตั้งแต่เริ่มก่อตัวจนถึงระดับการนำไปใช้ ให้ข้อคิดเห็นต่อวิทยานิพนธ์ที่ได้นำเสนอ รวมถึงร่วมถกเถียงกระบวนการสร้างความรู้ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างละเอียดและลงลึกจริง ๆ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในภาคเศรษฐกิจพอเพียง
การเสวนาดังกล่าวจะจัดในวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2548 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอาคาร 1 ชั้น 11 โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล กรุงเทพฯ
9 กรณีศึกษาที่จะมีการนำเสนอ ประกอบด้วย
1) การพัฒนาพันธุ์ข้าว จ.พิจิตร
2) ผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว จ.ปทุมธานี
3) สมุนไพรไร้สารพิษ จ.ระยอง
4) การปรับปรุงดินในโครงการ “ฟ้าสู่ดิน” จ.บุรีรัมย์
5) หมอเมืองล้านนา จ.เชียงราย
6) ผ้าหม้อฮ่อม แม่ชีตา จ.สกลนคร
7) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี
8) เฟอร์นิเจอร์ผักตบชวา จ.ปทุมธานี
9) โรงงานแป้งขนมจีน อ.นพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) จึงขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงานเสวนาตามวันและเวลาดังกล่าว เพื่อร่วมเรียนรู้ไปกับกรณีศึกษาดังกล่าวที่จะสะท้อนให้เห็นการสร้างและใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นไทย ซึ่งมีเทคนิควิธีการหลายรูปแบบตามบริบทที่แตกต่างกันไป และเป็นตัวอย่างที่ดีคนไทยและสังคมไทยให้สามารถใช้”การจัดการความรู้”พัฒนาชีวิต พัฒนางาน ให้ก้าวผ่านวิกฤติที่ส่อเค้าไปได้อย่างมั่นคง
กำหนดการการเสวนา
เพื่อให้ข้อคิดเห็นต่อการนำเสนอวิทยานิพนธ์
เรื่อง “การสร้างความรู้ในสังคมไทย เพี่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 11 รพ.เปาโล สะพานควาย
วันที่พุธที่ 13 กรกฎาคม 2548
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 น. กล่าวเปิดการเสวนา และแจ้งวัตถุประสงค์
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
09.05 — 10.15 น. นำเสนอภาพรวมของวิทยานิพนธ์ “การสร้างความรู้ในสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่
ยั่งยืน”
โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
จากมหาวิทยาลัยปอยเตียรส์ ประเทศฝรั่งเศส
10.15 - 10.30 น. กาแฟ - อาหารว่าง
10.30 - 12.30 น. นำเสนอกรณีศึกษา ภาคเกษตรกรรม (4 กรณีศึกษา)
- การพัฒนาพันธุ์ข้าว จ.พิจิตร
- การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมข้าว จ.ปทุมธานี
- การใช้สมุนไพรไทยเพื่อการเกษตร (สมุนไพรไร้สารพิษ ) จ.ระยอง
- การปรับปรุงดินในโครงการ “ฟ้าสู่ดิน” จ.บุรีรัมย์
โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
นำเสนอข้อคิดเห็น โดยผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษา ประกอบด้วย
- คุณสินชัย บุญอาจ ชาวนานักพัฒนาพันธ์ข้าวในระบบเกษตรปลอดสาร
- มล.สิริณ รองทอง การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมข้าม
- คุณดำรงศักดิ์ ชุมแสงพันธุ์ การใช้สมุนไพรไทยเพื่อการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม
- ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธ์ ปราชญ์ชาวบ้านนักปรับปรุงดิน
12.30 — 13.30 น. พัก-อาหารกลางวัน
13.30 - 15.00 น. นำเสนอกรณีศึกษา การแพทย์แผนไทย และหัตถกรรม (3 กรณีศึกษา)
- หมอเมืองล้านนา จ.เชียงราย
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี
- ผ้าหม้อฮ่อม แม่ฑีตา จ.สกลนคร
โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
นำเสนอข้อคิดเห็น โดยผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษา
- ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ จากกรณี หมอเมืองล้านนา
- เภสัชกรหญิงสุภาภรณ์ ปิติพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
- แม่ฑีตา และประไพพรรณ แดงใจ เจ้าของตำรับผ้าย้อมครามแม่ฑีตา
15.00 - 15.15 น. กาแฟ - อาหารว่าง
15.15 - 16.15 น. นำเสนอ กรณีศึกษาหัตถกรรม และ ธุรกิจชุมชนจุลภาค (2 กรณีศึกษา)
- เฟอร์นิเจอร์ผักตบชวา จ.ปทุมธานี
- โรงงานแป้งขนมจีน อ.นพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช
โดย ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์
นำเสนอข้อคิดเห็น โดย ผู้ริเริ่มการสร้างความรู้ ของแต่ละกรณีศึกษา
- มล.ภาวิณี สันติสิริและคุณสุวรรณ คงขุนเทียน ผู้เนรมิตรผักตบชวาให้เป็น
เฟอร์นิเจอร์หรูราคาดี
- คุณวิโรจน์ คงปัญญา โรงงานแป้งขนมจีนเมืองนครความสำเร็จของชุมชน
16.15-17.00 น. ข้อคิดเห็นเพื่อการนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในภาค
เศรษฐกิจพอเพียง
โดย ผู้เข้าร่วมการเสวนา
17.00- น. ปิดการเสวนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สคส. โทร. 0-26199701--จบ--