ความปลอดภัยในการใช้ยาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ข่าวทั่วไป Thursday August 14, 2014 16:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์ นิยามของคำว่า “แม่” ที่เราคุ้นเคยกัน คือหญิงสาวที่ให้กำเนิดบุตรซึ่งแน่นอนว่ารวมไปถึงคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วย เพราะในท้องของคุณแม่นั้นมีอีกชีวิตน้อยๆอยู่ข้างในแล้ว แน่นอนว่า “คุณแม่” ทุกคนอยากให้ลูกที่เกิดมีสุขภาพแข็งแรง มีสติปัญหาและอารมณ์ที่ดี คุณแม่จึงมักให้ความรักแก่ลูกในครรภ์ บำรุงดูแลเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากเกิดภาวะที่จำเป็นต้องใช้ยาล่ะ จะเลือกใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งกับคุณแม่และคุณลูก ลองมาฟังคำแนะนำดีๆ จากซูรูฮะ ในฐานะผู้มีประสบการณ์ในวงการธุรกิจยาและเวชภัณฑ์มาเป็นเวลานานและมีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นกันดูค่ะ เภสัชกรหญิง เภสัชกรหญิง จินดารัตน์ หาญกิติวัธน์ ได้ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์เมื่อเกิดภาวะไม่สบายต่างๆ เช่น ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกหญิงตั้งครรภ์มักจะมีอาการแพ้ท้องและอาหารไม่ย่อยซึ่งถือว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยเนื่องจากในระยะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และยังเป็นกลไกธรรมชาติที่ร่างกายของคุณแม่จะปกป้องลูกน้อยในครรภ์ไม่ให้ได้รับสารพิษที่อาจปนอยู่ในอาหาร แต่หากปล่อยให้อาการรุนแรงก็อาจจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หรือขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยง สิ่งกระตุ้น เช่น กลิ่นน้ำหอม อาหารรสจัด นอกจากนี้ยังควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และหากมีอาการมากอาจจะดื่มน้ำขิงอุ่นๆ ซึ่งมีฤทธิ์แก้อาการแพ้ท้องได้อย่างดี หรืออาจจะใช้วิตามินบี 6 และยาบรรเทาอาการ ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน การรับประทานอาหารในช่วงตั้งครรภ์ จัดเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ว่าที่คุณแม่มือใหม่ต้องระมัดระวังมากๆ เช่นกัน เพราะร่างกายในช่วงตั้งครรภ์จะต้องการพลังงานและสารอาหารเพิ่มมากกว่าปกติ ควรจะรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ผงชูรสและอาหารรสจัดต่างๆ แต่ถ้าในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ ด้วยเหตุผลมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง, ต้องทำงานในขณะตั้งครรภ์ หรือใช้ยาบางตัวอยู่ อาจจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยในครรภ์ เช่น แคลเซียม เพื่อช่วยสร้างโครงกระดูก ระบบประสาท และกล้ามเนื้อของทารก และยังช่วยเสริมความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้มวลกระดูกของคุณแม่ลดลง นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการตะคริวที่มักจะเกิดในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ธาตุเหล็ก เพื่อสร้างเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่ออื่นๆ ที่กำลังเติบโต เป็นต้น ทั้งนี้การรับประทานอาหารเสริมขณะตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลทุกครั้ง สำหรับคุณแม่บางท่านที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคยอดฮิตอย่างไมเกรน ควรศึกษาเรื่องชนิดของยารักษาไมเกรนเป็นพิเศษ เพราะยาบางชนิดห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์โดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ทารกพิการหรือคุณแม่อาจแท้งได้ ฉะนั้นว่าที่คุณแม่ทั้งหลายควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนที่จะใช้ยาชนิดนั้นๆ หากมีอาการท้องผูก อาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น รับประทานอาหารที่ไม่มีกากใยหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กระบวนการย่อยอาหารช้าลงและทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำในปริมาณที่มากเกินไป หากเกิดอาการท้องผูกไม่แนะนำให้รับประทานยาระบาย เพราะยาระบายเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้และอาจมีผลต่อการบีบของมดลูกด้วย คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยของผักผลไม้เพิ่มมากขึ้นร่วมกับการดื่มน้ำอย่างน้อย 10 แก้วต่อวัน และออกกำลังกายเบาๆ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นลำไส้ให้มีการเคลื่อนไหวที่ปกติ แต่ถ้ายังมีปัญหาอยู่ จึงค่อยพิจารณาใช้ยาระบายเป็นบางครั้ง ทั้งนี้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประเมินความจำเป็น ประโยชน์และโทษของยาก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากซูรูฮะ ซุปเปอร์ ดรัคสโตร์ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสพิเศษเดือนแห่งวันแม่จึงได้จัดทำสัญลักษณ์ Pregnancy Category ไว้ที่ตู้ยาขึ้น เพื่อแสดงถึงระดับความปลอดภัยในการให้ยาแก่หญิงตั้งครรภ์โดยอ้างอิงจาก US FDA Pregnancy category เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการจ่ายยาโดยเภสัชกรซูรูฮะขึ้นอีกระดับ นอกจากนี้ยังมีการทำฉลากยาสำหรับเด็กเป็น 3 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เพื่อความสบายใจของคุณแม่ชาวต่างชาติอีกด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์ที่สนใจ สามารถรับคำปรึกษาพร้อมพวงกุญแจน่ารักๆ สัญลักษณ์ Pregnancy Category ฟรีที่ ซูรูฮะ ซุปเปอร์ ดักส์สโตร์ ทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันนี้จนกว่าของจะหมด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านงานประชาสัมพันธ์) โทร.02-284-2662 แฟกซ์. 02-284-2287,2291 www.kanokratpr.com คุณกนกรัตน์ วีรานุวัตติ์ E-mail: Kanokrat@kanokratpr.com
แท็ก นิยาม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ