กรุงเทพฯ--19 ส.ค.--คอร์แอนด์พีค
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เตรียมจัดงานสัมมนาใหญ่ ครั้งสำคัญประจำปี 2557 “AEC and SMEs Challenges: Next Steps (Phase 5)” เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความพร้อมในการปรับตัว และหาโอกาสทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน+6 และ ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ไทยในระดับภูมิภาค
ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการและรักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือสสว.ได้ร่วมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เตรียมจัดสัมมนาใหญ่ AEC and SMEs Challenges : Next Steps (Phase 5) ซึ่งนับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งการจัดกิจกรรม AEC and SMEs Challenges: Next Steps (Phase 5) ในครั้งนี้เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและเชื่อมโยงธุรกิจ SMEs ไทยสู่ภูมิภาคอาเซียน+6 เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้ธุรกิจ SMEs เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในภูมิภาค) ให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบที่จะเกิดขึ้น เมื่อไทยก้าวไปเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวางนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่ง สสว. ได้ดำเนินการร่วมกับประเทศอาเซียนภายใต้กรอบของคณะทางานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาเซียน (ASEAN SME Agencies Working Group: ASEAN SMEWG) และการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในประเทศ
ดร.วิมลกานต์ กล่าวว่านอกเหนือจากความร่วมมือภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) แล้ว การเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศนอกกลุ่มอาเซียนอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นอีกความร่วมมือระหว่างประเทศอีกกรอบหนึ่ง ซึ่งอาเซียนกำลังดำเนินงานต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวเพื่อสร้างให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เป็นภูมิภาคที่สามารถบูรณาการระบบเศรษฐกิจของตนเข้ากับระบบเศรษฐกิจภายนอกภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรักษาบทบาทของอาเซียนในการเป็นแกนกลางขับเคลื่อนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาคไว้ในขณะเดียวกัน หลักการสาคัญของ RCEP คือ เป็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีในปัจจุบันของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา โดยมีเป้าหมายสาคัญที่จะทำให้ความตกลง RCEP เป็นความตกลงที่มีลักษณะเป็น Comprehensive Agreement ครอบคลุมทุกมิติ ที่มีมาตรฐานสูง ประกอบไปด้วยความร่วมมือทั้งในมิติเชิงลึกและมิติเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดย RCEP จะเป็นความตกลงยุคใหม่ของอาเซียนที่จะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่แล้ว 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ (อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์)
ด้านนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 คณะกรรมการ AEC Prompt สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับสสว. ดำเนินกิจกรรม AEC and SMEs Challenges: Next Steps ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้ในด้านช่องทางการค้าการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการสู่เส้นทางการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วมากมาย สำหรับการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ถือเป็นหัวใจหลัก ที่จำเป็นที่จะต้องนำมาศึกษาประเด็น ร่วมถกปัญหาในให้ครอบคลุมประเด็นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ การแข่งขันทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อันจะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการรวมตัวกันของอาเซียนกับประเทศผู้เข้าร่วม และนับเป็นก้าวสาคัญของยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทยและอาเซียน
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย RCEP จะเป็นก้าวสาคัญของยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทยตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์สาคัญในการรักษา ขยายโอกาส และขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่สาคัญของประเทศ เนื่องจาก RCEP ครอบคลุมทุกมิติการค้า เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งมีการปรับประสานกฎกติกาทางการค้าต่างๆ และกฎถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดคล้องกันมากขึ้น และจะเปิดกว้างผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ นโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนได้มากกว่าความตกลงที่มีอยู่ ปัจจุบันมูลค่าการค้าขายของไทยกับ RCEP ประมาณ 255,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 56% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย หากมีการเปิดเสรี จะยิ่งทำให้ไทยมีโอกาสขยายการค้าไปยังประเทศในกลุ่มได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น RCEP จึงเป็นยุทธศาสตร์สาคัญของอาเซียนในการบูรณาการเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนเข้ากับภายนอกภูมิภาคตามแผน AEC Blueprint
ด้วยเหตุนี้ ทั้งสสว. และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความตกลง RCEP ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดลกางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทย เพื่อสร้างเสริมโอกาสการค้าและการลงทุนในภูมิภาค RCEP พร้อมทั้งตอบสนองต่อพลวัตรเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน และการรวมกลุ่มการค้าในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากการเจรจาเป็นผลสาเร็จ RCEP จะเป็นความตกลงที่มีผลกระทบสูง (high impact) ต่อเอเชียและแปซิฟิก และจะเป็นพื้นฐาน (Building block) หนึ่งที่สำคัญเคียงคู่กับความตกลงทางการค้า TPP (Trans-Pacific Partnership) และ CJK (China-Japan-Korea) ในการเจรจาความตกลงเปิดเสรีทางเศรษฐกิจการค้าในกลุ่มเอเปค หรือ FTAAP ในอนาคตอีกด้วย
สำหรับการจัดงาน AEC and SMEs Challenges : Next Steps (Phase 5) จะมีขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2557 เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ ผู้ประกอบการทั่วไป ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทางโทรสารหมายเลข 02-622-1883 และเว็บไซต์ www.thaichamber.org สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณธัญวรรณ/คุณเบญญาภา/คุณฐิติพงษ์ โทร. 02-622-1860-70 ต่อ 447/448/453 โดยภายในงาน จะมีการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การเชื่อมโยงอาเซียนกับ 6 ประเทศ” โดย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการบรรยายเสวนา เรื่อง “ความคืบหน้าการเจรจาความตกลหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)” โดย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ“ความอยู่รอดของภาคธุรกิจในอาเซียน+6” โดยทูตพาณิชย์ ประจำประเทศไทยจาก 6 ประเทศในกลุ่ม RCEP และการอภิปรายเรื่อง “พัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ใช้ประโยชน์จาก 6 ประเทศได้อย่างไร” และเรื่อง “แบ่งปันประสบการณ์ด้านการลงทุนในประเทศอาเซียน +6 (RCEP)” จากนักบริหารชั้นนำของประเทศไทย