กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--JC&CO PUBLIC RELATIONS
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดนโยบายการพัฒนาภาคใต้สู่ภูมิภาคแห่งการบูรณาการองค์ความรู้ด้าน สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เพื่อรองรับการเปิดตัวของประคนเศรษฐกิจอาเซียน ผ่าน “สจล วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์” ตัวอย่างความสำเร็จของสังคมที่ผสมผสานความสมดุลด้านเทคโนโลยี เกษตร อาหาร และพลังงาน อย่างลงตัว ทั้งนี้ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ตัวอย่างผลงานทั้ง 4 ด้าน อาทิ ด้านเทคโนโลยี อาทิ ชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน นวัตกรรมข้าวไร่ 12 สายพันธ์ โรงนมพระจอมเกล้าลาดกระบัง โรงงานหีบน้ำมันปาล์มสำหรับเกษตรกร โรงผลิตไฟฟ้าจากน้ำเสียจากโรงงานน้ำมันปาล์ม การออกแบบนวัตกรรมทำลายเนื้อเยื่อโดยความร้อนแบบไมโครเวฟเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โปรแกรมจัดการฟาร์มโคเนื้อ การขุนปูทะเลแบบคอนโดมิเนียมฯลฯ อย่างไรก็ตามการพัฒนาภาคใต้ที่ประกอบด้วยจังหวัดถึง 14 จังหวัด บนพื้นที่ 44.2 ล้านไร่ นั้นต้องเริ่มจากใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม อันจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจที่มีดุลยภาพ มีความพอดี พอเพียง ผสมผสานผ่านความพร้อมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสานต่อให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่งผลให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยความสมดุลดังกล่าวต้องปรับเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลาและบริบทของประเทศ ทั้งนี้หลักการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิด “รากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ” ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังที่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทยเพื่อประชาชนชาวไทยในทุกระดับ
สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร หมายเลขโทรศัพท์ 077-506-410
ศาสตราจารย์ ดร. โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่สำคัญภูมิภาคหนึ่งของประเทศ และเป็นภูมิภาคที่จะมีความสำคัญอย่างมากเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะเป็นภูมิภาคที่เชื่อมต่อไป กลุ่มประเทศ อาเซียน ตอนใต้ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 70% ของประชาคมอาเซียน ดังนั้นประเทศไทยต้องมีการวางรากฐานในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้สามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ได้ ทั้งนี้ ภาคใต้ประกอบไปด้วยจังหวัดถึง 14 จังหวัด ครอบคลุมบนพื้นที่ 44.2 ล้านไร่ โดยประมาณ คิดเป็นร้อยละ 13.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีจำนวนประชากรกว่า 9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของประเทศ โดยสภาพภูมิประเทศทางภาคใต้นั้น ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและทิวเขา ติดทะเล มีการดำเนินอุตสาหกรรมในหลากลหายประเภท อาทิ ภาคการเกษตรได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟและผลไม้ และพืชเศรษฐกิจอีกหลากหลายชนิด ภาคการท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อไปทั่วโลก ภาคอุตสาหกรรม เป็นแหล่งการผลิตแปรรูปในหลากหลายชนิด ภาคพลังงาน เป็นแหล่งพลังงานหลายชนิดฯลฯ ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้ตระหนักถึงศักยภาพและการเตรียมพร้อม จึงพยายามส่งเสริมศักยภาพ ตลอดจนกำหนดยุทธ์ศาสตร์ในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม ฯลฯ ของ สจล. วิทยาเขตรชุมพร ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของภูมิภาค
ศาสตราจารย์ ดร. โมไนย กล่าวต่อว่า การพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ให้ควบคู่กันไปอย่างมีศักยภาพนั้น ต้องเกิดจาก การพัฒนาความสมดุลระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี ความรู้ด้านเกษตร ความพอเพียงในผลิตอาหาร และการใช้พลังงาน โดยเริ่มจากใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม อันจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจที่มีดุลยภาพ มีความพอดี พอเพียง ผสมผสานผ่านความพร้อมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสานต่อให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่งผลให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยความสมดุลดังกล่าวต้องปรับเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลาและบริบทของประเทศ อย่างไรก็ตาม สถาบัน โดย สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร กำหนดยุทธ์ศาสตร์ในการพัฒนา สถาบันสู้ สถาบันอุดมศึกษาอันดับ 1 ของภาคใต้ ด้านเทคโนโลยี เกษตร อาหาร และพลังงาน ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งการพัฒนาดังกล่าว จะต้องหยิบยกเอาปัญหา และความต้องการของภูมิภาคที่ตั้งของสถาบันเป็นโจทย์ในการคิดค้นงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เผชิญชัยภัต ไชยสิทธิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวว่า รายละเอียดกรอบของการพัฒนาที่มุ่งเน้นมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านเกษตร ด้านอาหาร และด้านพลังงาน โดยตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี ของการก่อตั้ง สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร สถาบันได้พัฒนางานวิจัยต่างๆ อาทิ
ด้านเทคโนโลยี อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาสรีระวิทยาของสัตว์น้ำ เรื่อง "ขบวนการลอกคราบ" การออกแบบนวัตกรรมทำลายเนื้อเยื่อโดยความร้อนแบบไมโครเวฟเพื่อรักษาโรคมะเร็ง การออกแบบและพัฒนาเครื่องหว่านปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมันแบบต่อพ่วง รถแทรกเตอร์ การศึกษาความเป็นไปได้ในการรักษาโรคมะเร็งปอดกับด้วยคลื่นไมโครเวฟ
ด้านเกษตร อาทิ ยกตัวอย่างเช่น การใช้โปรแกรมจัดการฟาร์มโคเนื้อ LCBF การเพิ่มผลผลิตปูทะเลในบ่อดิน การใช้ประโยชน์กากเนื้อเมล็ดในปาล์มน้ำมัน เครื่องเคลือบผิวส้มโอเพื่อการส่งออก
เครื่องต้นแบบเพื่อตรวจวัดระดับไนไตรท์ในบ่อเลี้ยงกุ้ง นวัตกรรมการตรวจวัดความเข้มข้นของน้ำยางพาราโดยวิธีการทางแสง เครื่องวัดและศึกษาดัชนีบ่งชี้ความสดของเนื้อปลาทะเล การกระตุ้นการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ของปลิงดำ เครื่องจักรกลป้องกันกำจัดวัชพืชหญ้าคาในแปลงพืชยืนต้น
ด้านอาหาร อาทิ การขุนปูทะเลแบบคอนโดมิเนียม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกุ้งขาว การคัดเลือกพันธุ์และการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานฝักสดสำหรับภาคใต้ตอนบน การคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยเล็บมือนางเพื่อการบริโภคสดและการแปรรูป เครื่องต้นแบบเพื่อตรวจวัดระดับไขมันนมด้วยกล้องดิจิตอล นวัตกรรมข้าวไร่ 12 สายพันธ์ โรงนมพระจอมเกล้าลาดกระบัง
ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมโค
ด้านพลังงาน อาทิ เครื่องอบเมล็ดปาล์มร่วงแบบประหยัดพลังงานในการผลิตน้ำมันปาล์มหีบรวม เครื่องต้นแบบสำหรับการรับซื้อขยะเพื่อช่วยลดโลกร้อน การผลิตถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือทิ้งด้านเกษตรกรรมและการใช้ประโยชน์ การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว โรงผลิตไฟฟ้าจากน้ำเสียจากโรงงานน้ำมันปาล์ม
สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร หมายเลขโทรศัพท์ 077-506-410