กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--ไอเดียเวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์
ผลวิจัยใหม่ชี้ทั้งภาคธุรกิจและฝ่ายไอทีเริ่มเห็นประโยชน์จากการใช้แนวคิดใหม่ล่าสุด ไอดีโซเชียล “Bring Your Own Identity” (BYOID) หรือการใช้ ไอดีเฉพาะตัว ที่เป็นรูปแบบใหม่โดยใช้ไอดีดิจิตอล หรือจากโซเชียลเน็ตเวิร์กในการล็อกอินเข้าแอพพลิเคชั่นต่างๆ ออนไลน์ แต่ขณะเดียวกันก็เห็นพ้องว่า จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้นในการใช้งานตามแนวคิด BYOID ให้บรรลุผลธุรกิจ
ในรายงานดังกล่าวที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Identity Imperative for the Open Enterprise 2014” ดำเนินการสำรวจโดยสถาบัน Ponemon Institute และบริษัท ซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบรรดาผู้ใช้ในภาคธุรกิจ และฝ่ายไอทีตามบริษัทต่างๆ ว่าคิดเห็นต่อการใช้งาน BYOID อย่างไร
“ในโลกเราทุกวันนี้ที่ทุกอย่างใช้แอพพลิเคชั่น การเข้าแอพพ์จะต้องทั้งทำได้ง่ายและมีระบบรักษาความปลอดภัย และระบบ BYOID คือแนวคิดทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทำให้การล็อกอินทำได้ง่ายขึ้น ลดความจำเป็นของระบบที่ต้องมาสร้างแอคเคานท์ใหม่ในทุกไซต์ ซึ่งยุ่งยากในการลงทะเบียนใช้งาน” วิค แมนโคเชีย รองประธานฝ่ายุทธศาสตร์โซลูชั่น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัทซีเอ เทคโนโลยี กล่าว “เรากำลังเดินหน้าทำงานให้การใช้งานแบบ BYOID มีการรักษาความปลอดภัยที่วางใจได้โดยไม่เพิ่มความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเกินไป”
รายงานฉบับนี้ ได้มีการศึกษาครอบคลุมถึงสองประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นด้วย นั่นคือ อินเดีย และออสเตรเลีย และช่วยชี้ให้เห็นข้อมูลที่สำคัญๆ น่าสนใจหลายด้านเกี่ยวกับการใช้งาน BYOID รวมถึงสถานการณ์การใช้งานจริงในปัจจุบัน มูลค่าการเติบโตในอนาคต มุมมองต่อผู้ให้บริการไอดี ตลอดจน อนาคตของการใช้งานระบบ BYOID
สถานการณ์ปัจจุบัน
การใช้งานแนวคิดBYOID ที่ใช้ไอดีจากโลกโซเชียลยืนยันตัวตนยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แต่มีกระแสความสนใจในเรื่องนี้สูง โดยเฉพาะกับลูกค้าโมไบล์หรือเว็บ โดยมีความสนใจที่จะใช้ไอดีโซเชียลอย่างเช่น Facebook, LinkedIn หรือ Yahoo มาใช้งาน โดยมีกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของทีมไอที และ 63 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ธุรกิจ ทั่วโลกแสดงความสนใจ ในขณะที่ผู้ใช้ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นยิ่งสนใจมากกว่าโดยมียอดมากถึง 67 เปอร์เซ็นต์ โดยลูกค้าที่สนใจไอดีดิจิตอลลักษณะนี้จะมาจากธุรกิจเว็บและโมไบล์แซงหน้ากลุ่มหางาน ลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบำนาญ
มูลค่าที่เป็นไปได้
ขณะนี้ ไอดี ถูกมองว่าเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตเช่นเดียวกับเรื่องการรักษาความปลอดภัย ทั้งผู้ใช้ไอทีและธุรกิจต่างก็เห็นพ้องกันว่า เหตุผลที่สำคัญของการใช้ BYOID ในองค์กรบริษัทของตนนั้นก็คือ เพื่อให้บรรลุเป้าการยืนยันไอดีที่มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้น และเพื่อพิสูจน์ว่ายูสเซอร์รายนั้น เป็นบุคคลที่ระบุจริงๆ (69 เปอร์เซ็นต์และ 65 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ) ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ให้น้ำหนักประเด็นนี้มากถึง 79 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มผู้ใช้ธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจทั่วโลก ให้ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดคือการได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ใช้เป็นเหตุผลอันดับหนึ่ง (89 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นมุมมองที่มีต่อการใช้ไอดีที่เปลี่ยนไป และไม่มองว่าแค่เป็นเครื่องมือปกป้องข้อมูลเหมือนในแบบเดิม แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่ให้ข้อมูลและนำไปผลักดันยอดขาย เพิ่มรายได้ และผูกใจลูกค้าผู้ใช้งานประจำ
อนาคต BYOID
การเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอาจช่วยผลักดันการใช้งาน BYOID เพิ่มเติมในอนาคต โดยส่วนใหญ่ของผู้ใช้ในภาคธุรกิจ และฝ่ายไอทีระบุออกมาว่า กระบวนการยืนยันไอดี จะช่วยเพิ่มอัตราเร่งการนำแนวคิด BYOID มาใช้งาน (72 เปอร์เซ็นต์และ 70 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ) การใช้งานกลไกควบคุมการฉ้อโกง ก็ถูกมองให้ความสำคัญสูงในทั้งสองกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม
สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นนั้น ทางด้านกลุ่มผู้ใช้ธุรกิจได้มองว่า การลดขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใช้งานให้ง่ายขึ้นจะช่วยได้มากที่สุด (มาก 80 เปอร์เซ็นต์) และที่น่าสนใจก็คือ มีจำนวนเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามฝ่ายธุรกิจทั่วโลกเท่านั้นที่ระบุว่า การยืนยันไอดีของผู้ให้บริการ อย่างเป็นทางการเท่านั้นที่สำคัญที่สุดหรือจำเป็น ในขณะที่ทางฝ่ายไอทีมองว่าเรื่องนี้สำคัญและจำเป็น ( ตอบมากถึง 59 เปอร์เซ็นต์)
มุมมองเรื่องผู้ให้บริการไอดี (Identity Provider)
ผู้ให้บริการไอดี (Identity Provider) ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามนั้นแตกต่างออกไปตามสถานการณ์และภูมิภาค โดยเมื่อถามว่า ไอดีโซเชี่ยลใดที่น่าสนใจมากที่สุดสำหรับองค์กร ด้านไอทียูสเซอร์จะเลือก PayPal ว่าเป็นผู้ให้บริการไอดีที่เลือกในทุกภูมิภาคทั่วโลก ในขณะที่ผู้ใช้ธุรกิจตอบมาหลากหลายโดยมี .Amazon เบียดแซงหน้า PayPal และ Microsoft
เมื่อถามว่าไอดีโซเชียลอะไรที่นิยมในฐานะผู้บริโภค ปรากฎว่า Google ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้ใช้ไอทีและธุรกิจทั่วโลก แต่ Facebook คือตัวเลือกที่นิยมของผู้ใช้ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
“การศึกษาอย่างครอบคลุมถึงแนวคิดความเห็นต่างๆ ในการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ามีมุมมองสองด้านในเรื่องไอดี ” ดร. ลาร์รี่ โปเนมอน ประธานและผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัย Ponemon Institute กล่าว“ฝ่ายไอทียังคงมีมุมมองเรื่องความเสี่ยงและการรักษาความปลอดภัยไอดี ในขณะที่สายธุรกิจมองที่ได้คุณค่าที่ได้รับ และมุมมองจากตัวผู้บริโภคมากกว่า และการที่จะได้ประโยชน์จาก การใช้งาน BYOID ทั้งสองกลุ่มจะต้องหันมาร่วมมือกันและสร้างพันธมิตรเพื่อการขยายธุรกิจต่อไป”